เครื่องมือหนึ่งที่ใช้แสดงรายละเอียดของสิ่งที่เราสนใจ ในรูปแบบของกราฟผสมระหว่างกราฟแท่งกับกราฟเส้น โดยเรียงลำดับของรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ ตามลำดับความถี่มากไปหาถี่ที่น้อยกว่า
ตามหลักของกฎ 80:20 หรือกฏของเพลโตที่ว่าสาเหตุหลัก 20% ส่งผลทำให้เกิดผลลัพธ์ 80% เช่นปัญหางานแตกเกิดจากการขนย้ายซึ่งเป็นปัญหาหลักถ้าเราแก้ไขปัญหาการขนย้ายได้โอกาสที่ของเสียจะลดลงถึง 80% ดังนั้นเราต้องหาสาเหตุหรือต้นตอของปัญหาหลักให้เจอและแก้ไขโดยเร็วที่สุด
รายละเอียดส่วนใหญ่ที่นำเสนอมีหลายประเภทเช่นปริมาณของเสียคุณภาพสินค้าอุบัติเหตุความปลอดภัยการส่งมอบค่าใช้จ่ายซึ่งหัวข้อเหล่านี้จะนำไปสู๋การแก้ไขปัญหาหรือวางแผนการดำเนินงานต่อไปและพาเรโต้นี้ยังนิยมใช้ประกอบการดำเนินกิจกรรมคิวซีซีเป็นอย่างมาก
สำหรับประโยชน์ที่ได้รับของพาเรโต้มีหลายประการอาทิเช่นทำให้ทราบถึงหัวข้อที่มีความถี่สูงสุดเช่นปัญหาที่มีความสูญเสียมากที่สุดชนิดของปัญหาที่มีความถี่มากที่สุดทำให้ทราบอัตราส่วนของปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาอื่นๆหรือทำให้ทราบลำดับและความสำคัญของปัญหาเป็นต้น
กฏของพาเรโต้(Pareto) คืออะไร
- สิ่งที่สำคัญจะมีเพียง20 % และที่เหลือจะเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญอีก80 % และจำนวนเปอร์เซ็นต์ไม่จำเป็นต้อง20/80 เสมอไปอาจแตกต่างได้แต่ให้สนใจสิ่งสำคัญเป็นหลัก
- การนำกฎพาเรโต้ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรจะเป็นลักษณะทำน้อยแต่ได้ผลลัพธ์มากและทำให้เราสามารถเรียงลำดับความสำคัญว่าสิ่งไหนควรจะต้องพัฒนาก่อนหรือหลังจะช่วยให้ผู้บริหารรวมถึงพนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- เป็นสิ่งที่สามารถพบเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวันในองค์กรกระบวนการผลิตหรือทำงานจนไปถึงงานในระดับประเทศ
การนำกฏพาเรโต้ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรในแต่ละแผนกเช่น
แผนกการผลิตและแผนกQC
การลดของเสียจากกระบวนการผลิตนำจำนวนของเสียแยกตามสาเหตุที่ทำให้เกิดของเสียมาแสดงผลเป็นกราฟและเรียงจากมากไปน้อยและมีตัวเลขเปอร์เซ็นต์ของเสียสะสมเพื่อมาเทียบจะพบว่า80% ของเสียเกิดจากสาเหตุไม่กี่สาเหตุเท่านั้นให้เราไปโฟกัสเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้นก่อนก็จะลดปริมาณของเสียลงได้ถึง80 % เช่นจากรูปตัวอย่างการทำกราฟPareto พบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดของเสียมากถึง80% คือฉ, ง, ต, คดังนั้นผู้บริหารแผนกการผลิตควรจะโฟกัสแก้ไขสาเหตุของปัญหา4 เรื่องนี้ก่อนจากนั้นค่อยไปแก้ไขเรื่องอื่นๆทีหลังเป็นต้น
แผนกการขายและการตลาด
การจัดกลุ่มลูกค้าเป็นประเภท A, B, C หรือกลุ่มลูกค้าที่ซื้อเยอะไปจนถึงซื้อน้อยรวมถึงนำเอาความถี่ในการซื้อของลูกค้ากลุ่มที่ซื้อบ่อยไปจนซื้อไม่บ่อยเป็นต้นเมื่อจัดกลุ่มของลูกค้าแล้วเราจะสามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์ให้กับองค์กรได้ว่าควรจะจัดโปรโมชั่นกับลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างไรดีควรจะโฟกัสลูกค้ากลุ่มที่ทำรายได้ให้กับบริษัท80% ก่อนหรือแบ่งกลุ่มลูกค้าเป็นลูกค้าเก่าลูกค้าใหม่จัดกลุ่มของลูกค้าเรียงลำดับตามอายุการเป็นลูกค้าจากนั้นก็ทำโปรโมชั่นให้แต่ละกลุ่มแตกต่างกันไป
– การจัดกลุ่มสินค้า กลุ่มไหนขายได้มากไปจนถึงขายได้น้อยและแบ่งเกรดให้กับสินค้าจากนั้นเราก็เลือกโฟกัสสินค้าที่ขายได้มากซึ่งส่วนมากจะเป็นกลุ่มสินค้า20% เท่านั้นที่ทำรายได้ให้กับบริษัทถึง 80%
– การพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ หากเรามีการเก็บแบบสอบถามความพึงพอใจข้อร้องเรียนต่างๆและเรานำมาแสดงผลเป็นกราฟโดยเรียงลำดับข้อร้องเรียนจากมากไปหาน้อยและแยกตามผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทเราจะพบว่าสินค้าและบริการใดมีข้อร้องเรียนมากและถ้าต้องการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบกับรายได้ 80% ของบริษัทจะต้องโฟกัสสินค้าและบริการเหล่านี้เป็นต้นในทางกลับกันถ้าเรามีแบบสอบถามความพึงพอใจเรื่องของผลิตภัณฑ์และบริการและถ้าบริษัทต้องการเพิ่มความพึงพอใจของสินค้าและบริการจากเดิม 80% ไปเป็น 90% เราควรจะไปพัฒนาเรื่องใดบ้างก็เอาความพึงพอใจของลูกค้ามาแสดงผลเป็นกราฟและดูว่าเรื่องไหนที่ลูกค้าพึงพอใจมากไปหาน้อยและเราจะสามารถเพิ่มได้อย่างไรบ้างให้โฟกัส 20% เท่านั้นไม่จำเป็นต้องทำทุกเรื่อง
อ้างอิง : www.rdbi.co.th, www.tpa.or.th
~~~~~~~~~~~~~