เพื่อยกระดับความรู้ สู่สังคมอุดมป้ญญา

บทเรียนเรื่องเกษียณ

0

สำหรับคนที่ยังไม่เกษียณ..

..ผมได้ฟังtalk ของดอกเตอร์ไรเล่ย์มอยนส์( Riley Moynes ) ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่เขียนหนังสือเรื่องmoney coach  ที่อยู่ในวัยเกษียณและได้สังเกตและวิเคราะห์ถึงคนที่เกษียณไปแล้วจำนวนมากว่าจะมีแพทเทิร์นที่คล้ายๆกันคนเกษียณจำนวนไม่น้อยที่จะเป็นทุกข์แต่ก็มีหลายคนที่สามารถใช้ชีวิต” ได้อย่างสนุกและมีความสุขสมวัย   


ดร.ไรเล่ย์ เล่าว่า การเข้าสู่วัยเกษียณนั้นมีช่วง ที่ทุกคนที่เลิกทำงานแล้วต้องเจอ



ช่วงแรก..

เรียกว่าช่วงvacation เป็นช่วงหลายเดือนหรือปีแรกของการหยุดทำงาน  อยากตื่นกี่โมงก็ได้อยากทำอะไรไปไหนมาไหนก็ได้ไม่มีเจ้านายคอยตามไม่มีลูกน้องต้องรับผิดชอบให้ปวดหัว

ไม่มีตารางเวลาที่กดทับมานานหลายสิบปี  เป็นช่วงที่ผ่อนคลายเหมือนความฝันช่วงทำงานว่าการเกษียณไม่ต้องทำงานแล้วน่าจะเป็นแบบนี้นี่เอง เป็นอิสระที่รอมานาน

..พอใช้ชีวิตแบบนี้ไปซักพักก็จะเริ่มเบื่อ


ตอนที่ผมออกจากงานประจำช่วงแรกๆก็เป็นแบบนั้นจริงๆ  อยากไปห้างเดินพารากอนเมื่อไหร่ก็ได้ไปซื้อหนังสือซื้อของตามใจชอบแต่ไปซักสามสี่ครั้งก็ไม่มีอะไรจะดูหนังสือที่ซื้อก็ยังไม่ได้อ่าน  เดินเบื่อๆซักพักก็กลับ  เริ่มรู้สึกชีวิตว่างเปล่าจะรู้สึกหลงทางและตั้งคำถามกับชีวิตเยอะมากว่าจะไปยังไงต่อดีไม่อยากหายใจทิ้งแบบนี้เลย



ช่วงที่สอง..

นี้เป็นช่วงที่เรียกว่าช่วงที่รู้สึก lost ดร.ไรเล่ย์ บอกว่า ที่เรารู้สึกแบบนั้นเพราะเราสูญเสียความรู้สึกที่เคยมีไป ประการก็คือ 

  1. เราเสียรูทีนที่ทำอะไรซ้ำๆ ประจำไป 
  2. เราเสียอัตลักษณ์ (identity) ที่เคยมีในที่ทำงาน
  3. เราเสียความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานไป   
  4. เสีย sense of purpose ว่าเคยมีเป้าหมายให้พุ่งชนมีปัญหาให้แก้ไข และ
  5. ที่สำคัญโดยเฉพาะข้าราชการหรือผู้บริหารคือการเสีย อำนาจ” ที่เคยมีไป


การสูญเสียห้าประการนี้ จะเริ่มค่อยๆเข้ามาหลังจากเราหมด honeymoon period แต่จะเริ่มรู้สึกรุนแรงเพราะมันหายไปทีเดียวห้าอย่างในชีวิต เราจะเริ่มรู้สึกซึมเศร้าร่างกายก็จะทรุดลง เริ่มหงุดหงิดกับคู่ชีวิตที่เจอกันทุกวันเริ่มรู้สึกกลัวกับความว่างเปล่านั้นมากขึ้นเรื่อยๆ

..พอรู้สึกแย่มากๆ  หลายคนก็จะเริ่มฮึดสู้ไม่อยากใช้ชีวิตแบบว่างเปล่าอย่างนั้น 


 

ช่วงที่สาม..

จะเข้าสู่เป็นช่วงลองผิดลองถูก (trial and error) พยายามจะหาความหมายให้ชีวิตอีกครั้งด้วยการลองทำอะไรที่คิดว่าทำได้ดีซึ่งก็ไม่ง่ายนักเพราะสิ่งที่เราทำได้ดีก็อาจจะไม่ได้มีใครต้องการ หรือไปลองอะไรใหม่ๆแต่ก็อาจต้องผิดหวังอีกหลายครั้งแต่ต้องสู้เพื่อหาอะไรที่ทำให้เราอยากตื่นเช้ามาทำให้ได้ เพราะถ้าหาไม่เจอเราก็จะวนอยู่ในช่วงที่สองอย่างทุกข์ทรมาน


ไม่ใช่ทุกคนจะผ่านช่วงที่สามมาช่วงที่สี่ได้ แต่ถ้าใครมาถึงช่วงที่สี่ได้ก็จะเป็นกลุ่มคนที่มีความสุขที่สุดที่ดรไรเล่ย์ได้เจอ   



ช่วงที่สี่..

ดร.ไรเล่ย์ สรุปว่า ก็คือช่วงที่สามารถ reinvent และ rewire ตัวเองได้สามารถตอบคำถามได้ว่า purpose ใหม่ของตัวเองคืออะไร 


จากที่ ดร.ไรเล่ย์ ได้พูดคุยซักถามคนที่ได้พบความสุขที่แท้จริงนั้น แทบทั้งหมดก็คือการที่ได้ดูแลได้ช่วยเหลือคนอื่น (service to others) ไม่ว่าจะเป็นงานการกุศล การได้สอนหนังสือให้ความรู้กับคนรุ่นใหม่ ฯลฯ



...บทเรียนสำหรับคนที่เตรียมตัวเกษียณนั้นถ้าตามสี่ช่วงที่ ดร.ไรเล่ย์ บอกก็คือสนุกกับอิสระกับ vacation ช่วงแรกให้เต็มที่แล้วเตรียมรับมือกับความว่างเปล่าอย่างมีสติ ก่อนที่จะทดลองอะไรใหม่ๆ ด้วยความสนุก และหาทางเข้าสู่ช่วงที่สี่พยายามทำตัวให้มีประโยชน์กับคนอื่น เพื่อที่จะมีความสุขได้สุดๆ หลังเกษียณอย่างสมวัย


สำหรับคนที่ยังไม่ใกล้กับคำว่าเกษียณนั้น ถ้าในที่สุดแล้วความสุขที่แท้จริงที่เหล่าคนเกษียณค้นพบก็คือการที่ได้ service to others


...การที่ทำตัวมีประโยชน์กับคนอื่น การที่ได้รู้ความลับนั้น ก็น่าจะมีประโยชน์กับการใช้ชีวิตในตอนนี้ และน่าจะเป็นแต้มต่อที่ไม่ต้องรอให้เกษียณถึงจะเข้าถึงความสุขและสงบในใจนั้นได้ ตั้งแต่วันนี้เลยนะครับ.



- ขออนุญาตเผยแพร่และขอบคุณเจ้าของบทความ

 

~~~~~~~~~~~~~

 

ที่มา: ‘เขียนไว้ให้เธอ’ by BLOCKDIT


——————-

แสดงความคิดเห็น

0ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)
ฉันคือพลังงานจลน์ พลวัตเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น..