ถึงรัตนะ ๒ เป็นสรณะ : คู่แรกในพระพุทธศาสนา คือ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะ ซึ่งถึงสรณะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรม
ทั้งสองเป็นพ่อค้าที่นำกองเกวียนเดินทางมาจากทุกกลชนบทมาถึงแขวงเมืองอุรุเวลาเสนานิคมพบพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ณภายใต้ต้นไม้ราชาตนะใกล้แม่น้ำเนรัญชราในกาลนั้นเป็นสัปดาห์ที่๗ที่พระพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุข(สุขเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะและปวงทุกข์) ภายหลังจากตรัสรู้ตปุสสะกับภัลลิกะเข้ามาถวายสัตตุผงสัตตุก้อน(ข้าวตูเสบียงเดินทาง)
ถึงรัตนะ ๓ เป็นสรณะ : บิดาของพระยสะเป็นอุบาสกคนแรกผู้เปล่งวาจาถึงรัตนะ3 เป็นสรณะกับมารดา(นางสุชาดา) และภรรยาของพระยสะเป็นอุบาสิกาผู้ถึงรัตนะ3 ในพระพุทธศาสนา- พรรษาที่1 ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าณป่าอิสิปตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสี
...จากหนังสือ“45 พรรษาของพระพุทธเจ้า” : พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชหน้า 32.
...ฟังเสียง: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 45 พรรษาของพระพุทธเจ้าตอนที่ 1
ประวัติโดยย่อ
นางสุชาดาเป็นธิดาของเสนิยกุฏุมพี(กุฏุมพี= เศรษฐีผู้มีทรัพย์มาก) ในหมู่บ้านเสนานิคมแห่งตำบลอุรุเวลาเมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยสาวนางได้ทำพิธีบวงสรวงต่อเทพยดาที่สิงสถิตณต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งใกล้บ้านของนางโดยได้ตั้งปณิธานความปรารถนาไว้๒ประการคือ:-
๑. ขอให้ข้าพเจ้าได้สามีที่มีบุญมีทรัพย์สมบัติและมีชาติสกุลเสมอกัน
๒. ขอให้ข้าพเจ้ามีบุตรคนแรกเป็นชาย
ถ้าความปรารถนาของข้าพเจ้าทั้ง๒ประการสำเร็จสมบูรณ์แล้วข้าพเจ้าจะทำพลีกรรมแก่ท่านด้วยของอันมีค่าหนึ่งแสนหกปณะ
ครั้นการต่อมาความปรารถนาของนางสำเร็จทั้งสองประการโดยได้สามีเป็นเศรษฐีมีฐานะเสมอกันและได้บุตรคนแรกเป็นชายนามว่า“ยสะ” นางได้ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปจนลูกชายแต่งงานแล้วจึงปรารภที่จะทำพลีกรรมบวงสรวงสังเวยเทพยดาด้วยข้าวมธุปายาสเมื่อถึงวันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๖นางได้ประกอบพิธีหุงข้าวมธุปายาสเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นางทาสีสาวให้ไปปัดกวาดทำความสะอาดบริเวณโคนต้นไทรนั้น
[แก้บนด้วยข้าวมธุปายาส]
ขณะนั้นพระสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์หลังจากเลิกการทรมานร่างกายหันมาเสวยพระกระยาหารหวังจะบำเพ็ญเพียรทางจิตประทับนั่งพักผ่อนที่ใต้ร่มไทรนั้นผินพระพักตร์ทอดพระเนตรไปทางทิศปราจีน(ตะวันออก) มีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายเป็นปริมณฑลดูงามยิ่งนักนางทาสีสาวใช้เห็นแล้วก็ตระหนักแน่ในจิตคิดว่าคงจะเป็นเทพยดาเจ้ามานั่งคอยท่ารับเครื่องพลีกรรมจึงมิได้เข้าไปทำความสะอาดดังที่ตั้งใจมารีบกลับไปแจ้งแก่นางสุชาดาโดยด่วน
ฝ่ายนางสุชาดาจึงเรียบแต่งกายด้วยเครื่องอาภรณ์อันงดงามเป็นที่เรียบร้อยแล้วยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูนศีรษะออกจากบ้านพร้อมด้วยบริวารไปยังต้นไทรนั้นครั้นได้เห็นพระโพธิสัตว์งดงามเช่นนั้นก็เกิดโสมนัสยินดีสำคัญว่าเป็นรุขเทวดามานั่งคอยรับเครื่องพลีกรรมจึงน้อมนำเข้าไปถวายพร้อมทั้งถาดทองคำ
เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ทรงรับและเสวยข้าวมธุปายาสแล้วเสด็จไปประทับที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตและได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าในวันนั้น
หลังจากได้ประทับเสวยวิมุติสุขคือสุขอันเกิดจากการตรัสรู้บริเวณใกล้ๆนั้นเป็นเวลา๗สัปดาห์รวม๔๙วันแล้วได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระปัญจวัคคีย์ณป่าอิสิปตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสี
[ลูกชายหาย]
ในที่ไม่ไกลจากป่าอิสิปตนมฤคทายวันมากนักตระกูลครอบครัวของนางสุชาดาได้ตั้งอยู่บริเวณนั้นเพราะเป็นตระกูลเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติมากแต่มีบุตรชายเพียงคนเดียวจึงเอาอกเอาใจบำรุงบำเรอบุตรด้วยกามคุณ ๕ อย่าง สรรพด้วยหวังจะให้บุตรชายเป็นทายาทสืบสกุลได้สร้างปราสาท๓หลังสำหรับเป็นที่อยู่ใน ๓ ฤดู อีกทั้งมีสาวงามคอยขับร้องประโคมดนตรีขับกล่อมตลอดเวลา
คืนหนึ่งยสะนอนหลับก่อนบริวารและสาวขับร้องท่ามกลางแสงประทีปส่องสว่างอยู่บรรดาหญิงนักขับร้องประโคมดนตรีทั้งหลายเห็นยสะนอนหลับแล้วจึงคิดว่าบัดนี้เจ้านายก็หลับแล้วพวกเราจะขับร้องประโคมดนตรีกันไปเพื่อประโยชน์อะไรจึงพากันเอนกายลงนอนหลับใหลไม่ได้สติ
สยะตื่นขึ้นมายามดึกเห็นอาการอันวิปริตต่างๆของหญิงนักดนตรีเหล่านั้นนอนกันไม่เป็นระเบียบบ้างก็นอนบ่นละเมอเพ้อพึมพำบ้างก็นอนกรนดังดูจเสียงกาบ้างก็เลื้อยกายไม่มีผ้าปิดบ้างก็อ้าปากน้ำลายไหลฯลฯไม่เป็นที่เจริญจิตเจริญใจดังแต่ก่อนภาพเหล่านี้ปรากฏแก่ยสะดุจซากศพในป่าช้าผีดิบเกิดความรู้สึกสลดรันทดใจและเบื่อหน่ายรำคาญเป็นที่สุดจึงเดินออกจากห้องเดินพลางบ่นพลางว่า“ที่นี่วุ่นวายหนอที่นี่ขัดข้องหนอ” ออกจากห้องลงบันไดเดินไปอย่างไม่มีจุดหมายบังเอิญได้เดินไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวันซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์เสด็จเดินจงกรมอยู่ได้สดับเสียงของยสะเดินบ่นมาเช่นนั้นจึงตรัสว่า“ที่นี่ไม่วุ่นวายที่นี่ไม่ขัดข้องเธอจงเข้ามาที่นี่เราจะแสดงธรรมให้ฟัง”
ยสะจึงถอดรองเท้าแล้วเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ได้สดับพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถาและอริยสัจ๔จบแล้วได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน
[ยสะบรรลุพระอรหัตผล]
ฝ่ายทางบ้านพอรู้ว่าลูกชายหายไปจึงรีบส่งคนออกติดตามทั่วทุกทิศบิดาเองก็ออกติดตามด้วยและบังเอิญเดินไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวันเห็นรองเท้าลูกชายก็จำได้จึงเข้าไปกราบทูลถามพระพุทธองค์ว่าเห็นลูกชายมาทางนี้บ้างหรือไม่พระพุทธองค์ทรงดำริว่า“ถ้าพ่อลูกได้เห็นหน้ากันก็จะเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรม” จึงทรงบันดาลด้วยฤทธิ์มิให้พ่อลูกเห็นกันตรัสแก่เศรษฐีว่า“ท่านจงนั่งลงก่อนแล้วท่านจะได้เห็นลูกชายของท่าน” แล้วทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ๔ให้ท่านเศรษฐีฟังส่วนยสะก็ได้ฟังอีกครั้งหนึ่งเมื่อจบลงเศรษฐีได้บรรลุพระโสดาบันส่วนยสะได้บรรลุพระอรหัตผลพระพุทธองค์ทรงทราบว่ายสะได้บรรลุพระอรหัตไม่หวนกลับไปครองเพศฆราวาสอีกต่อไปแล้ว จึงทรงคลายฤทธิ์ให้พ่อลูกได้เห็นกัน
เศรษฐีเห็นยสะลูกชายก็ดีใจอ้นวอนให้กลับบ้านด้วยคำว่า“ยสะมารดาของเจ้าเศร้าโศกยิ่งนักเจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าด้วยเถิด” แต่พอทราบว่ายสะบรรลุพระอรหัตแล้วก็อนุโมทนาและขอแสดงคนเป็นอุบาสกขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิตได้ชื่อว่า“เป็นอุบาสกคนแรกที่ถึงพระรัตนตรัย” แล้วกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยยสะให้ไปรับอาหารบิณฑบาตที่เรือนของตนในเช้าวันนั้นและเมื่อทราบว่าพระพุทธองค์ทรงรับอาราธนาแล้วจึงกราบทูลลากลับบ้านแจ้งแก่ภรรยาและบริวารในบ้านให้จัดเตรียมอาหารเพื่อถวายพระบรมศาสดาและยสะ
ฝ่ายยสะเมื่อบิดากลับไปแล้วกราบทูลขออุปสมบทพระพุทธองค์ทรงประทานด้วยพระดำรัสว่า“เธอจงเป็นภิกษุมาเถิดธรรมอันเรากล่าวดีแล้วเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด” โดยไม่มีคำว่า“เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ” เหมือนกับที่ประทานแก่พระปัญจวัคคีย์เพราะว่ายสะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ตั้งแต่ก่อนบวชนั่นเองการอุปสมบทแบบนี้เรียกว่า“เอหิภิกขุอุปสัมปทา”
เช้าวันนั้นพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระยสะเสด็จไปยังเรือนของเศรษฐีตามคำอาราธนาประทับบนอาสนะที่จัดเตรียมไว้มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะได้ช่วยกันถวาภัตตาหารเมื่อเสร็จภัตกิจแล้วพระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ๔ให้สตรีทั้งสองฟังเมื่อจบลงเธอทั้งสองก็ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบันในพระพุทธศาสนาแสดงตนเป็นอุบาสิกาขอถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิตเธอทั้งสองได้ชื่อว่า“เป็นอุบาสิกาคนแรกหรือรุ่นแรกที่ถึงพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนา”
ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องนางสุชาดา(มารดาของพระยสะ) ในตำแหน่งเอตทัคคะว่าเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อนอุบาสิกาทั้งปวง
ที่มา : www.84000.org/one/4/01.html