เพื่อยกระดับความรู้ สู่สังคมอุดมป้ญญา

พุทธประวัติ( ฉบับย่อ)

0

คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าทรงประสูติ 623 ปีก่อนคริสต์ศักราชพระองค์ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราชจนถึงเริ่มพุทธศักราช ซึ่งเป็นวันปรินิพพานตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทยและตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล


พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งแคว้นสักกะโคตมโคตรอันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านานก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาทเมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้วทรงได้รับการถวายพระนามต่างอาทิพระศากยมุนีพระพุทธโคดมพระโคดมพุทธเจ้าฯลฯแต่ทรงเรียกพระองค์เองว่าตถาคตแปลว่าพระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือทรงปฏิญาณว่าทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงสำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล



พระประสูติกาล

ในคืนที่พระโพธิสัตว์เสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายาพระนางทรงพระสุบินนิมิตว่ามีช้างเผือกมีงาสามคู่ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ที่บรรทมสิบเดือนหลังจากนั้นขณะทรงพระครรภ์แก่ได้ทรงขอพระราชานุญาตจากพระสวามีเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับกรุงเทวทหะอันเป็นพระมาตุภูมิเพื่อให้การประสูติเป็นไปตามประเพณีนิยมในสมัยนั้นระหว่างเสด็จกลับพระมาตุภูมิพระนางได้ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละในสวนป่าลุมพินี ขึ้น15 ค่ำเดือนปีจอก่อนพุทธศักราช80 ปีพระโอรสก็ได้ประสูติเมื่อประสูติแล้วพระราชกุมารนั้นทรงพระดำเนินได้ก้าวทันทีพร้อมทั้งเปล่งอาสภิวาจาว่า"เราเป็นผู้เลิศเป็นผู้เจริญเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลกการเกิดของเราครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายบัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว" อนึ่งทั้งสวนป่าลุมพินีและกรุงกบิลพัสดุ์ในปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล


หลังจากมีพระประสูติกาลแล้ว วันมีฤๅษีตนหนึ่งนามว่า"อสิตะได้เข้าเยี่ยมพระราชกุมารเมื่อพิจารณาดูก็พยากรณ์ว่าพระราชกุมารนี้จะได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณอย่างแน่นอน


เมื่อพระชนมายุ วันพระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้เชิญพราหมณ์มา 108 คนเพื่อถวายพระนามพระราชกุมารจึงได้พระนามว่า"สิทธัตถะจากนั้นพระเจ้าสุทโธทนะได้เชิญพราหมณ์ คนเข้าพิจารณาพระลักษณะของพระกุมารเพื่อถวายคำพยากรณ์พราหมณ์คนในจำนวนนั้นทำนายเป็น สถานคือหากพระราชกุมารครองราชย์จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหากผนวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเว้นแต่พราหมณ์อายุน้อยสุดชื่อ"โกณฑัญญะพยากรณ์ว่าพระราชกุมารจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน


หลังจากที่มีพระประสูติกาลแล้ว วันพระพุทธมารดาก็เสด็จสวรรคตในปฐมสมโพธิกถาพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสกล่าวว่าเป็นเพราะพระครรภ์ของพระพุทธมารดาไม่ควรจะเป็นที่เกิดของสัตว์ใดอีกและจึงจักต้องเสด็จสู่สวรรคาลัยจึงต้องอยู่ในการดูเแลของพระนางปชาบดีโคตมีหรือพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีในเวลาต่อมา

 

 

เจ้าชายสืบราชสมบัติ

เจ้าชายสิทธัตถราชกุมารทรงเจริญวัยด้วยความสุขยิ่งเพราะทรงถือกำเนิดในราชตระกูลภายใต้เศวตฉัตรและได้ทรงศึกษาในสำนักอาจารย์วิศวามิตรซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อเสียงที่สุดเจ้าชายได้ทรงศึกษาอย่างรวดเร็วและจบหลักสูตรสิ้นทุกประการคือจบศิลปศาสตร์ทั้ง 18 สาขาวิชา

อย่างไรก็ตามพระเจ้าสุทโธทนะทรงปริวิตกต่อคำทำนายของพราหมณ์หนุ่มที่ว่าเจ้าชายจะทรงออกผนวชแน่นอนจึงทรงจัดการเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์พร้อมสร้างปราสาท ฤดูให้ประทับเมื่อพระชมน์ได้ 16 พรรษาได้เข้าสู่พิธีอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราพิมพาผู้เป็นธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะกษัตริย์ผู้ครองราชสมบัติกรุงเทวทหะจนพระชนมายุได้ 29 พรรษาจึงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่าพระราหุลซึ่งแปลว่าบ่วง



มหาภิเนษกรมณ์

ตามนัยอรรถกถา

เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้นอรรถกถากล่าวว่าเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัยจนมีพระชนมายุได้ 29 พรรษาแล้วทรงเสพสุขอยู่บนปราสาทฤดูมีความสุขทางโลกบริบูรณ์ จนวันหนึ่งได้เสด็จประพาสอุทยานครั้งนั้นเทวดาได้เนรมิตเทวทูต อันได้แก่คนแก่คนเจ็บคนตายและนักบวชเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งก็ทรงบังเกิดความสังเวชในพระทัยและใคร่เสด็จออกผนวชเป็นสมณะ


วันที่เจ้าชายราหุลประสูตินั้นเป็นวันที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชาด้วยทรงเบื่อในเพศฆราวาสอันเต็มไปด้วยกิเลสจึงทรงเห็นว่าเพศบรรพชิตเท่านั้นที่ประเสริฐและเป็นสามารถจะหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้เมื่อตัดสินพระทัยจะออกผนวชจึงตรัสให้นายฉันนะเตรียมม้าพระที่นั่งแล้วเสด็จไปเยี่ยมพระโอรสและพระชายาเมื่อพระองค์เห็นพระนางพิมพาบรรทมหลับสนิทพระกรกอดโอรสอยู่ทรงพระดำริจะอุ้มพระโอรสขึ้นชมเชยเป็นครั้งสุดท้ายแต่ก็เกรงว่าพระนางพิมพาจะตื่นบรรทมเป็นอุปสรรคขัดขวางการเสด็จออกบรรพชาจึงตัดพระทัยระงับความเสน่หาในพระโอรสเสด็จออกจากห้องเสด็จลงจากปราสาทพบนายฉันนะซึ่งเตรียมม้ากัณฐกะเป็นม้าพระที่นั่งไว้แล้วเสด็จออกจากพระนครในเวลาเที่ยงคืน เข้าเขตแดนแคว้นโกศลและแคว้นวัชชีจนถึงฝั่งแม่น้ำอโนมาในคืนนั้นเมื่ออาทิตย์ขึ้นแล้วจึงทรงครองบาตรและจีวรที่ฆฏิการพรหมนำมาถวาย ขณะนั้นตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน จากนั้นทรงส่งนายฉันนะให้นำเครื่องทรงกษัตริย์กลับนครแล้วเสด็จลำพังโดยพระองค์เดียวมุ่งพระพักตร์ไปยังแคว้นมคธ


ตามนัยพระบาลี(พระไตรปิฎก)

เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้นต้นคือพระไตรปิฎกกล่าวว่าเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะอายุได้29 พรรษาทรงพระดำริว่า

...มนุษย์ทั้งหลายมีความทุกข์เกิดขึ้นครอบงำอยู่ตลอดเวลาก็จริงเกลียดความทุกข์อยู่ตลอดเวลาก็จริงแต่ทำไมมนุษย์ทั้งหลายยังมัวแสวงหาทุกข์ร้อนใส่ตัวอยู่ตลอดเวลาแล้วทำไมเราต้องมามัวนั่งแสวงหาทุกข์ใส่ตัวอยู่อีกเล่า!

— สยามรฏฺฐเตปิฏกํปาลีปาสราสิสุตฺตโอปทฺทมวคฺคอุปริมู. 12/316/316


ความคิดเช่นนี้ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะถึงกับตั้งพระทัยออกผนวชด้วยดำริว่า 

...เมื่อรู้ว่าการเกิดมี(ทุกข์เป็นโทษแล้วเราพึงแสวงหา"นิพพานอันไม่มีความเกิดอันเป็นธรรมที่เกษมจากเครื่องร้อยรัดไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าเถิด

— สยามรฏฺฐเตปิฏกํปาลีปาสราสิสุตฺตโอปทฺทมวคฺคมู. 12/316/316


นอกจากนี้ในสคารวสูตรมีพระพุทธพจน์ตรัสสรุปสาเหตุที่ทำให้ทรงตั้งพระทัยออกบรรพชาไว้สั้นว่า

..ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลีส่วนบรรพชาเป็นโอกาสแสงสว่างผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดดีแล้วโดยง่ายนั้นไม่ได้ถ้าไฉนเราพึงปลงผมและหนวดครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด

— สยามรฏฺฐเตปิฏกํปาลีสคารวสุตฺตพฺราหฺมณวคฺคมู.13/669/738


ด้วยเหตุดังกล่าวทั้งหลายนี้พระองค์จึงทรงตั้งพระทัยเสด็จออกผนวชซึ่งนักวิชาการพุทธศาสนาบางท่านอ้างว่าการเสด็จออกผนวชตามนัยพระไตรปิฎกนั้นมิได้ทรงหนีออกจากพระราชวังแต่เสด็จออกผนวชเฉพาะพระพักตร์พระราชบิดาและพระราชมารดาเลยทีเดียวโดยอ้างจากโพธิราชกุมารสูตรราชวรรคว่า


...เรายังหนุ่มเทียวเกสายังดำจัดบริบูรณ์ด้วยเยาว์อันเจริญในปฐมวัยเมื่อบิดามารดาไม่ปรารถนาด้วยกำลังพากันร้องไห้น้ำตานองหน้าอยู่เราได้ปลงผมและหนวดครองผ้าย้อมฝาดออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเรือนแล้ว...

— สยามรฏฺฐเตปิฏกํปาลีโพธิราชกุมารสุตฺตราชวคฺคมู. 13/443/489


ตามพุทธวจนะไม่ได้กล่าวว่าผนวชเฉพาะพระพักตร์พระราชบิดาและพระราชมารดาเพียงแต่ตรัสว่าผนวชขณะทั้งสองพระองค์กรรแสงเพราะทรงหนีจากพระราชวังแล้วผนวชในตอนเช้าเมื่อทั้งสองพระองค์ทรงทราบในเช้านั้นจึงเสียพระทัยการผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะและการกรรแสงของพระราชบุพการีจึงเป็นเวลาเดียวกันแต่ต่างสถานที่


เหตุการณ์จากนี้ในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาระบุตรงกันว่าเมื่อพระองค์ถือเพศบรรพชิตแล้วก็ทรงศึกษาในลัทธิคณาจารย์ต่างซึ่งสมัยนั้นนิยมกันส่วนเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อครองเพศบรรพชิตแล้วทรงถือวัตรปฏิบัติของสมณะคือปลงผมนุ่งผ้าย้อมน้ำฝาด(สีเหลืองแก่นขนุนเลี้ยงชีพด้วยอาหารบิณฑบาตที่ผู้ต้องการบุญถวายให้ทรงมีพระนามเรียกขานว่าพระสมณโคดม(คำว่าโคดมมาจากคำว่าโคตมะซึ่งเป็นชื่อโคตรของราชวงศ์ศากยะ)



บำเพ็ญเพียรเพื่อการบรรลุธรรม

พระโพธิสัตว์ได้ทรงศึกษากับอาฬารดาบสกาลามโคตรเมื่อหมดความรู้ของอาจารย์จึงอำลาไปเป็นศิษย์ในสำนักอุทกดาบสรามบุตรซึ่งมีความรู้สูงกว่าอาฬารดาบสหนึ่งขั้นคือเป็นผู้บรรลุฌานขั้นที่พระสมณโคดมทรงใช้เวลาศึกษาไม่นานก็สิ้นภูมิรู้ของอาจารย์ในที่สุดจึงอำลาไปค้นหาวิมุตติธรรมตามแนวทางของพระองค์ด้วยทรงประจักษ์ว่านี่ไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้


พระองค์จึงได้ละทิ้งสำนักอาจารย์เหล่านั้นเสียพระองค์ได้มุ่งหน้าสู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแคว้นมคธพร้อมฤๅษี รูปชื่อว่าโกณฑัญญะวัปปะภัททิยะมหานามะและอัสสชิเรียกว่าปัญจวัคคีย์มาปฏิบัติตนเป็นศิษย์ด้วยคาดหวังว่าเมื่อพระโพธิสัตว์หลุดพ้นแล้วจะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วยโดยพระองค์ได้เริ่มการบำเพ็ญเพียรขั้นอุกฤษฏ์ที่เรียกว่าทุกกรกิริยาซึ่งนักบวชสมัยนั้นนิยมปฏิบัติกัน 

-วาระแรกทรงกัดฟันนำลิ้นแตะเพดานปากไว้แน่นจนพระเสโท(เหงื่อไหลออกทางพระกัจฉะ(รักแร้

-วาระที่ทรงกลั้นลมหายใจเข้าออกจนเกิดเสียงดังอู้ทางช่องหูทั้งสองทำให้ทรงปวดหัวเสียดท้องและทรงร้อนพระวรกายการนั่งตากแดดจนผิวเกรียมไหม้ครั้นฤดูหนาวก็ลงไปแช่น้ำจนตัวแข็งพระองค์ได้ทรงทดลองปฏิบัติตามความเชื่อดั้งเดิมทุกวิถีทางแต่ก็ยังไม่สามารถบรรลุแนวทางค้นพบสัจจธรรม 

-ได้พระองค์เริ่มบำเพ็ญทุกรกิริยาในวาระสุดท้าย คือเริ่มลดอาหารที่ละน้อยจนถึงขั้นอดอาหารจนร่างกายซูบซีดผอมแห้งเหลือแต่หนังและเอ็นหุ้มกระดูก

 

ทรงมาบำเพ็ญเพียรถึงขั้นอุกฤษฏ์ขนาดนี้นับเป็นเวลาถึง พรรษาก็ยังไม่สามารถบรรลุธรรมภายหลังทรงได้แนวพระดำริว่าการบำเพ็ญทุกรกิริยานั้นเป็นการทรมานตนให้ลำบากเปล่าเป็นข้อปฏิบัติที่ตึงเกินไปและไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้แต่มัชฌิมาปฏิปทาคือไม่ตึงหรือหย่อนเกินไปน่าจะเป็นหนทางแห่งการตรัสรู้ได้จึงเริ่มเสวยพระกระยาหารดังเดิมเพื่อให้ร่างกายคลายเวทนามีสมาธิที่จะบำเพ็ญเพียรต่อไปปัญจวัคคีย์ทั้งจึงเข้าใจว่าพระบรมโพธิสัตว์ได้ละความเพียรแล้วหันมาบริโภคพระกระยาหารดังเดิมไหนเลยจะสามารถพบธรรมวิเศษได้จึงพากันเดินทางจากพระองค์ไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสีแคว้นกาสี

 

พระสุบินนิมิต

ขณะที่พระบรมโพธิสัตว์บรรทมหลับในยามราตรีของคืนวันขึ้น 14 ค่ำเดือนจนเวลาใกล้รุ่งทรงสุบินนิมิต ประการ คือ

     1. นอนหงายบนพื้นปฐพีมีเขาหิมพานต์เป็นเขนย(หมอนพระพาหาซ้ายจมลงไปในมหาสมุทรทิศบูรพาพระพาหาขวาหยั่งลงไปในมหาสมุทรด้านทิศปัจฉิมและพระบาท(เท้าทั้งสองหยั่งลงไปในมหาสมุทรด้านทิศทักษิณ

      2. มีหญ้าแพรกเส้นหนึ่งงอกขึ้นจากพระนาภี(สะดือสูงขึ้นไปถึงท้องฟ้า

      3. หมู่หนอนเป็นอันมากมีสีขาวบ้างสีดำบ้างไต่ขึ้นมาจากปลายพระบาททั้งคู่ปิดลำพระชงฆ์(แข้งตลอดจนถึงพระชานุ(เข่า)

      4. ฝูงนกจำพวกมีสีต่างกันคือสีเหลืองสีเขียวสีแดงและสีดำบินมาจากทิศทั้ง ลงมาหมอบแทบพระบาทแล้วกลับกลายเป็นสีขาวไปหมดทั้งสิ้น

      5. พระองค์เสด็จขึ้นไปเดินจงกรมบนยอดภูเขาที่เปรอะเปื้อนเต็มไปด้วยมูตรคูถ(ปัสสาวะอุจจาระแต่พระบาทของพระองค์มิได้เปื้อนด้วยสิ่งเหล่านั้นเลย


เมื่อทรงตื่นจากบรรทมแล้วพระองค์ก็เริ่มพยากรณ์ไปตามลำดับว่า

1 พระองค์จะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นผู้เลิศในโลกทั้ง ได้แก่กามโลกรูปโลกและอรูปโลก

2 พระองค์จะได้ทรงประกาศพระธรรมเทศนาอริยมรรคมีองค์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

3 หมู่คฤหัสถ์พราหมณ์และชนทั้งหลายที่นุ่งผ้าขาวจะมาสู่สำนักของพระองค์และดำรงอยู่ในไตรสรณคมน์

4 วรรณะทั้ง 4 (พราหมณ์กษัตริย์แพศย์และศูทรเมื่อสละเพศฆราวาสมาบรรพชาในพระธรรมวินัยและจะได้บรรลุวิมุตติธรรมอันประเสริฐบริสุทธิ์หมดจดผ่องใสโดยเท่าเทียมกัน

5 พระองค์จะบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะที่ชาวโลกทั่วทุกทิศพากันนำมาถวายด้วยศรัทธาเลื่อมใสแต่พระองค์มิได้มีพระทัยติดอยู่ในลาภสักการะเหล่านั้นให้เป็นมลทินแม้แต่น้อย

เมื่อพระองค์ทรงทำนายสุบินนิมิตดังนี้และทรงทำสรีรกิจส่วนพระองค์เสร็จแล้วจึงเสด็จไปประทับนั่งพักผ่อนพระอิริยาบถโคนต้นไทรใหญ่ซึ่งไม่ไกลจากที่นั้น

 

นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส

ขณะที่พระโพธิสัตว์ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่นั้นสุชาดาธิดาของเสนานีกุฎุมพีได้นำมธุปายาสที่เธอได้หุงไว้มาถวายแด่พระองค์พร้อมกับถวายบังคมลากลับไป


เมื่อนางสุชาดากลับไปแล้วพระองค์ได้เสด็จไปที่ริมแม่น้ำเนรัญชราเพื่อสรงน้ำและเสวยข้าวมธุปายาสทั้งหมด 49 ก้อนเมื่อเสวยจนหมดแล้วจึงได้นำถาดทองไปลอยที่แม่น้ำเนรัญชราก่อนนำไปลอยได้อธิษฐานว่า

“..ถ้าเราจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในวันนี้ขอให้ถาดทองลอยทวนกระแสน้ำเถิดแต่ถ้ายังไม่ตรัสรู้ก็ขอให้ถาดทองลอยไปตามกระแสน้ำเถิด

— พระสมณโคดม


เมื่ออธิษฐานจบแล้วถาดทองได้ลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไปและได้จมลงสู่นาคภิภพไปกระทบกับถาดทองใบของอดีตพระพุทธเจ้า พระองค์คือ

1 พระกกุสันธพุทธเจ้า

2 พระโกนาคมนพุทธเจ้า

3 พระกัสสปพุทธเจ้า




ตรัสรู้

พระสิทธัตถะโคดมทรงประทับนั่งขัดสมาธิผินพระพักตร์สู่เบื้องบูรพาทิศตั้งจิตแน่แน่วว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญานจักไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ในคืนนั้นท้าววสวัตตีเข้าทำการขัดขวางการบำเพ็ญเพียรของพระมหาบุรุษแต่ก็พ่ายแพ้ไปพระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้นทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัยเรียกว่าการเข้าฌานเพื่อเป็นบาทของวิปัสสนาญาณจนเวลาผ่านไปพระองค์ได้บรรลุถึงญาณต่างดังนี้

ปฐมยามทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณคือการระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้

มัชฌิมยามทรงบรรลุจุตูปปาตญาณคือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย

รุ่งปัจฉิมยามทรงบรรลุอาสวักขยญาณคือรู้วิธีกำจัดกิเลส(มารด้วยอริยสัจ 4 (ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรคได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


พระองค์จึงพบกับความสุขสว่างอย่างแท้จริงซึ่งเรียกกันว่าทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เองได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอกในโลกตรงกับวันเพ็ญเดือน พุทธคยากรุงราชคฤห์แคว้นมคธขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา



เสวยวิมุตติสุข

สัปดาห์ที่ และ 2

หลังจากที่พระโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วได้ประทับเสวยวิมุตติสุข(สุขที่เกิดจากความหลุดพ้นใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์วันเพื่อพิจารณาปฏิจจสมุปบาททั้งสายเกิดและสายดับจากนั้นในสัปดาห์ที่ได้เสด็จไปทรงยืนอยู่กลางแจ้งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ทรงทำอุปหารคือยืนทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตรตลอดวันสถานที่เสด็จมาทรงยืนทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้นได้นามว่าอนิมิสเจดีย์


สัปดาห์ที่ 3

ในสัปดาห์ที่หลังจากตรัสรู้พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตที่จงกรมแก้วขึ้นกึ่งกลางระหว่างอนิมิสเจดีย์กับต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้วเสด็จจงกรมที่นั้นเป็นเวลาวันสถานที่นั้นได้นามว่ารัตนจงกรมเจดีย์


สัปดาห์ที่ 4

ในสัปดาห์ที่จากวันที่ตรัสรู้พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นประทับ(นั่งขัดสมาธิเรือนแก้วที่เทวดาเนรมิตถวายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นศรีมหาโพธิ์ทรงพิจารณาธรรมตลอดเวลาวันสถานที่นั้นเรียกว่ารัตนฆรเจดีย์ในหนังสือพระปฐมสมโพธิกถากล่าวว่าในสัปดาห์ที่ 1-3 พระฉัพพรรณรังสี(รัศมีประการยังมิได้โอภาสออกจากพระวรกายจนในสัปดาห์ที่เมื่อเสด็จประทับ(นั่งขัดสมาธิทรงพิจารณาธรรมในเรือนแก้วแล้วพระฉัพพรรณรังสีจึงมีโอภาสออกมาจากพระวรกาย


สัปดาห์ที่ 5

หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงพิจารณาธรรมในเรือนแก้วแล้วพระองค์จึงเสด็จไปประทับใต้ต้นไทรธิดามารพี่น้องคือนางราคานางอรดีนางตัณหาได้อาสาผู้เป็นบิดาไปทำลายตบะเดชะของพระพุทธองค์ด้วยการเนรมิตร่างเป็นสตรีที่สวยงามในวัยต่างตลอดจนแสดงอิตถียาโดยการฟ้อนรำขับร้องแต่พระพุทธองค์ไม่ทรงเอาพระทัยใส่กลับขับไล่ธิดามารให้หลีกไป


สัปดาห์ที่ 6

ในสัปดาห์ที่หกหลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ในขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับใต้ต้นมุจลินท์(ต้นจิกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาประทับอยู่ที่นี่ได้บังเกิดมีฝนและลมหนาวตกพรำตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสายพญานาคชื่อมุจลินท์ได้ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณเดียวกันนี้เข้าไปวงขนด รอบแล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าเพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระวรกายครั้นฝนหายฟ้าสางพญานาคจึงคลายขนดออกแล้วจำแลงเป็นเพศมาณพยืนเฝ้าพระพุทธเจ้าทางเบื้องพระพักตร์ 


ลำดับนั้นพระพุทธองค์จึงทรงเปล่งอุทานจากความคิดว่า

“..ความสงัดคือความสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้วได้รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไรความสำรวมไม่เบียดเบียนในสัตว์ทั้งหลายและความเป็นผู้ปราศจากกำหนัดหรือสามารถก้าวล่วงพ้นซึ่งกามทั้งปวงเสียได้เป็นสุขอันประเสริฐในโลกความขาดจากอัสมิมานะหรือการถือตัวตนหากกระทำให้(การถือตัวหมดสิ้นไปได้นั้นเป็นความสุขอย่างยิ่ง

— พระพุทธองค์


สัปดาห์ที่ 7

เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จออกจากร่มไม้จิกแล้วก็เสด็จไปประทับเสวยวิมุตติสุขร่มไม้เกดซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลาวันแล้วจึงทรงออกจากสมาธิท้าวสักกเทวราช(พระอินทร์ผู้เป็นจอมเทพของดาวดึงส์ทรงทราบว่านับแต่พระพุทธองค์ตรัสรู้มาสัปดาห์รวม 49 วันมิได้เสวยภัตตาหารเลยจึงนำผลสมออันเป็นทิพยโอสถจากเทวโลกมาน้อมถวายพระพุทธองค์จึงเสวยผลสมอทิพย์นั้นแล้วทรงบ้วนพระโอษฐ์(ปากด้วยน้ำที่ท้าวสักกเทวราชถวายจากนั้นเสด็จประทับร่มไม้เกดตามเดิม


 

ประสานบาตรแล้วรับข้าวสัตตูก้อนสัตตูผง

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว 49 วันพ่อค้าสองพี่น้องชื่อตปุสสะและภัลลิกะได้รับคำแนะนำจากเทวดาซึ่งเคยเป็นญาติกับพ่อค้าทั้งสองในอดีตชาติให้นำภัตตาหารน้อมถวายแด่พระพุทธองค์เพื่อประโยชน์สุขแก่ทั้งสองสิ้นกาลนานเมื่อตปุสสะและภัลลิกะเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ร่มไม้เกดต่างมีจิตเลื่อมใสศรัทธาจึงเข้าไปทำการอภิวาทและถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงพระพุทธองค์มีพระประสงค์จะรับแต่บาตรที่ฆฏิการพรหมถวายในวันเสด็จออกบรรพชาได้อันตรธานไปท้าวจตุโลกบาลทั้ง จึงได้เหาะนำบาตรศิลามาถวายองค์ละใบพระองค์จึงทรงประสานบาตรทั้งใบนั้นเป็นใบเดียวกันแล้วใช้รับข้าวสัตตุก้อนสัตตุผง


พระพุทธเจ้าทรงรับข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงที่พ่อค้าสองพี่น้องถวายด้วยความเลื่อมใสเมื่อทรงทำภัตกิจเสร็จแล้วพ่อค้าทั้งสองทูลขอถึงพระพุทธและพระธรรมเป็นที่พึ่งนับถือสูงสุดในชีวิตเพราะขณะนั้นยังไม่มีพระสงฆ์บังเกิดขึ้นถือเป็นเทววาจิกอุบาสกนับเป็นอุบาสกคู่แรกในพระพุทธศาสนา


 

ประทานพระเกศา

หลังจากที่ตปุสสะและภัทลิกะ(ผู้ที่ถวายสัตตูก้อนสัตตูผงได้ขอถึงพระพุทธและพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งสูงสุดในชีวิตถือเป็นปฐมอุบาสกในพระพุทธศาสนาแล้วได้ทูลขอสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ควรค่าแก่การอภิวาทต่างองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้บูชาพระพุทธองค์ทรงลูบพระเศียรเกล้าด้วยพระหัตถ์ขวามีพระเกศา เส้นอยู่บนฝ่าพระหัตถ์จึงโปรดประทานพระเกศาทั้งเส้นนั้นแก่พ่อค้าทั้งสองโดยแบ่งให้คนละครึ่ง( 4 เส้นเมื่อกราบบังคมลาไปสู่บ้านเมืองของตนแล้วพ่อค้าทั้งสองได้สร้างพระสถูปบรรจุพระเกศาไว้เป็นที่สักการบูชาแก่มหาชน


 

ระลึกถึงดอกบัว เหล่า

ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นไทรพระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้นั้นมีความละเอียดและลึกซึ้งมากเป็นสิ่งที่เหล่าปุถุชนคนธรรมดาผู้มากไปด้วยกิเลสยากจะเข้าใจได้เมื่อได้ฟังธรรมแล้วจะมีใครสักคนที่จะเข้าใจธรรมของพระพุทธองค์ไม่หากสอนไปแล้วเกิดไม่เข้าใจก็เปล่าประโยชน์พระทัยหนึ่งจึงเกิดความมักน้อยว่าจะไม่แสดงธรรมเพื่อโปรดใครเลยด้วยพระพุทธดำริของพระพุทธเจ้าได้ทราบไปถึงท้าวสหัมบดีพรหมในพรหมโลกท้าวสหัมบดีพรหมจึงตกพระทัยเป็นอย่างยิ่งถึงกับทรงเปล่งวาจาอันดังถึงสามครั้งว่า"โลกจะฉิบหายในครั้งนี้ท้าวสหัมบดีพรหมพร้อมเทพบริษัทก็ได้ลงจากพรหมโลกมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรมโปรดชาวโลกโดยอธิบายว่าในโลกนี้ยังมีสัตว์ในโลกทั้งหลายนี้ที่มีกิเลสเบาบางพอที่จะฟังธรรมของพระองค์ได้นั้นยังมีอยู่ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงพระสัทธรรมเทศนาโปรดชาวโลกในครั้งนี้เทอญพระพุทธองค์ทรงกล่าวตอบท้าวสหัมบดี"เราตถาคตจะได้เปิดประตูอมตธรรมต้อนรับชนผู้ใคร่สดับซึ่งเราชำนาญดีในหมู่มนุษย์หลังจากพระพุทธองค์ทรงได้พิจารณาเห็นความแตกต่างของระดับสติปัญญาของบุคคลในโลกนี้เปรียบเสมือนบัวเหล่าดังนี้

1 อุคฆฏิตัญญูคือพวกที่สติปัญญาดีเมื่อฟังธรรมก็สามารถเข้าใจได้รวดเร็วเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำเมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที

2 วิปจิตัญญูคือพวกที่มีสติปัญญาปานกลางเมื่อฟังธรรมแล้วพิจารณาตามฝึกฝนเพิ่มเติมจะเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้าเสมือนดอกบัวที่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป

3 เนยยะคือพวกที่สติปัญญาน้อยเมื่อฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและฝึกฝนอยู่เสมอมีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อในที่สุดก็จะสามารถเข้าใจได้เสมือนดอกบัวใต้น้ำซึ่งจะโผล่ขึ้นเบ่งบานในวันหนึ่ง

4 ปทปรมะคือพวกไร้สติปัญญาแม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจเปรียบเสมือนบัวที่จมอยู่กับโคลนตมไม่มีโอกาสเบ่งบาน

เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณก็ทรงอธิษฐานว่าจะแสดงธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์และตั้งพุทธปณิธานที่จะดำรงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้อยู่ประกาศพระพุทธศาสนาให้แพร่หลายสำเร็จประโยชน์แก่ชนทุกหมู่เหล่า


 

แสดงปฐมเทศนา

พระพุทธองค์ทรงระลึกถึงอาฬารดาบสและอุทกดาบสแต่ทิพยจักษุญาณได้บอกว่าทั้งสองสิ้นชีพไปแล้วจึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ทรงทราบว่าปัญจวัคคีย์อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันจึงได้เสด็จไปแสดงปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน คือวันอาสาฬหบูชานั่นเองซึ่งกล่าวถึงสุด อย่างอันบรรพชิตไม่ควรปฏิบัติคือการลุ่มหลงมัวเมาในกาม การทรมาณตนให้ลำบากเปล่า มัชฌิมาปฏิปทาทางสายกลางที่ควรดำเนินคืออริยสัจและมรรคมีองค์แปด


ในที่สุดท่านโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาบันพระพุทธองค์จึงทรงเปล่งวาจาว่า

      บาลี : อัญญาสิวตโภโกณฑัญโญ

      ไทย : โกณฑัญญะเธอได้รู้แล้วเธอได้เข้าใจแล้ว

— พระพุทธเจ้า


ท่านโกณฑัญญะจึงได้สมญาว่าพระอัญญาโกณฑัญญเถระและได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนาเป็นเหตุให้พระรัตนตรัยคือพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์ครบองค์เป็นครั้งแรกในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงอนัตตลักขณสูตรพระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้งขณะสดับพระธรรมเทศนาส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนาจิตก็หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทานสามารถละสังโยชน์ครบ 10 ประการได้บรรลุพระนิพพานเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้งรูป


 

ยสะและญาติออกบวช

หลังจากโปรดปัญจวัคคีย์เป็นกลุ่มแรกแล้วก็มียสะที่หนีออกจากเมืองพาราณสีและพระญาติอีก 54 คนเข้ามาขอบวชและฟังพระธรรมเทศนาจนได้พระอรหันต์สาวก 60 รูปพระองค์ทรงส่งพระสาวกเหล่านี้ออกไปประกาศพระศาสนาตามตำบลต่างและได้แสดงธรรมแก่เศรษฐีคนหนึ่งเป็นชาวเมืองพาราณสีนางสุชาดามารดาของพระยสเถระและนางวิสาขาภรรยาเก่าของท่านจนบรรลุโสดาบันขอแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกาและถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งนับเป็นอุบาสกคนแรกและอุบาสิกาคู่แรกที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง


 

โปรดภัททวัคคีย์

จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปตำบลอุรุเวลาเสนานิคมก่อนที่จะไปที่นั่นได้พบกับภัททวัคคีย์ที่กำลังตามหานางคณิกาซึ่งโขมยเสื้อผ้าและเครื่องประดับของเขาไปพระพุทธองจึงทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ โปรดภัททวัคคีย์จึงบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างเช่นโสดาบันสกทาคามีจากนั้นจึงขอบวชพระพุทธองค์ได้ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาจากนั้นพระพุทธองค์ทรงส่งภัททวัคคีย์ไปประกาศพระศาสนาเมื่อครบ 30 คนแล้วจึงเดินทางต่อไป


 

โปรดชฎิลพี่น้อง

เมื่อถึงแม่น้ำเนรัญชราก็ได้พบกับชฎิล พี่น้องได้แก่อุรุเวลกัสสปะนทีกัสสปะและคยากัสสปะและบริวาร 1,000 คน(อุรุเวลฯ 500 คนนทีฯ 300 คนและคยาฯ 200 คนซึ่งเป็นนักบวชลัทธิบูชาไฟและเป็นที่เคารพบูชาของชาวกรุงราชคฤห์ในครั้งแรกพระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์โดยการปราบพญานาคให้มีขนาดเล็กครั้งที่สองทรงแสดงพุทธานุภาพคือมีเทวดามาเข้าเฝ้าและครั้งสุดท้ายทรงแสดงนิมิตจงกรมกลางน้ำแต่ถึงอย่างไรอุรุเวลกัสปะก็ไม่เลื่อมใสอยู่ดีจนพระพุทธองค์ต้องแสดงธรรมโปรดทำให้อุรุเวลกัสสปะเกิดความเลื่อมใสขอบวชเป็นพระสาวกพระพุทธเจ้าจึงทรงให้อุรุเวลฯไปชี้แจงแก่บริวาร 500 คนให้รับทราบบริวารทั้งหมดรับทราบและขอบวชจากพระพุทธเจ้าจากนั้นเรื่องจึงได้ทราบถึงนทีฯซึ่งมีบริวาร 300 คนและคยาฯซึ่งมีบริวาร 200 คนชฎิลทั้งและบริวารทั้งหมดจึงขอบวชตามพระพุทธองค์ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงพาทั้ง 1,003 รูปไปที่คยาสีสะแล้วทรงแสดงธรรมอาทิตตปริยายสูตรแก่ชฎิลทั้งและบริวารทั้งหมดจึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์


 

โปรดพระเจ้าพิมพิสาร

พระพุทธองค์ทรงพาชฎิลพี่น้องและบริวารจำนวน 1,000 รูปไปยังกรุงราชคฤห์ทรงพักที่สวนตาลหนุ่มเมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข่าวจึงได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยข้าราชบริพารไปเข้าเฝ้าเมื่อเสด็จไปสวนตาลพระเจ้าพิมพิสารทรงนมัสการพระพุทธเจ้าส่วนข้าราชบริพารบางส่วนยังทำเมินเฉยอยู่


พระพุทธองค์จึงทรงทำลายทิฐิมานะของข้าราชบริพารเหล่านั้นลงโดยถามพระอุรุเวลกัสสปะถึงเหตุที่เลิกศรัทธาลัทธิบูชาไฟอุรุเวลฯตอบว่าลัทธิเดิมของตนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าในประชาชนทั้งหลายได้ทราบโดยทั่วกันพระพุทธเจ้าทรงสังเกตเห็นบรรดาข้าราชบริพารของพระเจ้าพิมพิสารได้คลายทิฐิมานะลงแล้วจึงทรงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิสารข้าราชบริพารและประชาชนทั้งหลาย


ผลที่ได้รับคือพระเจ้าพิมพิสารและข้าราชบริพารส่วนใหญ่ได้ดวงตาเห็นธรรมจึงได้ทรงแสดงตนเป็นอุบาสกขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณที่พึ่งตลอดชีวิตพระเจ้าพิมพิสารยังได้ถวายสวนเวฬุวันให้พระพุทธองค์และพระสาวกทั้งหมดวัดเวฬุวันจึงเป็นวัดแห่งแรกของพระพุทธศาสนาในยามดึกของค่ำวันนั้นบรรดาเปรตทั้งหลายที่เคยเป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสารในอดีตชาติทราบว่าพระเจ้าพิมพิสารบำเพ็ญกุศลมีการถวายทานเป็นต้นต่างก็รอรับส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารจะอุทิศส่งไปให้เมื่อรอจนสิ้นวันนั้นไม่เห็นพระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนบุญให้ตามที่หวังจึงพากันส่งเสียงร้องด้วยศัพท์สำเนียงอันน่าสะพรึงกลัวพระเจ้าพิมพิสารได้สดับเสียงนั้นเกิดความกลัวมากจึงรีบเสด็จไปเฝ้าพระพุทธองค์พระพุทธองค์ตรัสให้ทราบความเป็นมาบอกให้พระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนกุศลท้าวเธอก็ได้อุทิศส่วนกุศลไปให้ทันใดนั้นอาหารทิพย์ก็ปรากฏมีแก่เปรตเหล่านั้นต่างพากันบริโภคจนอิ่มหนำสำราญร่างกายที่เคยผอมโซทุเรศน่าเกลียดน่ากลัวก็กลับดูสะอาดสมบูรณ์ขึ้น


 

แต่งตั้งพระอัครสาวกทั้งสอง

พระอัครสาวกที่สำคัญของพระพุทธเจ้าคือพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะครั้งนั้นคืออุปติสสะและโกลิตะในขณะนั้นพระพุทธองค์กำลังประทับท่ามกลางพุทธบริษัทจำนวนมากเมื่อเห็นมาณพทั้งสองกำลังเดินมาจึงตรัสบอกภิกษุสงฆ์ว่าภิกษุทั้งหลายมาณพทั้งสองคนนั้นจะเป็นอัครสาวกของเราตถาคตมาณพทั้งสองได้ทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้าพระพุทธองค์ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้ทั้ง ได้ปฏิบัติธรรมอย่างพากเพียรจนพระมหาโมคคัลลานะอุปสมบทได้วันก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ส่วนพระสารีบุตรอุปสมบทได้กึ่งเดือนจึงสำเร็จพระอรหันต์พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายการที่พระสารีบุตรได้บรรลุพระอรหันต์ช้ากว่าพระมหาโมคคัลลานะว่าเป็นเพราะพระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญามากต้องใช้บริกรรมใหญ่เปรียบด้วยการเสด็จไปของพระราชาต้องตระเตรียมราชพาหนะและราชบริวารจึงจำเป็นต้องใช้เวลามากกว่าการไปของคนสามัญ


ในวันที่พระสารีบุตรบรรลุพระอรหันต์ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือนมาฆะ(วันมาฆบูชาในตอนบ่ายพระพุทธเจ้าทรงประกาศแต่งตั้งพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวาเลิศกว่าผู้อื่นในทางปัญญาพระมหาโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายเลิศกว่าภิกษุรูปอื่นในฐานะมีฤทธิ์ล้ำเลิศเมื่อล่วงค่ำพระสงฆ์ 1,250 รูปจึงมาถึงวัดพระเวฬุวันพระพุทธเจ้าจึงทรงประทานโอวาทปาติโมกข์แก่ทั้งหมดรวมทั้งอัครสาวกทั้ง พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระสารีบุตรว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุรูปอื่นในทางปัญญาเป็นผู้สามารถจะแสดงพระธรรมจักรและพระจตุราริยสัจให้กว้างขวางพิสดารเสมอพระองค์เมื่อมีภิกษุมาทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อจะเที่ยวจาริกไปพระพุทธเจ้ามักจะตรัสให้ภิกษุที่มาทูลลาไปลาพระสารีบุตรก่อนเพื่อให้พระสารีบุตรได้สั่งสอนเช่นครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เมืองเทวทหะภิกษุเป็นจำนวนมากได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลลาไปชนบทพระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งให้ไปลาพระสารีบุตรแล้วทรงยกย่องว่าพระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญาอนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิตทั้งหลายเปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลพระสารีบุตรได้รับการยกย่องมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า"พระธรรมเสนาบดีพระสงฆ์ผู้ประกาศพระศาสนาได้ชื่อว่าธรรมเสนาเป็นกองทัพธรรมที่ประกาศเผยแผ่ธรรมเมื่อไปถึงที่ไหนก็ทำให้เกิดประโยชน์และความสุขที่นั่นพระพุทธเจ้าเป็นจอมธรรมเสนาเรียกว่า"พระธรรมราชาโดยมีพระสารีบุตรเป็นพระธรรมเสนาบดีหรือแม่ทัพฝ่ายธรรม


 

ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์

วันมาฆบูชาเป็นวันที่ระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาติโมกข์แก่มหาสังฆสันนิบาตในมณฑลวัดเวฬุวันมหาวิหารซึ่งในวันนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ประการคือ

1 วันนี้พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์(วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3)

2 พระสาวกทั้ง 1,250 รูปนี้ต่างได้มาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย

3 พระสาวกทั้ง 1,250 รูปนี้ล้วนเป็นเอหิภิกขุที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้นเรียกว่าพิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา

4 พระสาวก 1,250 รูปนี้ล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ละสังโยชน์ครบ 10 ประการ

ด้วยเหตุการณ์ประจวบกับ อย่างจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าจาตุรงคสันนิบาต(มาจากศัพท์บาลีจตุ+องฺค+สนฺนิปาตแปลว่าการประชุมอันประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสี่ประการโดยประชุมกันวัดเวฬุวันมหาวิหารเมืองราชคฤห์หลังจากตรัสรู้แล้ว เดือน( 45 ปีก่อนพุทธศักราช)


 

ปรินิพพาน

ขณะที่พระโคตมพุทธเจ้ามีพระชนมายุราว 80 พรรษาพระวรกายได้เสื่อมทรุดไปตามสังขารวัยของพระองค์นอกจากนี้ยังมีพระโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและยังมีพระอาการปวดเรื้อรังในปีสุดท้ายของพระองค์นั้นพระองค์ประชวรพระนาภีอย่างรุนแรงจนเกือบจะปรินิพพานเมื่อพระอาการดีขึ้นนายจุนทะกัมมารบุตรได้นำสูกรมัททะวะมาถวายหลังจากเสวยเสร็จได้ทรงพระบังคลหนักเป็นพระโลหิตแต่ทรงข่มพระอาการมุ่งเสด็จต่อไปยังเมืองกุสินาราประทับต้นสาละของมัลลกษัตริย์แห่งกุสินาราแล้วเสด็จบรรทมสีห์ไสยาสน์ขณะนั้นปริพาชกชื่อสุภัททะมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อถามปัญหาบางประการพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้สุภัททะจนเข้าใจสุภัททะบรรลุโสดาบันและบวชเป็นภิกษุต่อหน้าพระพุทธองค์เป็นคนสุดท้ายก่อนปรินิพพานพระพุทธองค์ได้ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า

“..ภิกษุทั้งหลายบัดนี้เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลายสังขารทั้งปวงมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดาท่านจงทำกิจของตนและกิจของผู้อื่นด้วยความไม่ประมาทเถิด


หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าจึงเสด็จดับขันธ์ปรินิพานระหว่างใต้ต้นสาละคู่กรุงกุสินาราปัจฉิมยามแห่งราตรีวิสาขปรุณมีเพ็ญเดือน ขณะมีพระชนมายุ 80 พรรษาประเทศกัมพูชาและพม่านับปีนี้เป็น.. 1 แต่ในประเทศไทยนับ .. 1 หนึ่งปีหลังจากการปรินิพพานซึ่งแตกต่างเพียงเล็กน้อย


(มโนเลาหวณิช : สันนิษฐานว่าพระอาการประชวรมีสาเหตุมาจากการอุดตันของเส้นเลือดใหญ่ในลำไส้เล็กส่วนกลาง(superior mesenteric artery) เมื่อกล้ามเนื้อลำไส้ของพระองค์ตายจากการอุดตันของเส้นเลือดทำให้เลือดจำนวนมากไหลเข้าสู่ลำไส้เกิดการถ่ายเป็นเลือดนอกจากนี้แบคทีเรียจำนวนมากได้เข้าสู่ช่องท้องทำให้เกิดการอักเสบของช่องท้องแบคทีเรียส่วนหนึ่งเข้าสู่กระแสพระโลหิตทำให้เกิดพระอาการช็อกและหนาวสั่นอาการช็อกทำให้พระองค์เกิดการกระหายน้ำ)


เนื่องจากไม่สามารถพระดำเนินได้เองจึงทรงรับสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำมาถวายและรับสั่งให้นำผ้าสังฆาฏิปูบริเวณลานหนา ชั้นเพื่อให้ทรงประทับเมื่อพระอาการดูท่าไม่ดีเหล่าภิกษุได้ช่วยกันนำพระองค์เข้าไปในเมืองเพื่อรักษาแต่ไม่สำเร็จจึงเสด็จปรินิพพานในกรุงกุสินาราหลังวันวิสาขบูชาราว 5-6 เดือนในช่วงออกพรรษา 


หลังจากปรินิพพานแล้วมัลลกษัตริย์ทั้งหลายมีมติที่จะเคลื่อนพระพุทธสรีระออกจากเมืองไปประตูทางทิศใต้ แต่ก็ไม่สามารถอัญเชิญพระพุทธสรีระไปได้แม้แต่จะขยับเขยื้อนให้เคลื่อนจากสถานที่สักน้อยหนึ่งมัลลกษัตริย์พากันตกตลึงในเหตุอัศจรรย์ที่ไม่เคยประสบเช่นนั้นจึงได้พร้อมกันไปเรียนถามพระอนุรุทธะเถระซึ่งเป็นประธานสงฆ์อยู่พระอนุรุทธะเถระได้กล่าวว่าเหล่าเทวดามีความประสงค์ที่จะเคลื่อนพระพุทธสรีระให้เข้าเมืองจากทิศเหนือแล้วออกไปยังประตูทางทิศตะวันออกมัลลกษัตริย์ทั้งหลายต่างได้ทำตามความประสงค์ของเหล่าเทวดา 


หลังจากนั้นพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพได้ถูกจัดขึ้นในวันที่ หลังพุทธปรินิพพานเมื่อหลังจากที่พระเพลิงเผาซึ่งเผาไหม้พระพุทธสรีระดับมอดลงแล้วบรรดากษัตริย์มัลละทั้งหลายจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดใส่ลงในหีบทองแล้วนำไปรักษาไว้ภายในนครกุสินาราส่วนเครื่องบริขารต่างๆของพระพุทธเจ้าได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่างๆอาทิผ้าไตรจีวรอัญเชิญไปประดิษฐานที่แคว้นคันธาระบาตรอัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองปาตลีบุตรเป็นต้น 


เมื่อบรรดากษัตริย์จากแคว้นต่างๆได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานที่นครกุสินาราจึงได้ส่งตัวแทนไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุเพื่อนำกลับมาสักการะยังแคว้นของตนแต่ก็ถูกกษัตริย์มัลละปฏิเสธจึงทำให้ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งและเตรียมทำสงครามกันแต่ในสุดเหตุการณ์ก็มิได้บานปลายเนื่องจากโทณพราหมณ์ได้เข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อยุติความขัดแย้งโดยเสนอให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็นส่วนเท่าๆกันซึ่งกษัตริย์แต่ละเมืองทรงสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุตามเมืองต่างๆ



ที่มา สารานุกรมพระพุทธศาสนา

 

--------------------

แสดงความคิดเห็น

0ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)
ฉันคือพลังงานจลน์ พลวัตเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น..