เพื่อยกระดับความรู้ สู่สังคมอุดมป้ญญา

มโหสถ : มหานิบาตชาดก ตอนที่ ๕

0


บำเพ็ญปัญญาบารมี[มโหสถชาดก(มะ)]

พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นมโหสถบัณฑิตผู้เกิดมาพร้อมแท่งยาใหญ่ซึ่งสามารถรักษาได้สารพัดโรค



เรื่องโดยย่อ..

   ในเมืองมิถิลามีเศรษฐีผู้หนึ่งมีนามว่าสิริวัฒกะภรรยาชื่อนางสุมนาเทวีนางสุมนาเทวีมีบุตรชายคนหนึ่งซึ่งเมื่อคลอดออกมานั้นมีแท่งโอสถอยู่ในมือเศรษฐีสิริวัฒกะเคยเป็นโรคปวดศีรษะมานานจึงเอาแท่งยานั้นฝนที่หินบดยาแล้วนำมาทาหน้าผากอาการปวดศีรษะก็หายขาด 


ครั้นผู้อื่นที่มีโรคภัยไข้เจ็บมาขอปันยานั้นไปรักษาบ้างก็พากันหายจากโรคเป็นที่เลื่องลือไปทั่วเศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรว่า"มโหสถเพราะทารกนั้นมีแท่งยาวิเศษเกิดมากับตัวเมื่อมโหสถเติบโตขึ้นปรากฏว่ามีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าเด็กในวัยเดียวกัน


ครั้งหนึ่งมโหสถเห็นว่าในเวลาฝนตกตนและเพื่อนเล่นทั้งหลายต้องหลบฝนลำบากลำบนเล่นไม่สนุกจึงขอให้เพื่อนเล่นทุกคนนำเงินมารวมกันเพื่อสร้างสถานที่เล่นมโหสถจัดการออกแบบอาคารนั้นอย่างวิจิตรพิสดารนอกจากที่เล่นที่กินและที่พักสำหรับคนที่ผ่านไปมาแล้วยังจัดสร้างห้องวินิจฉัยคดีด้วยเพราะความที่มโหสถเป็นเด็กฉลาดเฉลียวเกินวัยจึงมักมีผู้คนมาขอให้ตัดสินปัญหาข้อพิพาทหรือแก้ใขปัญหาขัดข้องต่างๆอยู่เสมอชื่อเสียงของมโหสถเลื่องลือไปไกลทั่วมิถิลานคร 


ในขณะนั้นกษัตริย์เมืองมิถิลาทรงพระนามว่าพระเจ้าวิเทหราชทรงมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตประจำราชสำนักคนคือเสนกะปุตกุสะกามินท์และเทวินทะบัณฑิตทั้งเคยกราบทูลว่าจะมีบัณฑิตคนที่ห้ามาสู่ราชสำนักพระเจ้าวิเทหราชพระองค์จึงโปรดให้เสนาออกสืบข่าวว่ามีบัณฑิตผู้มีสติปัญญาปราดเปรื่องอยู่ที่ใดบ้าง 


เสนาเดินทางมาถึงบริเวณบ้านของสิริวัฒกะเศรษฐีเห็นอาคารงดงามจัดแต่งอย่างประณีตบรรจงจึงถามผู้คนว่าใครเป็นผู้ออกแบบคนก็ตอบว่าผู้ออกแบบคือมโหสถบัณฑิตบุตรชายวัยขวบของสิริวัฒกะเศรษฐี 


เสนาจึงนำความไปกราบทูลพระเจ้าวิเทหราชพระองค์ตรัสเรียกบัณฑิตทั้งมาปรึกษาว่าควรจะไปรับมโหสถมาสู่ราชสำนักหรือไม่บัณฑิตทั้งเกรงว่ามโหสถจะได้ดีเกินหน้าตนจึงทูลว่า 

   ลำพังการออกแบบตกแต่งอาคารไม่นับว่าผู้นั้นจะมีสติปัญญาสูงถึงขั้นบัณฑิตขอให้รอดูต่อไปว่ามโหสถจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดจริงหรือไม่


ฝ่ายมโหสถนั้นมีชาวบ้านนำคดีความต่างๆมาให้ตัดสินอยู่เป็นนิตย์เป็นต้นว่าชายเลี้ยงโคนอนหลับไปมีขโมยเข้ามาลักโคเมื่อตามไปพบขโมยก็อ้างว่าตนเป็นเจ้าของโคต่างฝ่ายต่างถกเถียงอ้างสิทธิ์ไม่มีใครตัดสินได้ว่าโคนั้นเป็นของใครจึงพากันไปหามโหสถมโหสถถามชายเจ้าของโคว่าเรื่องราวเป็นอย่างไรชายนั้นก็เล่าให้ฟังมโหสถจึงถามขโมยว่า 

   "ท่านให้โคของท่านกินอาหารอะไรบ้าง


ขโมยตอบว่า 

   "ข้าพเจ้าให้กินงากินแป้งถั่วและยาคู


มโหสถถามชายเจ้าของโคชายนั้นก็ตอบว่า

  "ข้าพเจ้าให้โคกินหญ้าตามธรรมดา


มโหสถจึงให้เอาใบไม้มาตำให้โคกินแล้วให้กินน้ำโคก็สำรอกเอาหญ้าออกมาจึงเป็นอันทราบว่าใครเป็นเจ้าของโคที่แท้จริงพระเจ้าวิเทหราชได้ทราบเรื่องการตัดสินความของมโหสถก็ปรารถนาจะเชิญมโหสถาสู่ราชสำนักแต่บัณฑิตทั้งสี่ก็คอยทูลทัดทานไว้เรื่อยๆ


ทุกครั้งที่มโหสถแสดงสติปัญญาในการตัดสินคดีพระเจ้าวิเทหราชทรงทดลองสติปัญญามโหสถด้วยการตั้งปัญหาต่างๆก็ปรากฏว่ามโหสถแก้ปัญหาได้ทุกครั้งเช่นเรื่องท่อนไม้ที่เกลาได้เรียบเสมอกันพระเจ้าวิเทหราชทรงตั้งคำถามว่าข้างไหนเป็นข้างปลายข้างไหนเป็นข้างโคนมโหสถก็ใช้วิธีผูกเชือกกลางท่อนไม้นั้นแล้วหย่อนลงในน้ำทางโคนหนักก็จมลงส่วนทางปลายลอยน้ำเพราะน้ำหนักเบากว่าไม้มโหสถก็ชี้ได้ว่าทางไหนเป็นโคนทางไหนเป็นปลาย 


นอกจากนี้มโหสถยังแก้ปัญหาเรื่องต่างๆอีกเป็นอันมากจนในที่สุดพระราชาก็ไม่อาจทนรอตามคำทัดทานของบัณฑิตทั้งสี่อีกต่อไปจึงโปรดให้ราชบุรุษไปพาตัวมโหสถกับบิดามาเข้าเฝ้าพร้อมกับให้นำม้าอัสดรมาถวายด้วย


มโหสถทราบดีว่าครั้งนี้เป็นการทดลองสำคัญจึงนัดหมายการอย่างหนึ่งกับบิดาและในวันที่ไปเฝ้าพระราชามโหสถให้คนนำลามาด้วยหนึ่งตัวเมื่อเข้าไปถึงที่ประทับพระราชาโปรดให้สิริวัฒกะเศรษฐีนั่งบนที่อันสมควรแก่เกียรติยศครั้นเมื่อมโหสถเข้าไปสิริวัฒกะก็ลุกขึ้นเรียกบุตรชายว่า

  "พ่อมโหสถมานั่งตรงนี้เถิด


แล้วก็ลุกขึ้นจากที่นั่งมโหสถก็ตรงไปนั่งแทนที่บิดาผู้คนก็พากันมองดูอย่างตำหนิที่มโหสถทำเสมือนไม่เคารพบิดามโหสถจึงถามพระราชาว่า 

  "พระองค์ไม่พอพระทัยที่ข้าพเจ้านั่งแทนที่บิดาใช่หรือไม่


พระราชาทรงรับคำมโหสถจึงถามว่า 

    "ข้าพเจ้าขอทูลถามว่าธรรมดาบิดาย่อมดีกว่าบุตรสำคัญกว่าบุตรเสมอไปหรือ


พระราชาตรัสว่า 

  "ย่อมเป็นอย่างนั้นบิดาย่อมสำคัญกว่าบุตร


มโหสถทูลต่อว่า 

  "เมื่อข้าพเจ้ามาเฝ้าพระองค์มีพระกระแสรับสั่งว่าให้ข้าพเจ้านำม้าอัสดรมาถวายด้วยใช่ไหมพระเจ้าค่ะ"


พระราชาทรงรับคำมโหสถจึงให้คนนำลาที่เตรียมเข้ามาต่อพระพักตร์แล้วทูลว่า 

   "เมื่อพระองค์ตรัสว่าบิดาย่อมสำคัญกว่าบุตรลาตัวนี้เป็นพ่อของม้าอัสดรหากพระองค์ทรงเห็นเช่นนั้นจริงโปรดทรงรับลานี้ไปแทนม้าอัสดรเถิดพระเจ้าค่ะเพราะม้าอัสดรเกิดจากลานี้แต่ถ้าทรงเห็นว่าบุตรอาจดีกว่าบิดาก็ทรงรับเอาม้าอัสดรไปตามที่ทรงมีพระราชประสงค์ถ้าหากพระองค์เห็นว่าบิดาย่อมประเสริฐกว่าบุตรก็ทรงโปรดรับเอาบิดาของข้าพเจ้าไว้แต่หากทรงเห็นว่าบุตรอาจประเสริฐกว่าบิดาก็ขอให้ทรงรับข้าพเจ้าไว้


การที่มโหสถกราบทูลเช่นนั้นมิใช่จะลบหลู่ดูหมิ่นบิดาแต่เพราะประสงค์จะให้ผู้คนทั้งหลายตระหนักในความเป็นจริงของโลกและเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีผู้จงใจผูกขึ้นคือบัณฑิตทั้งสี่นั้นเอง 


พระราชาทรงพอพระทัยในปัญญาของมโหสถจึงตรัสแก่สิริวัฒกะเศรษฐีว่า 

   "ท่านเศรษฐีเราขอมโหสถไว้เป็นราชบุตรจะขัดข้องหรือไม่


เศรษฐีทูลตอบว่า 

   "ข้าแต่พระองค์มโหสถยังเด็กนักอายุเพิ่งขวบเอาไว้ให้โตเป็นผู้ใหญ่ก่อนน่าจะดีกว่าพระเจ้าค่ะ


พระราชาตรัสตอบว่า 

   "ท่านอย่าวิตกในข้อที่ว่ามโหสถยังอายุน้อยเลยมโหสถเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมยิ่งกว่าผู้ใหญ่จำนวนมากเราจะเลี้ยงมโหสถในฐานะราชบุตรของเราท่านอย่ากังวลไปเลย"


มโหสถจึงได้เริ่มรับราชการกับพระเจ้าวิเทหราชนับตั้งแต่นั้นมาตลอดเวลาที่อยู่ในราชสำนักมโหสถได้แสดงสติปัญญาและความสุขุมลึกซึ้งในการพิจารณาแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่พระราชาทรงผูกขึ้นลองปัญญามโหสถหรือที่บัณฑิตทั้งสี่พยายามสร้างขึ้นเพื่อให้มโหสถอับจนปัญญาแต่มโหสถก็แก้ปัญหาเหล่านั้นได้ทุกครั้งไป 


มิหนำซ้ำในบางครั้งมโหสถยังได้ช่วยให้บัณฑิตทั้งสี่นั้นรอดพ้นความอับจนแต่บัณฑิตเหล่านั้นมิได้กตัญญูรู้คุณที่มโหสถกระทำแก่ตนกลับพยายามทำให้พระราชาเข้าพระทัยว่ามโหสถด้อยปัญญาพยายามหาหนทางให้พระราชาทรงรังเกียจมโหสถเพื่อที่ตนจะได้รุ่งเรืองในราชสำนักเหมือนสมัยก่อน 


มโหสถรุ่งเรืองอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าวิเทหราชได้รับการสรรเสริญจากผู้คนทั้งหลายจนมีอายุได้16 ปีพระมเหสีของพระราชาผู้ทรงรักใคร่มโหสถเหมือนเป็นน้องชายทรงประสงค์จะหาคู่ครองให้แต่มโหสถขอพระราชทานอนุญาตเดินทางไปเสาะหาคู่ครองที่ตนพอใจด้วยตนเองพระมเหสีก็ทรงอนุญาต


มโหสถเดินทางไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งได้พบหญิงสาวคนหนึ่งเป็นลูกสาวเศรษฐีเก่าแก่แต่ได้ยากจนลงหญิงสาวนั้นชื่อว่าอมรมโหสถปลอมตัวเป็นช่างชุนผ้าไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาของนางและได้ทดลองสติปัญญาของนางด้วยประการต่างๆเป็นต้นว่าในครั้งแรกที่พบกันนั้น 


มโหสถถามนางว่า 

   "เธอชื่ออะไร


นางตอบว่า 

   "สิ่งที่ดิฉันไม่มีอยู่ทั้งในอดีตปัจจุบันและอนาคตนั่นแหล่ะเป็นชื่อของดิฉัน


มโหสถพิจารณาอยู่ครู่หนึ่งก็ตอบว่า 

   "ความไม่ตายเป็นสิ่งไม่มีอยู่ในโลกเธอชื่ออมร(ไม่ตายใช่ไหม" 


หญิงสาวตอบว่า"ใช่"


มโหสถถามต่อว่านางจะนำข้าวไปให้ใครนางตอบว่านำไปให้บุรพเทวดามโหสถก็ตีปริศนาออกว่าบุรพเทวดาคือเทวดาที่มีก่อนองค์อื่นๆได้แก่บิดามารดา 


เมื่อมโหสถได้ทดลองสติปัญญาและความประพฤติต่างๆของนางอมรจนเป็นที่พอใจแล้วจึงขอนางจากบิดามารดาพากลับไปกรุงมิถิลา 


เมื่อไปถึงยังเมืองก็ยังได้ทดลองใจนางอีกโดยมโหสถแสร้งล่วงหน้าไปก่อนแล้วแต่งกายงดงามรออยู่ในบ้านให้คนพานางมาพบกล่าวเกี้ยวพาราสีนางนางก็ไม่ยินดีด้วยมโหสถจึงพอใจนางจึงพาไปเฝ้าพระราชาและพระมเหสีพระราชาก็โปรดให้มโหสถแต่งงานอยู่กินกับนางอมรต่อมา 


บัณฑิตทั้งสี่ยังพยายามที่จะกลั่นแกล้งมโหสถด้วยประการต่างๆแต่ก็ไม่เป็นผลแม้ถึงขนาดพระราชาหลงเข้าพระทัยผิดขับไล่มโหสถออกจากวังมโหสถก็มิได้ขุ่นเคืองแต่ยังจงรักภักดีต่อพระราชาพระราชาจึงตรัสถามมโหสถว่า

   "เจ้าเป็นผู้มีสติปัญญาหลักแหลมยิ่งหากจะหวังช่วงชิงราชสมบัติจากเราก็ย่อมได้เหตุใดจึงไม่คิดการร้ายต่อเรา


มโหสถทูลตอบว่า 

   "บัณฑิตย่อมไม่ทำชั่วเพื่อให้ได้ความสุขสำหรับตนแม้จะถูกทับถมให้เสื่อมจากลาภยศก็ไม่คิดสละธรรมะด้วยความหลงในลาภยศหรือด้วยความรักความชังบุคคลนั่งนอนอยู่ใต้ร่มไม้ย่อมไม่ควรหักกิ่งต้นไม้นั้นเพราะจะได้ชื่อว่าทำร้ายมิตรบุคคลที่ได้รับการเกื้อหนุนอุปการะจากผู้ใดย่อมไม่ทำให้ไมตรีนั้นเสียไปด้วยความโง่เขลาหรือความหลงในยศอำนาจบุคคลผู้ครองเรือนหากเกียจคร้านก็ไม่งามนักบวชไม่สำรวมก็ไม่งามพระราชาขาดความพินิจพิจารณาก็ไม่งามบัณฑิตโกรธง่ายก็ไม่งาม


ไม่ว่าบัณฑิตทั้งสี่จะกลั่นแกล้งมโหสถอย่างใดมโหสถก็สามารถเอาตัวรอดได้ทุกครั้งและมิได้ตอบแทนความชั่วร้ายด้วยความชั่วร้ายแต่กลับให้ความเมตตากรุณาต่อบัณฑิตทั้งสี่เสมอมานอกจากจะทำหน้าที่พิจารณาเรื่องราวแก้ไขปัญหาต่างๆมโหสถยังได้เตรียมการป้องกันพระนครในด้านต่างๆให้พร้อมเสมอด้วยและยังจัดผู้คนไปอยู่ตามเมืองต่างๆเพื่อคอยสืบข่าวว่าจะมีบ้านเมืองใดมาโจมตีเมืองมิถิลาหรือไม่


มีพระราชาองค์หนึ่งทรงพระนามว่าจุลนีพรหมทัตครองเมืองอุตรปัญจาลประสงค์จะทำสงครามแผ่เดชานุภาพจึงทรงคิดการกับปุโรหิตชื่อเกวัฏพราหมณ์หมายจะลวงเอากษัตริย์ร้อยเอ็ดพระนครมากระทำสัตย์สาบานแล้วเอาสุราเจือยาพิษให้กษัตริย์เหล่านั้นดื่มจะได้รวบรวมพระนครไว้ในกำมือ 


มโหสถได้ทราบความลับจากนกแก้วที่ส่งออกไปสืบข่าวจึงหาทางช่วยชีวิตกษัตริย์ทั้งร้อยเอ็ดไว้ได้โดยที่กษัตริย์เหล่านั้นหารู้ตัวไม่พระเจ้าจุลนีทรงเห็นว่ามิถิลาเป็นเมืองเดียวที่ไม่ยอมทำสัตย์สาบานจึงยกทัพใหญ่มุ่งไปโจมตีมิถิลามีเกวัฏพราหมณ์เป็นที่ปรึกษาใหญ่แต่ไม่ว่าจะโจมตีด้วยวิธีใดมโหสถก็รู้ทันสามารถตอบโต้และแก้ไขได้ทุกครั้งไป 


ในที่สุดพระเจ้าจุลนีทรงส่งเกวัฏพราหมณ์มาประลองปัญญาทำสงครามธรรมกับมโหสถมโหสถออกไปพบเกวัฏพราหมณ์โดยนำเอาแก้วมณีค่าควรเมืองไปด้วยแสร้งบอกว่าจะยกให้พราหมณ์แต่เมื่อจะส่งให้ก็วางให้ที่ปลายมือพราหมณ์เกวัฏเกรงว่าแก้วมณจะตกจึงก้มลงรับแต่ก็ไม่ทันแก้วมณีตกลงไปกับพื้นเกวัฏก้มลงเก็บด้วยความโลภมโหสถจึงกดคอเกวัฏไว้ผลักให้กระเด็นไปแล้วให้ทหารร้องประกาศว่าเกวัฏปราหมณ์ก้มลงไหว้มโหสถแล้วถูกผลักไปด้วยความรังเกียจบรรดาทหารของพระเจ้าจุลนีมองเห็นแต่ภาพเกวัฏพราหมณ์ก้มลงแทบเท้าแต่ไม่ทราบว่าก้มลงด้วยเหตุใดก็เชื่อตามที่ทหารของมโหสถป่าวประกาศพากันกลัวอำนาจมโหสถถอยหนีไปไม่เป็นกระบวนกองทัพพระเจ้าจุลนีก็แตกพ่ายไป


เกวัฏพราหมณ์คิดพยาบาทมโหสถอยู่ไม่รู้หายจึงวางอุบายให้พระเจ้าจุลนีส่งทูตไปทูลพระเจ้าวิเทหราชว่าจะขอทำสัญญาไมตรีและขอถวายพระราชธิดาให้เป็นชายาพระเจ้าวิเทหราชทรงมีความยินดีจึงทรงตอบรับเป็นไมตรีพระเจ้าจุลนีก็ขอให้พระเจ้าวิเทหราชเสด็จมาอุตรปัญจาล 


มโหสถพยายามทูลคัดค้านพระราชาก็มิได้ฟังคำมโหสถก็เสียใจว่าพระราชาลุ่มหลงในสตรีแต่กระนั้นก็ยังคงจงรักภักดีจึงคิดจะแก้อุบายของพระเจ้าจุลนีมโหสถจึงทูลขออนุญาตไปจัดเตรียมที่ประทับให้พระราชอาคันตุกะในเมืองอุตรปัญจาลก็ได้รับอนุญาต 


มโหสถจึงให้ผู้คนไปจัดสร้างวังอันงดงามและที่สำคัญคือจัดสร้างอุโมงค์ใต้ดินเป็นทางเดินภายในอุโมงค์ประกอบด้วยกลไกและประตูลับต่างๆซับซ้อนมากมายเมื่อเสร็จแล้วมโหสถจึงทูลเชิญให้พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปยังอุตรปัญจาลขณะที่พระเจ้าวิเทหราชประทับอยู่ในวังรอที่จะอภิเษกกับพระธิดาพระเจ้าจุลนี 


พระเจ้าจุลนีทรงยกกองทหารมาล้อมวังไว้มโหสถซึ่งเตรียมการไว้แล้วก็ลอบลงไปทางอุโมงค์เข้าไปในปราสาทพระเจ้าจุลนีทำอุบายหลอกเอาพระชนนีพระมเหสีพระราชบุตรและราชธิดาพระเจ้าจุลนีมากักไว้ใต้วังที่สร้างขึ้นนั้นแล้วจึงกลังไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราชพระเจ้าวิเทหราชตกพระทัยว่ากองทหารมาล้อมวังตรัสปรึกษามโหสถมโหสถจึงทูลเตือนพระราชาว่า 

   "ข้าพระองค์ได้กราบทูลห้ามมิให้ทรงประมาทแต่ก็มิได้ทรงเชื่อพระราชบิดาพระเจ้าจุลนีนั้นประดุจเหยื่อที่นำมาตกปลาการทำไมตรีกับผู้ไม่มีศีลธรรมย่อมนำความทุกข์มาให้ธรรมดาบุคคลผู้มีปัญญาไม่พึงทำไมตรีสมาคมกับบุคคลผู้ไม่มีศีลซึ่งเปรียบเสมือนงูไว้วางใจมิได้ย่อมนำความเดือดร้อนมาสู่ไมตรีนั้นไม่มีทางสำเร็จผลได้


พระเจ้าวิเทหราชทรงเสียพระทัยที่ไม่ทรงเชื่อคำทัดทานของมโหสถแต่แรกมโหสถจัดการนำพระเจ้าวิเทหราชไปพบพระชนนีพระมเหสีและพระโอรสธิดาของพระเจ้าจุลนีที่ตนนำมาไว้ในอุโมงค์ใต้ดินแล้วจัดการให้กองทัพที่เตรียมไว้นำเสด็จกษัตริย์ทั้งหลายกลับไปมิถิลาส่วนตัวมโหสถเองอยู่เผชิญหน้ากับพระเจ้าจุลนี 


เมื่อพระเจ้าจุลนีเสด็จมาประกาศว่าจะจับพระเจ้าวิเทหราชมโหสถจึงบอกให้ทรงทราบว่าพระเจ้าวิเทหราชเสด็จกลับมิถิลาแล้วพร้อมด้วยพระราชวงศ์ของพระเจ้าจุลนีพระราชาก็ทรงตกพระทัยเกรงว่าพระญาติวงศ์จะเป็นอันตรายมโหสถจึงทูลว่าไม่มีผู้ใดจะทำอันตรายแล้วจึงทูลเชิญพระเจ้าจุลนีทอดพระเนตรวังและอุโมงค์ที่จัดเตรียมไว้อย่างวิจิตรงดงาม 


ขณะที่พระเจ้าจุลนีกำลังทรงเพลิดเพลินมโหสถก็ปิดประตูกลทั้งปวงและหยิบดาบที่ซ่อนไว้ทำทีว่าจะตัดพระเศียรพระราชาพระราชาตกพระทัยกลัวมโหสถจึงทูลว่า 

   "ข้าพระองค์จะไม่ทำร้ายพระราชาแต่หากจะฆ่าข้าพระองค์เพราะแค้นพระทัยข้าพระองค์ก็จะถวายดาบนี้ให้"


พระราชาเห็นมโหสถส่งดาบถวายก็ทรงได้สติเห็นว่ามโหสถนอกจากจะประกอบด้วยความสติปัญญาประเสริฐแล้วยังเป็นผู้ไม่มีจิตใจมุ่งร้ายพยาบาทผู้ใดพระเจ้าจุลนีจึงตรัสขออภัยที่ได้เคยคิดร้ายต่อเมืองมิถิลาต่อพระเจ้าวิเทหราชและต่อมโหสถ 


มโหสถจึงทูลลากลับไปมิถิลาจัดให้กองทหารนำเสด็จพระชนนีพระมเหสีและพระราชบุตรของพระเจ้าจุลนีกลับมายังอุตรปัญจาลส่วนราชธิดานั้นคงประทับอยู่มิถิลาในฐานะพระชายาพระเจ้าวิเทหราชต่อไป 


พระเจ้าจุลนีทรงตรัสขอให้มโหสถมาอยู่กับพระองค์มโหสถทูลว่า 

   "ข้าพระองค์รับราชการรุ่งเรืองในราชสำนักของพระเจ้าวิเทหราชผู้เป็นเจ้านายของข้าพระองค์แต่เดิมไม่อาจจะไปอยู่ที่อื่นได้หากเมื่อใดพระเจ้าวิเทหราชสวรรคตข้าพระองค์จะไปอยู่เมืองอุตรปัญจกาลรับราชการอยู่ในราชสำนักของพระองค์


เมื่อพระเจ้าวิเทหราชสิ้นพระชนม์มโหสถก็ทำตามที่ลั่นวาจาไว้คือไปรับราชการอยู่กับพระเจ้าจุลนีและยังถูกกลั่นแกล้งจากเกวัฏพราหมณ์คู่ปรับเก่าแต่มโหสถก็เอาตัวรอดได้ทุกครั้ง 


มโหสถนอกจากจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดแล้วยังประกอบด้วยคุณธรรมอันประเสริฐมีความสุขุมรอบคอบมิได้หลงใหลในลาภยศสรรเสริญดังนั้นมโหสถจึงได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็นบัณฑิตผู้มีความรู้อันลึกซึ้งมีสติปัญญานั้นประกอบด้วยคุณธรรมอันประเสริฐที่กำกับให้ผู้มีสติปัญญาประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร


 

 คติธรรมบำเพ็ญปัญญาบารมี

"ปัญญาอันล้ำเลิศนั้นย่อมทำคุณให้แก่บุคคลยิ่งกว่ามีทรัพย์นับแสนแม้มิมีปัญญาดั่งปราชญ์แต่ถ้าเป็นผู้รู้จักคิดให้รอบคอบก่อนก็ย่อมเป็นผู้มีปัญญาและประพฤติชอบแล้ว



ที่มาเพจDhammathai.org

 

~~~~~~~~~~~~

แสดงความคิดเห็น

0ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)
ฉันคือพลังงานจลน์ พลวัตเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น..