เพื่อยกระดับความรู้ สู่สังคมอุดมป้ญญา

วิธุรบัณฑิต : มหานิบาตชาดก ตอนที่ ๙

0



เพื่อบำเพ็ญสัจจบารมี [วิธุรชาดก (วิ)]


เรื่องโดยย่อ..

ในเมืองอินทปัตต์แคว้นกุรุพระราชาทรงพระนามว่าธนัญชัยทรงมีนักปราชญ์ประจำราชสำนักชื่อว่าวิธุรวิธุรเป็นผู้มีวาจาฉลาดหลักแหลมเมื่อจะกล่าวถ้อยคำสิ่งใดก็สามารถทำให้ผู้ฟังเกิดความเลื่อมใสครัทธราและชื่นชมยินดีในถ้อยคำนั้น 


ในครั้งนั้นมีพราหมณ์อยู่คนเคยเป็นเพื่อนสนิทกันมาแต่เก่าก่อนต่อมาพราหมณ์ทั้งสี่ได้ออกบวชเป็นฤษีบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าหิมพานต์และบางครั้งก็เข้ามาสั่งสอนธรรมแก่ผู้คนในเมืองบ้างครั้งหนึ่งมีเศรษฐีคนได้อัญเชิญฤาษีทั้งสี่ไปที่บ้านของตนเมื่อฤาษีบริโภคอาหารแล้วได้เล่าให้เศรษฐีฟังถึงสมบัติในเมืองต่างๆทีตนได้เคยไปเยือนมา 


ฤาษีองค์หนึ่งเล่าถึงสมบัติของพระอินทร์องค์ที่สองเล่าถึงสมบัติของพญานาคองค์ที่สามเล่าถึงสมบัติพญาครุฑและองค์สุดท้ายเล่าถึงสมบัติของพระราชาธนัญชัยแห่งเมืองอินทปัตต์เศรษฐีทั้งสี่ได้ฟังคำพรรณนาก็เกิดความเลื่อมใสอยากจะได้สมบัติเช่นนั้นบ้างต่างก็พยายามบำเพ็ญบุญให้ทานรักษาศีลและอธิษฐานขอให้ได้ไปเกิดเป็นเจ้าขอสมบัติดังที่ต้องการ 


ด้วยอำนาจแห่งบุญทานและศีลเมื่อสิ้นอายุแล้วเศรษฐีทั้งสี่ก็ได้ไปเกิดในที่ที่ตั้งความปรารถนาไว้คือคนหนึ่งไปเกิดเป็นท้าวสักกะเทวราชคนที่สองไปเกิดเป็นพญานาคชื่อว่าท้าววรุณคนที่สามไปเกิดเป็นพญาครุฑและคนที่สี่ไปเกิดเป็นโอรสพระเจ้าธนัญชัยครั้นเมื่อพระราชาธนัญชัยสวรรคตแล้วก็ได้ครองราชสมบัติในเมืองอินทปัตต์ต่อมา


ทั้งท้าวสักกะพญานาควรุณพญาครุฑและพระราชาล้วนมีจิตใจปรารถนาจะรักษาศีลบำเพ็ญธรรมต่างก็ได้แสวงหาโอกาสที่จะรักษาศีลอุโบสถและบำเพ็ญบุญให้ทานอยู่เป็นนิตย์ 


วันหนึ่งบุคคลทั้งสี่เผอิญได้มาพบกันที่สระโบกขรณีด้วยอำนาจแห่งความผูกพันที่มีมาตั้งแต่ครั้งยังเกิดเป็นเศรษฐีสี่สหายทั้งสี่คนจึงได้ทักทายปราศรัยกันด้วยไมตรีขณะกำลังสนทนาก็ได้เกิดถกเถียงกันขึ้นว่าศีลของใครประเสริฐที่สุด 


ท้าวสักกะกล่าวว่าพระองค์ทรงละทิ้งสมบัติทิพย์ในดาวดึงส์มาบำเพ็ญพรตอยู่ในมนุษย์โลกศีลของพระองค์จึงบริสุทธิกว่าผู้อื่น 


ฝ่ายพญานาควรุณกล่าวว่าธรรมดาครุฑนั้นเป็นศัตรูตัวร้ายของนาคเมื่อตนได้พบกับพญาครุฑกลับสามารถอดกลั้นความโกรธเคืองได้จึงนับว่าศีลของตนบริสุทธิ์กว่าผู้อื่น 


พญาครุฑกล่าวแย้งว่าธรรมดานาคเป็นอาหารของครุฑตนได้พบนาคแต่สามารถอดกลั้นความอยากในอาหารได้นับว่าศีลของตนประเสริฐที่สุด 

   

ส่วนพระราชาทรงกล่าวว่าพระองค์ได้ทรงละพระราชวังอันเป็นสถานที่สำราญพรั่งพร้อมด้วยเหล่านารีที่เฝ้าปรนนิบัติมาบำเพ็ญธรรมแต่ลำพังเพื่อประสงค์ความสงบดังนั้นจึงควรนับว่าศีลของพระองค์บริสุทธิ์ที่สุด 


ทั้งสี่ถกเถียงกันเป็นเวลานานแต่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้จึงชวนกันไปหาวิธุรบัณฑิตเพื่อให้ช่วยตัดสินวิธุรบัณฑิตจึงถามว่า

   "เรื่องราวเป็นมาอย่างไรกันข้าพเจ้าไม่อาจตัดสินได้หากไม่ทราบเหตุอันเป็นต้นเรื่องของปัญหาอย่างละเอียดชัดเจนเสียก่อน" 


แล้วทั้งสี่ก็เล่าถึงเรื่องราวทั้งหมดวิธุรบัณฑิตฟังแล้วก็ตัดสินว่า

   "คุณธรรมทั้งสี่ประการนั้นล้วนเป็นคุณธรรมอันเลิศทั้งสิ้นต่างอุดหนุนเชิดชูซึ่งกันและกันไม่มีธรรมข้อไหนต่ำต้อยกว่ากันหรือเลิศกว่ากันบุคคลใดตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมทั้งสี่นี้ถือได้ว่าเป็นสันติชนในโลก


ทั้งสี่เมื่อได้สดับคำตัดสินนั้นก็มีความชื่นชมยินดีในปัญญาของวิธุรบัณฑิตที่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุมีผลต่างคนต่างก็ได้บูชาความสามารถของวิธุรบัณฑิตด้วยของมีค่าที่เป็นสมบัติของตน 


เมื่อพญานาควรุณกลับมาถึงเมืองนาคพิภพพระนางวิมลามเหสีได้ทูลถามขึ้นว่า 

   "แก้วมณีที่พระศอของพระองค์หายไปไหนเพคะ" 


พญานาควรุณตอบว่า 

   "เราได้ถอดแก้วมณีออกให้กับวิธุรบัณฑิตผู้มีสติปัญญาเฉียบแหลมมีวาจาอันประกอบด้วยธรรมไพเราะจับใจเราเป็นอย่างยิ่งและไม่ใช่แต่เราเท่านั้นที่ได้ให้ของอันมีค่ายิ่งแก่วิธุรบัณฑิตทั้งท้าวสักกะเทวราชพญาครุฑและพระราชาต่างก็ได้มอบของมีค่าสูงเพื่อบูชาธรรมที่วิธุรบัณฑิตแสดงแก่เราทั้งหลาย" 


พระนางวิมลาทูลถามว่า 

   "ธรรมของวิธุรบัณฑิตนั้นไพเราะจับใจอย่างไร" 


พญานาคทรงตอบว่า 

   "วิธุรบัณฑิตเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมรู้หลักคุณธรรมอันลึกซึ้งและสามารถแสดงธรรมเหล่านั้นได้อย่างไพเราะจับใจทำให้ผู้ฟังเกิดความชื่นชมยินดีในสัจจะแห่งธรรมนั้น" 


พระนางวิมลาได้ฟังดังนั้นก็เกิดความปราถนาจะได้ฟังวิธุรบัณฑิตแสดงธรรมบ้างจึงทรงทำอุบายว่าเป็นไข้เมื่อพญานาควรุณทรงทราบก็เสด็จไปเยี่ยมตรัสถามว่า 

   "พระนางป่วยเป็นโรคใดทำอย่างไรจึงจะหายจากโรคได้"


พระนางวิมลาทูลตอบว่า 

   "หม่อมฉันไม่สบายอย่างยิ่งถ้าจะให้หายจากอาการก็ขอได้โปรดประทานหัวใจวิธุรบัณฑิตให้หม่อมฉันด้วยเถิด


พญานาคได้ฟังก็ตกพระทัยตรัสว่าวิธุรบัณฑิตเป็นที่รักใคร่ของผู้คนทั้งหลายยิ่งนักคงจะไม่มีผู้ใดสามารถล่วงล้ำเข้าไปเอาหัวใจวิธุรบัณฑิตมาได้พระนางวิมลาก็แสร้งทำเป็นอาการป่วยกำเริบหนักขึ้นอีกพญานาควรุณก็ทรงกลัดกลุ้มพระทัยอย่างยิ่ง 


ฝ่ายนางอริทันตีธิดาพญานาคเห็นพระบิดาวิตกกังวลจึงถามถึงเหตุที่เกิดขึ้นพญานาควรุณก็เล่าให้นางฟังนางอริทันตีจึงทูลว่านางประสงค์จะช่วยให้พระมารดาได้สิ่งที่ต้องการให้จงได้นางอริทันตีจึงป่าวประกาศให้บรรดาคนธรรพ์นาคครุฑมนุษย์กินนรทั้งปวงได้ทราบว่าหากผู้ใดสามารถนำหัวใจวิธุรบัณฑิตมาให้นางได้นางจะยอมแต่งงานด้วย 


ขณะนั้นปุณณกยักษ์ผู้เป็นหลานของท้าวเวสุวัณมหาราชผ่านมาได้เห็นนางก็นึกรักอยากจะได้นางเป็นชายาจึงเข้าไปหานางและบอกกับนางว่า 

"เราชื่อปุณณกยักษ์ประสงค์จะได้นางมาเป็นชายาจงบอกแก่เราเถิดว่าวิธุรบัณฑิตเป็นใครอยู่ที่ไหนเราจะนำหัวใจของเขามาให้นาง"


เมื่อปุณณกยักษ์ได้ทราบว่าวิธุรบัณฑิตเป็นมหาราชครูในราชสำนักพระเจ้าธนัญชัยจึงดำริว่า 

   "หากเราต้องการตัววิธุรบัณฑิตจะไปพามาง่ายๆนั้นคงไม่ได้ทางที่ดีเราจะต้องท้าพนันสกากับพระเจ้าธนัญชัยโดยเอาวิธุรบัณฑิตเป็นสิ่งเดิมพันด้วยวิธีนี้เราคงจะเอาตัววิธุรบัณฑิตมาได้" 


คิดดังนั้นแล้วปุณณกยักษ์ก็ไปสู่ราชสำนักของพระราชาธนัญชัยและทูลพระราชาว่า 

   "ข้าพระองค์มาท้าพนันสกาหากพระองค์ชนะข้าพเจ้าข้าพเจ้าจะถวายแก้วมณีวิเศษอันเป็นสมบัติสำหรับพระจักรพรรดิกับจะถวายม้าวิเศษคู่บุญจักรพรรดิ


พระราชาธนัญชัยทรงปรารถนาจะได้แก้วมณีและม้าแก้วอันเป็นของคู่บุญจักรพรรดิจึงตอบปุณณกยักษ์ว่าพระองค์ยินดีจะเล่นพนันสกาด้วยปุณณกยักษ์ก็ทูลถามว่าหากพระราชาแพ้พนันจะให้อะไรเป็นเดิมพัน 


พระราชาก็ทรงตอบว่า 

   "ยกเว้นตัวเราเศวตฉัตรและมเหสีแล้วเจ้าจะเอาอะไรเป็นเดิมพันเราก็ยินยอมทั้งสิ้น


ปุณณกยักษ์พอใจคำตอบจึงตกลงเริ่มทอดสกาพนันปรากฏว่าพระราชาทรงทอดสกาแพ้ปุณณกยักษ์จึงทวงทรัพย์เดิมพันโดยทูลพระราชาว่า 

   "ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาทรัพย์สมบัติใดๆทั้งสิ้นขอแต่วิธุรบัณฑิตแต่ผู้เดียวเป็นรางวัลเดิมพันสกา


พระราชาตกพระทัยตรัสกับปุณณกยักษ์ว่า 

   "อันวิธุรบัณฑิตนั้นก็เปรียบได้กับตัวเราเองเราบอกแล้วว่ายกเว้นตัวเราเศวตฉัตรและมเหสีแล้วเจ้าจะขออะไรก็จะให้ทั้งนั้น


ปุณณกยักษ์ทูลว่า 

   "เราอย่ามาโต้เถียงกันเลยขอให้วิธุรบัณฑิตเป็นผู้ตัดสินดีกว่า"


เมื่อพระราชาให้ไปตามวิธุรบัณฑิตมาปุณณกยักษ์ก็ถามว่า 

   "ท่านเป็นทาสของพระราชาหรือว่าท่านเสมอกับพระราชาหรือสูงกว่าพระราชา"


วิธุรบัณฑิตตอบว่า 

   "ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระราชาพระราชาตรัสสิ่งใดข้าพเจ้าก็จะทำตามถึงแม้ว่าพระองค์จะพระราชทานข้าพเจ้าเป็นค่าพนันข้าพเจ้าก็จะยินยอมโดยดี" 


พระราชาได้ทรงฟังวิธุรบัณฑิตตอบดังนั้นก็เสียพระทัยว่าวิธุรบัณฑิตไม่เห็นแก่พระองค์กลับไปเห็นแก่ปุณณกยักษ์ซึ่งไม่เคยได้พบกันมาก่อนเลย 


วิธุรบัณฑิตจึงทูลว่า 

   "ข้าพระองค์จักพูดในสิ่งที่เป็นจริงสิ่งที่เป็นธรรมเสมอข้าพระองค์จักไม่หลีกเลี่ยงความเป็นจริงเป็นอันขาดวาจาอันไพเราะนั้นจะมีค่าก็ต่อเมื่อประกอบด้วยหลักธรรม"


พระราชาได้ฟังก็ทรงเข้าพระทัยแต่ก็มีความโทมนัสที่จะสูญเสียวิธุรบัณฑิตไปจึงขออนุญาตปุณณกยักษ์ให้วิธุรบัณฑิตได้แสดงธรรมแก่พระองค์เป็นครั้งสุดท้ายปุณณกยักษ์ก็ยินยอมวิธุรบัณฑิตจึงได้แสดงธรรมของผู้ครองเรือนถวายแด่พระราชาครั้นเมื่องแสดงธรรมเสร็จแล้วปุณณกยักษ์ก็สั่งให้วิธุรบัณฑิตไปกับตนเพราะพระราชาได้ยกให้เป็นสินพนันแก่ตนแล้ว


วิธุรบัณฑิตจึงกล่าวแก่ปุณณกยักษ์ว่า 

   "ขอให้ข้าพเจ้ามีเวลาสั่งสอนบุตรและภรรยาสักสามวันก่อนท่านก็ได้เห็นแล้วว่าข้าพเจ้าพูดแต่ความเป็นจริงพูดโดยธรรมมิได้เห็นแก่ผู้ใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดยิ่งไปกว่าธรรมท่านได้เห็นแล้วว่าข้าพเจ้ามีคุณแก่ท่านในการที่ทูลความเป็นจริงแก่พระราชาฉะนั้นขอให้ท่านยินยอมตามความประสงค์ของข้าพเจ้าเถิด"


ปุณณกยักษ์ได้ฟังดังนั้นก็เห็นจริงในถ้อยคำที่วิธุรบัณฑิตกล่าวจึงยินยอมที่จะพักอยู่เป็นเวลาสามวันเพื่อให้วิธุรบัณฑิตมีเวลาสั่งสอนบุตรภรรยา 


วิธุรบัณฑิตจึงเรียกบุตรภรรยามาเล่าให้ทราบความที่เกิดขึ้นแล้วจึงสอนบุตรธิดาว่า 

   "เมื่อพ่อไปจากราชสำนักพระราชาธนัญชัยแล้วพระองค์อาจจะทรงไต่ถามเจ้าทั้งหลายว่าพ่อได้เคยสั่งสอนธรรมอันใดไว้บ้างเมื่อพวกเจ้ากราบทูลพระองค์ไปหากเป็นที่พอพระทัยก็อาจจะตรัสอนุญาตให้เจ้านั่งเสมอพระราชอาสน์เจ้าจงจดจำไว้ว่าราชสกุลนั้นจะมีผู้ใดเสมอมิได้เป็นอันขาดจงทูลปฏิเสธพระองค์และนั่งอยู่ในที่อันควรแก่ฐานะของตน"


จากนั้นวิธุรบัณฑิตก็แสดงธรรมชื่อว่าราชวสดีธรรมอันเป็นธรรมสำหรับข้าราชการจะพึงปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานและเพื่อเป็นหลักสำหรับยึดถือในการปฏิบัติหน้าที่และการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น 


วิธุรบัณฑิตกล่าวในที่สุดว่า

   "เป็นข้าราชการต้องเป็นผู้สุขุมรอบคอบฉลาดในราชกิจสามารถจัดการต่างๆให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อยรู้จักกาลรู้จักสมัยว่าควรปฏิบัติอย่างไร"


เมื่อได้แสดงราชวสดีธรรมแล้ววิธุรบัณฑิตจึงได้ออกเดินทางไปกับปุณณกยักษ์ในระหว่างทางปุณณยักษ์คิดว่าเราเอาแต่หัวใจของวิธุรบัณฑิตไปคงจะสะดวกกว่าพาไปทั้งตัวคิดแล้วก็พยายามจะฆ่าวิธุรบัณฑิตด้วยวิธีต่างๆแต่ก็ไม่เป็นผลในที่สุด 


วิธุรบัณฑิตจึงถามว่า 

   "ความจริงท่านเป็นใครท่านต้องการจะฆ่าข้าพเจ้าทำไม


ปุณณกยักษ์จึงเล่าความเป็นมาทั้งหมดวิธุรบัณฑิตหยั่งรู้ได้ด้วยปัญญาว่าที่แท้นั้นพระนางวิมลาปราถนาจะได้ฟังธรรมอันเป็นที่เลื่องลือของตนเท่านั้นจึงคิดว่าควรจะแสดงธรรมแก่ปุณณกยักษ์เพื่อมิให้หลงผิดกระทำการอันมิควรกระทำ 


ครั้นแล้ววิธุรบัณฑิตจึงได้แสดงธรรมชื่อว่าสาธุนรธรรมธรรมของคนดีแก่ปุณณกยักษ์มีใจความว่าบุคคลที่มีอุปการคุณชื่อว่าเป็นเผาฝ่ามืออันชุ่มเสียแลัวยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ประทุษร้ายต่อมิตรด้วยอนึ่งไม่ควรตกอยู่ในอำนาจของสตรีที่ประพฤติการอันไม่สมควรปุณณกยักษ์ได้ฟังธรรมก็รู้สึกในความผิดว่าวิธุรบัณฑิตมีอุปการคุณแก่ตนไม่ควรจะกระทำร้ายหรือแม้แต่คิดร้ายต่อวิธุรบัณฑิตปุณณกยักษ์จึงตัดสินใจว่าจะพาวิธุรบัณฑิตกลับไปยังอินทปัตต์ตนเองจะไม่ตั้งความปรารถนาในนางอริทันตีอีกต่อไปแล้ว 


เมื่อวิธุรบัณฑิตทราบถึงการตัดสินใจของปุณณกยักษ์จึงกล่าวว่า 

   "นำข้าพเจ้าไปนาคพิภพเถิดข้าพเจ้าไม่เกรงกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นข้าพเจ้าไม่เคยทำความชั่วไว้ในที่ใดจึงไม่เคยรู้สึกกลัวว่าความตายจะมาถึงเมื่อไร" 


 ปุณณกยักษ์จึงนำวิธุรบัณฑิตไปเฝ้าพญานาควรุณในนาคพิภพ 


เมื่ออยู่ต่อหน้าพญานาควรุณวิธุรบัณฑิตทูลถามว่าสมบัติในนาคพิภพนี้พญานาควรุณได้มาอย่างไรพญานาควรุณตรัสตอบว่าได้มาด้วยผลบุญเมื่อครั้งที่ได้บำเพ็ญธรรมรักษาศีลและให้ทานในชาติก่อนที่เกิดเป็นเศรษฐี 


วิธุรบัณฑิตจึงทูลว่าถ้าเช่นนั้นก็แสดงว่าพญานาควรุณทรงตระหนักถึงกรรมและผลแห่งกรรมดีขอให้ทรงประกอบกรรมดีต่อไปแม้ว่าในเมืองนาคนี้จะไม่มีสมณชีพราหมณ์ที่พญานาคจะบำเพ็ญทานได้ก็ขอให้ทรงมีเมตตาแก่บุคคลทั้งหลายในเมืองนาคนี้อย่าได้ประทุษร้ายแก่ผู้ใดเลยหากกระทำได้ดังนั้นก็จะได้เสด็จไปสู่เทวโลกที่ดียิ่งกว่านาคพิภพนี้ 


พญานาควรุณได้ฟังธรรมอันประกอบด้วยวาจาไพเราะของวิธุรบัณฑิตก็มีความพอพระทัยเป็นอันมากและตรัสให้พาพระนางวิมลามาพบวิธุรบัณฑิตเมื่อพระนางทอดพระเนตรเห็นวิธุรบัณฑิตก็ได้ถามว่า 

   "ท่านตกอยู่ในอันตรายถึงเพียงนี้เหตุใดจึงไม่มีอาการเศร้าโศกหรือหวาดกลัวแต่อย่างใด" 


วิธุรบัณฑิตทูลตอบว่า 

   "ข้าพเจ้าไม่เคยทำความชั่วจึงไม่กลัวความตายข้าพเจ้ามีหลักธรรมและมีปัญญาเป็นเครื่องประกอบตัวจึงไม่หวั่นเกรงภัยใดๆทั้งสิ้น" 


พญานาควรุณและพระนางวิมลาพอพระทัยในปัญญาและความมั่นคงในธรรมของวิธุรบัณฑิต 


พญานาควรุณจึงตรัสว่า 

   "ปัญญานั้นแหละคือหัวใจของบัณฑิตหาใช่หัวใจที่เป็นเลือดเนื้อไม่


จากนั้นพญานาควรุณก็ได้ยกนางอริทันตีให้แก่ปุณณกยักษ์ผู้ซึ่งมีดวงตาสว่างไสวขึ้นด้วยธรรมของวิธุรบัณฑิตพ้นจากความหลงในสตรีคือนางอริทันตีแล้วสั่งให้ปุณณกยักษ์พาวิธุรบัณฑิตไปส่งยังสำนักของพระราชาธนัญชัย


พระราชาทรงโสมนัสยินดีอย่างยิ่งตรัสถาวิธุรบัณฑิตถึงความเป็นไปทั้งหลายวิธุรบัณฑิตจึงทูลเล่าเรื่องราวทั้งสิ้นและกราบทูลในที่สุดท้ายว่า

   ธรรมเป็นสิ่งสูงสุดบุคคลผู้มีธรรมและปัญญาย่อมไม่หวั่นเกรงภยันตรายย่อมสามารถเอาชนะภยันตรายทั้งปวงด้วยคุณธรรมและด้วยปัญญาของตนการแสดงธรรมแก่บุคคลทั้งหลายนั้นคือการแสดงความจริงให้ประจักษ์ด้วยปัญญา"

 

 

คติธรรม บำเพ็ญสัจจบารมี

"เหตุแห่งความพิบัติคือการพนันและการมีเมตตาจิตย่อมส่งผลให้ได้รับเมตตาจิตตอบด้วยในที่สุด



ที่มา : เพจ Dhammathai.org 

 

~~~~~~~~~~~~

แสดงความคิดเห็น

0ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)
ฉันคือพลังงานจลน์ พลวัตเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น..