[๙๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้นแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วได้กรานกฐิน พวกเธอผู้ได้กรานกฐินแล้วจักได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ
๑. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
๓. ฉันคณะโภชน์ได้
๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
๕. จีวรอันเกิดขึ้นณที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ
ดูกรภิกษุทั้งหลายอานิสงส์๕ประการนี้จักได้แก่เธอทั้งหลายผู้ได้กรานกฐินแล้ว.
วิธีกรานกฐิน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้ผ้ากฐิน -
"ท่านเจ้าข้าขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้เพื่อกรานกฐินนี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้าขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์สงฆ์ให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้เพื่อกรานกฐินการให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้เพื่อกรานกฐินชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่งไม่ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูด
ผ้ากฐินผืนนี้สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้เพื่อกรานกฐินชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้"
ข้อความบางตอน ในกฐินขันธกะ พระวินัยปิฎก มหาวรรค พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕
https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=5&A=2648
--------------------------------
วิธีกราน -
อันภิกษุผู้กรานพึงถือเอาผ้ากฐินที่ทำเสร็จสรรพแล้วกรานกฐินตามวิธีท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์บริวารมีคำเป็นต้นว่าถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยสังฆาฏิพึงถอนสังฆาฏิเก่าอธิษฐานสังฆาฏิใหม่พึงลั่นวาจาว่าข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยสังฆาฏินี้ก็แลครั้นกรานแล้วพึงให้ภิกษุทั้งหลายอนุโมทนาตามวิธีที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์บริวารมีคำเป็นอาทิอย่างนี้แลว่าภิกษุผู้กรานกฐินนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์กระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่งประณมมือกล่าวอย่างนี้ว่าอตฺถตํภนฺเตสงฺฆสฺสกฐินํธมฺมิโกกฐินตฺถาโรอนุโมทถท่านเจ้าข้ากฐินของสงฆ์กรานแล้วการกรานกฐินเป็นธรรมขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด, ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านี้พึงทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่งประณมมือกล่าวอย่างนี้ว่าผู้มีอายุกฐินของสงฆ์กรานแล้วการกรานกฐินเป็นธรรมเราอนุโมทนา; ฝ่ายพวกภิกษุนอกนี้พึงอนุโมทนากฐินเป็นภิกษุทุกๆรูปกรานแล้วด้วยประการอย่างนี้.
แท้จริงในคัมภีร์บริวารท่านกล่าวว่ากฐินเป็นอันบุคคลสองฝ่ายคือผู้กรานหนึ่งผู้อนุโมทนาหนึ่งกรานแล้ว. ทั้งได้กล่าวไว้อีกว่าสงฆ์หาได้กรานกฐินไม่คณะหาได้กรานกฐินไม่บุคคลกรานกฐิน; แต่พระสงฆ์อนุโมทนาเพราะคณะอนุโมทนาเพราะบุคคลกรานกฐินได้ชื่อว่าสงฆ์ได้กรานคณะได้กรานบุคคลได้กราน.
ก็เมื่อกฐินกรานแล้วอย่างนั้นถ้าแลพวกทายกถวายอานิสงส์ที่นำมาพร้อมกับกฐินจีวรว่าภิกษุรูปใดได้รับผ้ากฐินของพวกข้าพเจ้าพวกข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุรูปนั้นดังนี้ภิกษุสงฆ์ไม่เป็นใหญ่. ถ้าเขาไม่ทันได้สั่งเสียไว้ถวายแล้วก็ไปภิกษุสงฆ์เป็นใหญ่; เพราะเหตุนั้นถ้าแม้จีวรที่เหลือทั้งหลายของภิกษุผู้กรานเป็นของชำรุดสงฆ์พึงอปโลกน์ให้ผ้าเพื่อประโยชน์แก่จีวรแม้เหล่านั้น. ส่วนกรรมวาจาคงใช้ได้ครั้งเดียวเท่านั้น. ผ้าอานิสงส์กฐินที่ยังเหลือพึงแจกกันโดยลำดับแห่งผ้าจำนำพรรษา. เพราะไม่มีลำดับพึงแจกตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา. คุรุภัณฑ์ไม่ควรแจก. แต่ถ้าในสีมาเดียวมีหลายวิหารต้องให้ภิกษุทั้งปวงประชุมกรานกฐินในที่เดียวกัน; จะกรานกันเป็นแผนกๆไม่ควร.
...................
ข้อความบางตอน ในอรรถกถากฐินขันธกะ https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=95
หมายเหตุ : ในอรรถกถากฐินขันธกะ
คำว่า “ถวายอานิสงส์” ในข้อความว่า “พวกทายกถวายอานิสงส์ที่นำมาพร้อมกับกฐินจีวร” และคำว่า “จีวรที่เหลือ” ในข้อความว่า “ถ้าแม้จีวรที่เหลือทั้งหลายของภิกษุผู้กรานเป็นของชำรุดสงฆ์พึงอปโลกน์ให้ผ้าเพื่อประโยชน์แก่จีวรแม้เหล่านั้น” หมายถึง ผ้าบริวารกฐิน
คำว่า “ผ้าอานิสงส์กฐินที่ยังเหลือ” ในข้อความว่า “ผ้าอานิสงส์กฐินที่ยังเหลือพึงแจกกันโดยลำดับแห่งผ้าจำนำพรรษา” และคำว่า “ครุภัณฑ์ไม่ควรแจก” คำเหล่านี้ บอกให้รู้ว่าสิ่งของอื่นนอกจากผ้ากฐิน ยังมีผ้าอื่นๆ ครุภัณฑ์ เป็นต้นรวมเรียกว่า อานิสงส์กฐินบ้าง คนไทยนิยมเรียกว่า บริวาร เพราะเป็นของร่วมกับผ้ากฐิน
...............