เพื่อยกระดับความรู้ สู่สังคมอุดมป้ญญา

มหาชนก : มหานิบาตชาดก ตอนที่ ๒

0



บำเพ็ญวิริยบารมี - มหาชนกชาดก (ชะ)

เป็นเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก อันเป็นชาดก 10 ชาติสุดท้าย ก่อนที่พระโพธิสัตว์จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า



เรื่องโดยย่อ..

เมืองมิถิลา แห่งรัฐวิเทหะ พระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า พระเจ้ามหาชนกชนกและเจ้าโปลชนก เจ้าอริฏฐชนกทรงเป็นอุปราช ส่วนเจ้าโปลชนกทรงเป็นเสนาบดี 


เมื่อพระราชบิดาสวรรคต เจ้าอริฏฐชนกผู้เป็นอุปราช ก็ได้ครองบ้านเมืองต่อมา เจ้าโปลชนกทรงเป็นอุปราชทรงเอาใจใส่ดูแลบ้านเมืองช่วยเหลือพระเชษฐาอย่างดียิ่ง มีอำมาตย์คนหนึ่งไม่พอใจพระเจ้าโปลชนก จึงหาอุบายให้พระราชาอริฏฐชนกระแวงพระอนุชาโดยทูลพระราชาว่า เจ้าโปลชนกคิดขบถจะปลงพระชนม์พระราชา พระราชาทรงเชื่อคำอำมาตย์จึงให้จับเจ้าโปลชนกไปขังไว้

 

เจ้าโปลชนกเสด็จหนีไปจากที่คุมขัง ได้หลบไปอยู่ที่ชายแดนเมืองมิถิลาเจ้าโปลชนกทรงคิดว่าเมื่อครั้งที่ยังเป็นอุปราชนั้นมิได้เคยคิดร้ายต่อพระราชาผู้เป็นพี่เลยแต่ก็ยังถูกระแวงจนต้องหนีมาถ้าพระราชาทรงรู้ว่าอยู่ที่ไหนก็คงให้ทหารมาจับไปอีกจนได้บัดนี้ผู้คนมากมายที่ชายแดนที่เห็นใจและพร้อมที่จะเข้าเป็นพวกด้วยควรที่จะรวบรวมผู้คนไปโจมตีเมืองมิถิลาเสียก่อนจึงจะดีกว่า

 

เมื่อคิดดังนั้นแล้ว เจ้าโปลชนกก็พาสมัครพรรคพวกยกเป็นกองทัพไปล้อมเมืองมิถิลาบรรดาทหารแห่งเมืองมิถิลาพากันเข้ากับเจ้าโปลชนกอีกเป็นจำนวนมากเพราะเห็นว่าเจ้าโปลชนกเป็นผู้ซื่อสัตย์และมีความสามารถแต่กลับถูกพระราชาระแวงและจับไปขังไว้โดยไม่ยุติธรรม

 

ครั้นเมื่อ เจ้าโปลชนกมีผู้คนไพร่พลเข้าสมทบด้วยเป็นจำนวนมากมายเช่นนี้ พระเจ้าอริฏฐชนกทรงเห็นว่าไม่มีทางจะเอาชนะได้จึงตรัสสั่งพระมเหสีซึ่งกำลังทรงครรภ์แก่ให้ทรงหลบหนีเอาตัวรอด ส่วนพระองค์เองทรงออกทำสงครามและสิ้นพระชนม์ในสนามรบเจ้าโปลชนกจึงทรงได้เป็นกษัตริย์ครองเมืองมิถิลาสืบต่อมา

 

ฝ่ายพระมเหสีของพระเจ้าอริฏฐชนกเสด็จหนีออกจากเมืองมา ตั้งพระทัยจะเสด็จไปอยู่เมืองกาลจัมปากะแต่กำลังทรงครรภ์แก่เดินทางไม่ไหวด้วยเดชานุภาพแห่งพระโพธิสัตว์ซึ่งอยู่ในพระครรภ์พระอินทร์จึงเสด็จมาช่วยทรงแปลงกายเป็นชายชราขับเกวียนมาที่ศาลาที่พระนางพักอยู่และถามขึ้นว่า 

    "มีใครจะไปเมืองกาลจัมปากะบ้าง


พระนางดีพระทัยรีบตอบว่า "ลุงจ๋าฉันจะไปจ๊ะ


พระอินทร์แปลงจึงรับพระนางขึ้นเกวียนพาเดินทางไปเมืองกาลจัมปากะด้วยอานุภาพเทวดาแม้ระยะทางไกลถึง 60 โยชน์เกวียนนั้นก็เดินทางไปถึงเมืองในชั่ววันเดียว

 

พระมเหสีเสด็จไปนั่งพักอยู่ในศาลาแห่งหนึ่งในเมืองนั้นบังเอิญมีพราหมณ์ทิศาปาโมกข์ผู้หนึ่งเดินผ่านมาเห็นพระนางเข้าก็เกิดความเอ็นดูสงสารจึงเข้าไปไต่ถามพระนางก็ตอบว่าหนีมาจากเมืองมิถิลาและไม่มีญาติพี่น้องอยู่ที่เมืองนี้เลยพราหมาณ์ทิศาปาโมกข์จึงรับพระนางไปอยู่ด้วยที่บ้านของตนอุปการะเลี้ยงดูพระนางเหมือนเป็นน้องสาวไม่นานนักพระนางก็ประสูติพระโอรสทรงตั้งพระนามว่ามหาชนกกุมารซึ่งเป็นพระนามของพระอัยกาของพระกุมารมหาชนกกุมารทรงเติบโตขึ้นในเมืองกาลจัมปากะมีเพื่อนเล่นเด็กๆ วัยเดียวกันเป็นจำนวนมาก

 

วันหนึ่งมหาชนกกุมารโกรธกับเพื่อนเล่นจึงลากเด็กคนนั้นไปด้วยกำลังมหาศาลเด็กก็ร้องไห้บอกกับคนอื่นๆว่าลูกหญิงม่ายรังแกเอามหาชนกกุมารได้ยินก็แปลกพระทัยจึงไปถามพระมารดาว่า

    "ทำไมเพื่อนๆพูดว่าลูกเป็นลูกแม่ม่ายพ่อของลูกไปไหน"


พระมารดาตอบว่า
    "
ก็ท่านพราหมณ์ทิศาปาโมกข์นั่นแหล่ะเป็นพ่อของลูก


เมื่อมหาชนกกุมารไปบอกเพื่อนเล่นทั้งหลายเด็กเหล่านั้นก็หัวเราะเยาะบอกว่า
    "
ไม่จริงท่านอาจารย์ทิศาปาโมกข์ไม่ใช่พ่อของเจ้า


มหาชนกก็กลับมาทูลพระมารดาอ้อนวอนให้บอกความจริงพระมารดาขัดไม่ได้จึงตรัสเล่าเรื่องทั้งหมดให้พระโอรสทรงทราบ

 

เมื่อพระกุมารทราบว่าพระองค์ทรงมีความเป็นมาอย่างไรก็ทรงตั้งพระทัยว่าจะร่ำเรียนวิชาการเพื่อให้มีความรู้ความสามารถจะได้เสด็จไปเอาราชสมบัติเมืองมิถิลาคืนมา

 

ครั้นมหาชนกกุมารร่ำเรียนวิชาในสำนักพราหมณ์จนเติบใหญ่พระชนม์ได้ 16 พรรษาจึงทูลพระมารดาว่า
    "
หม่อมฉันจะเดินทางไปค้าขายเมื่อมีทรัพย์สินมากพอแล้วจะได้คิดอ่านเอาบ้านเมืองคืนมา


พระมารดาทรงนำเอาทรัพย์สินมีค่ามาจากมิถิลาสิ่งคือแก้วมณีแก้วมุกดาและแก้ววิเชียรอันมีราคามหาศาลจึงประทานแก้วนั้นให้พระมหาชนกเพื่อนำไปซื้อสินค้า

 

พระมหาชนกทรงจัดซื้อสินค้าบรรทุกลงเรือร่วมไปกับพ่อค้าชาวสุวรรณภูมิในระหว่างทางเกิดพายุใหญ่โหมกระหน่ำคลื่นซัดจนเรือจวนจะแตกบรรดาพ่อค้าและลูกเรือพากันตระหนกตกใจบวงสรวงอ้อนวอนเทพยดาขอให้รอดชีวิต

 

ฝ่ายมหาชนกกุมารเมื่อทรงทราบว่าเรือจะจมแน่แล้วก็เสวยอาหารจนอิ่มหนำทรงนำผ้ามาชุบน้ำมันจนชุ่มแล้วนุ่งผ้านั้นอย่างแน่นหนา

 

ครั้นเมื่อเรือจมลงเหล่าพ่อค้ากลาสีเรือทั้งปวงก็จมน้ำกลายเป็นอาหารของสัตว์น้ำไปหมดแต่พระมหาชนกทรงมีกำลังจากอาหารที่เสวยมีผ้าชุบน้ำมันช่วยไล่สัตว์น้ำและช่วยให้ลอยตัวอยู่ในน้ำได้ดีจึงทรงแหวกว่ายอยู่ในทะเลได้นานถึงวัน

 

ฝ่ายนางมณีเมขลาเทพธิดาผู้รักษามหาสมุทรเห็นพระมหาชนกว่ายน้ำอยู่เช่นนั้นจึงลองพระทัยพระมหาชนก 

    "ใครหนอว่ายน้ำอยู่ได้ถึงวันทั้งๆที่มองไม่เห็นฝั่งจะทนว่ายไปทำไมกัน


พระมหาชนกทรงตอบว่า

     "ความเพียรย่อมมีประโยชน์แม้จะมองไม่เห็นฝั่งเราก็จะว่ายไปจนกว่าจะถึงฝั่งเข้าสักวันหนึ่ง" 


นางมณีเมขลากล่าวว่า 

     "มหาสมุทรนี้กว้างใหญ่นักท่านจะพยายามว่ายสักเท่าไรก็คงไม่ถึงฝั่งท่านคงจะตายเสียก่อนเป็นแน่"


พระมหาชนกตรัสตอบว่า 

      "คนที่ทำความเพียรนั้นแม้จะต้องตายไปในขณะกำลังทำความเพียรพยายามอยู่ก็จะไม่มีผู้ใดมาตำหนิติเตียนได้เพราะได้ทำหน้าที่เต็มกำลังแล้ว


นางมณีเมขลาถามต่อว่า
      "
การทำความพยายามโดยมองไม่เห็นทางบรรลุเป้าหมายนั้นมีแต่ความยากลำบากอาจถึงตายได้จะต้องเพียรพยายามไปทำไมกัน" 


พระมหาชนกตรัสตอบว่า
     "
แม้จะรู้ว่าสิ่งที่เรากำลังกระทำนั้นอาจไม่สำเร็จก็ตามถ้าไม่เพียรพยายามแต่กลับหมดมานะเสียแต่ต้นมือย่อมได้รับผลร้ายของความเกียจคร้านอย่างแน่นอนย่อมไม่มีวันบรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการบุคคลควรตั้งความเพียรพยายามแม้การนั้นอาจไม่สำเร็จก็ตามเพราะเรามีความพยายามไม่ละความตั้งใจเราจึงยังมีชีวิตอยู่ได้ในทะเลนี้เมื่อคนอื่นได้ตายกันไปหมดแล้วเราจะพยายามสุดกำลังเพื่อไปให้ถึงฝั่งให้จงได้


นางมณีเมขลาได้ยินดังนั้นก็เอ่ยสรรเสริญความเพียรของมหาชนกกุมารและช่วยอุ้มพามหาชนกกุมารไปจนถึงฝั่งเมืองมิถิลาวางพระองค์ไว้ที่ศาลาในสวนแห่งหนึ่ง

 

ในเมืองมิถิลาพระราชาโปลชนกไม่มีพระโอรสทรงมีแต่พระธิดาผู้ฉลาดเฉลียวเป็นอย่างยิ่งพระนามว่าเจ้าหญิงสิวลีครั้นเมื่อพระองค์ประชวรหนักใกล้จะสวรรคตบรรดาเสนาทั้งปวงจึงทูลถามขึ้นว่าเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์แล้วราชสมบัติควรจะตกเป็นของผู้ใดในเมื่อไม่ทรงมีพระโอรสพระเจ้าโปลชนกตรัสสั่งเสนาว่า
     "
ท่านทั้งหลายจงมอบราชสมบัติให้แก่ผู้มีความสามารถดังต่อไปนี้ 

ประการแรก เป็นผู้ที่ทำให้พระราชธิดาของเราพอพระทัยได้
ประการที่สอง สามารถรู้ว่าด้านไหนเป็นด้านหัวนอนของบัลลังก์รูปสี่เหลี่ยม
ประการที่สาม สามารถยกธนูใหญ่ซึ่งต้องใช้แรงคนธรรมดาถึงพันคนจึงจะยกขึ้นได้ 

ประการที่สี่ สามารถชี้บอกขุมทรัพย์มหาศาลทั้ง 13 แห่งได้


แล้วจึงตรัสบอกปัญหาของขุมทรัพย์ทั้ง 13 แห่งแก่เหล่าอำมาตย์เช่นขุมทรัพย์ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นขุมทรัพย์ที่ดวงอาทิตย์ตกขุมทรัพย์ที่อยู่ภายในขุมทรัพย์ที่อยู่ภายนอกขุมทรัพย์ที่ไม่ใช่ภายในและภายนอกขุมทรัพย์ที่ปลายไม้ขุมทรัพย์ที่ปลายงาขุมทรัพย์ที่ปลายหางเป็นต้น 


เมื่อพระราชาสิ้นพระชนม์บรรดาเสนาบดีทหารพลเรือนและประชาราษฎร์ทั้งหลายต่างพยายามที่จะเป็นผู้สืบราชสมบัติแต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถทำให้เจ้าหญิงสีวลีพอพระทัยได้เพราะล้วนแต่พยายามเอาพระทัยเจ้าหญิงมากเกินไปจนเสียลักษณะของผู้ที่จะปกครองบ้านเมืองไม่มีผู้ใดสามารถยกมหาธนูใหญ่ได้ไม่มีผู้ใดรู้ทิศหัวนอนของบัลลังก์สี่เหลี่ยมและไม่มีผู้ใดไขปริศนาขุมทรัพย์ได้

 

ในที่สุดบรรดาเสนาข้าราชบริพารจึงควรตั้งพิธีเสี่ยงราชรถเพื่อหาตัวบุคคลผู้มีบุญญาธิการสมควรครองเมืองบุษยราชรถเสี่ยงทายนั้นก็แล่นออกจากพระราชวังตรงไปที่สวนแล้วหยุดอยู่หน้าศาลาที่พระมหาชนกทรงนอนอยู่ปุโรหิตที่ตามราชรถจึงให้ประโคมดนตรีขึ้นพระมหาชนกได้ยินเสียงประโคมจึงลืมพระเนตรขึ้นเห็นราชรถก็ทรงดำริว่าคงเป็นราชรถเสี่ยงทายพระราชาผู้มีบุญเป็นแน่แต่ก็มิได้แสดงอาการอย่างใดกลับบรรทมต่อไป 

 

ปุโรหิตเห็นดังนั้นก็คิดว่าบุรุษผู้นี้เป็นผู้มีสติปัญญาไม่ตื่นเต้นตกใจกับสิ่งใดโดยง่ายจึงเข้าไปตรวจดูพระบาทพระมหาชนกเห็นลักษณะต้องตามคำโบราณว่าเป็นผู้มีบุญจึงให้ประโคมดนตรีขึ้นอีกครั้งแล้วเข้าไปทูลอัญเชิญพระมหาชนกให้ทรงเป็นพระราชาเมืองมิถิลาพระมหาชนกตรัสถามว่า 

    "พระราชาไปไหนเสีย"


ปุโรหิตก็กราบทูลว่า 

    "พระราชาสวรรคตไม่มีพระโอรสมีแต่พระธิดาคือเจ้าหญิงสิวลีแต่องค์เดียว"


พระมหาชนกจึงทรงรับเป็นกษัตริย์ครองมิถิลา

 

ฝ่ายเจ้าหญิงสิวลีได้ทรงทราบว่าพระมหาชนกได้ราชสมบัติก็ประสงค์จะทดลองว่าพระมหาชนกสมควรเป็นกษัตริย์หรือไม่จึงให้ราชบุรุษไปทูลเชิญเสด็จมาที่ปราสาทของพระองค์พระมหาชนกก็เฉยเสียมิได้ไปตามคำทูลเจ้าหญิงให้คนไปทูลถึงครั้งพระมหาชนกก็ไม่สนพระทัยจนถึงเวลาหนึ่งก็เสด็จไปที่ปราสาทของเจ้าหญิงเองโดยไม่ทรงบอกล่วงหน้าเจ้าหญิงตกพระทัยรีบเสด็จมาต้อนรับเชิญไปประทับบนบัลลังก์

 

พระมหาชนกจึงตรัสถามอำมาตย์ว่า พระราชาที่สิ้นพระชนม์ตรัสสั่งอะไรไว้บ้าง อำมาตย์ก็ทูลตอบ 


พระมหาชนกจึงตรัสสั่งว่า ข้อที่ที่ว่าทำให้เจ้าหญิงพอพระทัยเจ้าหญิงได้แสดงแล้วว่าพอพระทัยเราจึงได้เสด็จมาต้อนรับเรา


ข้อที่เรื่องปริศนาทิศหัวนอนบัลลังก์นั้นพระมหาชนกทรงคิดอยู่ครู่หนึ่งแล้วถอดเข็มทองคำที่กลัดผ้าโพกพระเศียรออกส่งให้เจ้าหญิงให้วางเข็มทองคำไว้เจ้าหญิงทรงรับเข็มไปวางไว้บนบัลลังก์สี่เหลี่ยมพระมหาชนกจึงทรงชี้บอกว่าตรงที่เข็มวางอยู่นั้นแหละคือทิศหัวนอนของบัลลังก์โดยสังเกตจากการที่เจ้าหญิงทรงวางเข็มทองคำจากพระเศียรไว้ 


ข้อที่นั้นก็ตรัสสั่งให้นำมหาธนูมาทรงยกขึ้นและน้าวอย่างง่ายดาย 


ข้อที่เมื่ออำมาตย์กราบทูลถึงปัญหาของขุมทรัพย์ทั้ง 13 แห่งพระมหาชนกทรงคิดอยู่ครู่หนึ่งแล้วก็ตรัสบอกคำแก้ปริศนาขุมทรัพย์ทั้ง 13 แห่งได้หมดเมื่อสั่งให้คนไปขุดดูก็พบขุมทรัพย์ตามที่ตรัสบอกไว้ทุกแห่งผู้คนจึงพากันสรรเสริญปัญญาของพระมหาชนกกันทั่วทุกแห่งหน


พระมหาชนกโปรดให้เชิญพระมารดาและพราหมณ์ทิศาปาโมกข์จากเมืองกาลจัมปากะทรงอุปถัมภ์บำรุงให้สุขสบายตลอดมาจากนั้นทรงสร้างโรงทานใหญ่ทิศในเมืองมิถิลาทรงบริจาคมหาทานเป็นประจำเมืองมิถิลาจึงมีแต่ความผาสุกสมบูรณ์เพราะพระราชาทรงอยู่ในทศพิธราชธรรมต่อมาพระนางสิวลีประสูติพระโอรสทรงนามว่าทีฆาวุกุมารเมื่อเจริญวัยขึ้นพระบิดาโปรดให้ดำรงตำแหน่งอุปราช

 

อยู่มาวันหนึ่งพระราชามหาชนกเสด็จอุทยานทอดพระเนตรเห็นมะม่วงต้นหนึ่งกิ่งหักใบไม้ร่วงอีกต้นมีใบแน่นหนาร่มเย็นเขียวชอุ่มจึงตรัสถามอำมาตย์กราบทูลว่าต้นมะม่วงที่มีกิ่งหักนั้นเป็นเพราะรสมีผลอร่อยผู้คนจึงพากันสอยบ้างเด็ดกิ่งและขว้างปาเพื่อเอาบ้างจนมีสภาพเช่นนั้นส่วนอีกต้นไม่มีผลจึงไม่มีคนสนใจใบและกิ่งจึงสมบูรณ์เรียบร้อยดีพระราชาได้ฟังก็ทรงคิดว่าราชสมบัติเปรียบเหมือนต้นไม้มีผลอาจถูกทำลายแม้ไม่ถูกทำลายก็ต้องคอยระแวดระวังรักษาเกิดความกังวลเราจะทำตนเป็นผู้ไม่มีกังวลเหมือนต้นไม้ไม่มีผลเราจะออกบรรพชาสละราชสมบัติเสียมิให้เกิดกังวล

 

พระราชาเสด็จกลับมาปราสาทปลงพระเกศาพระมัสสุครองผ้ากาสาวพัสตร์ครองอัฏฐบริขารครบถ้วนแล้วเสด็จออกจากมหาปราสาทไป


ครั้นพระนางสิวลีทรงทราบก็รีบติดตามมาทรงอ้อนวอนให้พระราชาเสด็จกลับพระองค์ก็ไม่ยินยอมพระนางสิวลีจึงทำอุบายให้อำมาตย์เผาโรงเรือนเก่าๆและกองหญ้ากองใบไม้เพื่อให้พระราชาเข้าพระทัยว่าไฟไหม้พระคลังจะได้เสด็จกลับ

 

พระราชาตรัสว่าพระองค์เป็นผู้ไม่มีสมบัติแล้วสมบัติที่แท้จริงของพระองค์คือความสุขสงบจากการบรรพชานั้นยังคงอยู่กับพระองค์ไม่มีผู้ใดทำลายได้พระนางสิวลีทรงทำอุบายสักเท่าไรพระราชาก็มิได้สนพระทัยและตรัสให้ประชาชนอภิเษกพระทีฆาวุราชกุมารขึ้นเป็นกษัตริย์เพื่อปกครองมิถิลาต่อไป

 

พระนางสิวลีไม่ทรงละความเพียรพยายามติดตามพระมหาชนกต่อไปอีก

 

วันรุ่งขึ้นมีสุนัขคาบเนื้อที่เจ้าของเผลอวิ่งหนีมาพบผู้คนเข้าก็ตกใจทิ้งชิ้นเนื้อไว้พระมหาชนกคิดว่าก้อนเนื้อนี้เป็นของไม่มีเจ้าของสมควรที่จะเป็นอาหารของเราได้จึงเสวยก้อนเนื้อนั้นพระนางสิวลีทรงเห็นดังนั้นก็เสียพระทัยอย่างยิ่งที่พระสวามีเสวยเนื้อที่สุนัขทิ้งแล้วแต่พระมหาชนกว่านี่แหล่ะเป็นอาหารพิเศษ

 

ต่อมาทั้งสองพระองค์ทรงพบเด็กหญิงสวมกำไลข้อมือข้างหนึ่งมีกำไลสองอันอีกข้างมีอันเดียว 

พระราชาตรัสถามว่า
    "
ทำไมกำไลข้างที่มีสองอันจึงมีเสียงดัง


เด็กหญิงตอบว่า 

    "เพราะกำไลสองอันนั้นกระทบกันจึงเกิดเสียงดังส่วนที่มีข้างเดียวนั้นไม่ได้กระทบกับอะไรจึงไม่มีเสียง


พระราชาจึงตรัสแนะให้พระนางคิดพิจารณาถ้อยคำของเด็กหญิงกำไลนั้นเปรียบเหมือนคนที่อยู่สองคนย่อมกระทบกระทั่งกันถ้าอยู่คนเดียวก็จะสงบสุขแต่พระนางสิวลียังคงติดตามพระราชาไปอีกจนมาพบนายช่างทำลูกศร 

นายช่างทูลตอบคำถามพระราชาว่า
     "
การที่ต้องหลับตาข้างหนึ่งเวลาดัดลูกศรนั้นก็เพราะถ้าลืมตาสองข้างจะไม่เห็นว่าข้างไหนคดข้างไหนตรงเหมือนคนอยู่สองคนก็จะขัดแย้งกันถ้าอยู่คนเดียวก็ไม่ขัดแย้งกับใคร" 


พระราชาตรัสเตือนพระนางสิวลีอีกครั้งหนึ่งว่าพระองค์ประสงค์จะเดินทางไปตามลำพังเพื่อแสวงหาความสงบไม่ประสงค์จะมีเรื่องขัดแย้งกระทบกระทั่งหรือความไม่สงบอันเกิดจากการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอีกต่อไป


พระนางสิวลีได้ฟังพระวาจาดังนั้นก็น้อยพระทัยจึงตรัสว่า
    "
ต่อไปนี้หม่อมฉันหมดวาสนาจะได้อยู่ร่วมกับพระองค์อีกแล้ว


พระราชาจึงเสด็จไปสู่ป่าใหญ่แต่ลำพังเพื่อบำเพ็ญสมาบัติมิได้กลับมาสู่พระนครอีก

 

ส่วนพระนางสิวลีเสด็จกลับเข้าสู่พระราชวังอภิเษกพระทีฆาวุกุมารขึ้นเป็นพระราชาแล้วพระนางโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นในที่ต่างๆเพื่อรำลึกถึงพระราชามหาชนกผู้ทรงมีพระสติปัญญาและที่ยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดคือทรงมีความเพียรพยายามเป็นเลิศมิได้เคยเสื่อมถอยจากความเพียรทรงตั้งพระทัยที่จะกระทำการโดยเต็มกำลังความสามารถเพราะทรงยึดมั่นว่าบุคคลควรตั้งความเพียรพยายามไม่ว่ากิจการนั้นจะยากสักเพียงใดก็ตามคนมีปัญญาแม้ได้รับทุกข์ก็จะไม่สิ้นหวังไม่สิ้นความเพียรที่จะพาตนให้พ้นจากความทุกข์นั้นให้ได้ในที่สุด.

 


คติธรรมบำเพ็ญวิริยบารมี

"เกิดเป็นคนควรมีความพากเพียรให้ถึงที่สุดเพื่อให้ถึงแก่สิ่งที่มุ่งหวังเพียรสุดกำลังจนชีวิตหาไม่ก็จงเพียรแล้วความสำเร็จจะมาเยือน"

 

 

ที่มา : เพจ Dhammathai.org 

 

~~~~~~~~~

แสดงความคิดเห็น

0ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)
ฉันคือพลังงานจลน์ พลวัตเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น..