เพื่อยกระดับความรู้ สู่สังคมอุดมป้ญญา

นิพพาน

0


ในพระไตรปิฎก

ในขุททกนิกายอิติวุตตกะธาตุสูตร พระพุทธเจ้ากล่าวถึงนิพพานธาตุ ประเภทคือ

  1. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ หมายถึง นิพพานโดยที่อินทรีย์5 ยังคงอยู่จึงยังเสวยสุขและทุกข์อยู่เมื่อประสบกับประสบอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์
  2. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ หมายถึง นิพพานทั้งดับภพและเวทนาได้สิ้นเชิงแล้ว


ในพระวินัยปิฎกปริวารสมุฏฐานสีสสังเขประบุว่า อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิตินิจฺฉยา(สังขารทั้งปวง ที่ปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระนิพพาน และบัญญัติ ท่านวินิจฉัยว่า เป็นอนัตตา)


นิพพานก็อยู่ในอริยสัจ4ด้วยคือเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่ อริยสัจข้อที่เรียกว่า"นิโรธคำว่านิโรธนี้ เป็นไวพจน์คือใช้แทนกันได้กับ"นิพพานพระไตรปิฎกเล่ม31 ระบุว่าอริยสัจทั้งหมดซึ่งรวมทั้งนิโรธคือนิพพานด้วยนั้นเป็นอนัตตา ดังนี้ 


..อนตฺตฏฺเฐนจตฺตาริสจฺจานิเอกปฏิเวธานิ. . . นิโรธสฺสนิโรธฏฺโฐอนตฺตฏฺโฐ.. (ขุ.ปฏิ. 31/546/450) แปลว่า: " สัจจะทั้ง4 (ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรคมีการตรัสรู้ด้วยกันเป็นอันเดียว(คือด้วยมรรคญาณเดียวกันโดยความหมายว่าเป็นอนัตตา. . . นิโรธมีความหมายว่าดับ(ทุกข์ก็มีความหมายว่าเป็นอนัตตา"


ในพระสุตตันตปิฎกสังยุตตนิกายขันธวารวรรคระบุว่า"สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาและในอังคุตตรนิกายติกนิบาตมีระบุว่า"สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาซึ่ง"ธรรมในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายต่อว่า"หมายรวมถึงนิพพานด้วยนอกจากนี้ยังมีข้อความในคัมภีร์พระไตรปิฎกอีกหลายแห่งทั้งที่ระบุโดยตรงและโดยอ้อมที่มีนัยบอกว่า"นิพพานเป็นอนัตตา"


ในเกวัฏฏสูตรทีฆนิกายสีลขันธวรรคได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น"ธรรมชาติที่รู้แจ้งไม่มีใครชี้ได้ไม่มีที่สุดแจ่มใสโดยประการทั้งปวงปฐวีธาตุอาโปธาตุเตโชธาตุและวาโยธาตุย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้อุปาทยรูปที่ยาวและสั้นละเอียดและหยาบที่งามและไม่งามย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้เพราะวิญญาณดับนามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาติดังนี้ฯ

ที.สี.14/350 )


พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่าพระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใดการอธิบายทำได้ในลักษณะเพียงว่านิพพานคือการดับทุกข์สิ้นตัณหาเหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีกสำหรับพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้วนั้นพระพุทธองค์ไม่ตรัสยืนยันถึงความมีอยู่หรือความดับสูญพระองค์ตรัสแต่เพียงว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์อีกต่อไป 

   "ดูกรภิกษุทั้งหลายกายของตถาคตมีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้วเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต

ที.สี.14/90 )



ในอรรถกถา

ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถายังมีข้อความแสดงสภาวะของนิพพานอีกหลายแห่งเช่นในปฏิสัมภิทามรรคมีอธิบายว่านิพฺพานธมฺโมอตฺตสฺเสวอภาวโตอตฺตสุญฺโญ"ธรรมคือนิพพานว่างจากอัตตาเพราะไม่มีอัตตา

(ขุ...2/287) 


นอกจากนี้ในวิสุทธิมรรคพระพุทธโฆสะพยายามอธิบายให้เห็นถึงความไม่มีตัวตนของผู้ได้ชื่อว่าบรรลุนิพพานซึ่งเท่ากับว่าไม่มีอัตตาและนิพพานก็มิใช่สิ่งที่จะต้องมีอัตตาถึงจะมีอยู่ได้ดังที่พระพุทธโฆสะกล่าวว่า"นิพพานมีอยู่แต่ไม่มีผู้เข้าถึงนิพพานมรรคามีอยู่แต่ปราศจากผู้ดำเนินไป"วิสุทฺธิ.3/101 ) ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าไม่มีตัวตนบุคคลใดที่ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปดแล้วบรรลุนิพพานเมื่อปราศจาก"ตัวตนของผู้เข้าถึงนิพพานนิพพานก็ย่อมไม่ใช่อัตตาไปด้วย


นิพพานเป็นธรรมที่พ้นไปจากโลกในพาหิยสูตรความว่า 

"ดิน น้ำ ไฟและลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่างพระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้สัจจะ4 ) รู้แล้วด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นแล้วจากรูปและอรูปจากความสุขและความทุกข์..."ขุ.ขุ..25/50 )




ในปกรณ์วิเสส

พระอนุรุทธาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะได้พรรณนาคุณของนิพพานว่า 

ปทมจฺจุตฺมจฺจนฺตํ อสงฺขตมนุตฺตรํ นิพฺพานมีติภาสนฺติ วา นมุตฺตามเหสโย

    "พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัดตรัสถึงสภาวะธรรมชาติหนึ่งที่เข้าถึงได้เป็นธรรมชาติที่ไม่จุติพ้นจากขันธ์5ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยใดๆเลยหาสภาวะอื่นเปรียบเทียบไม่ได้ว่าสภาวธรรมนั้นคือพระนิพพาน"



ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระนาคเสนเถระ ทูลแก้ปัญหาของพระยามิลินท์ ที่ทรงถามว่าถ้านิพพานไม่มีที่ตั้งอาศัยนิพพานก็ย่อมไม่มี โดยกราบทูลว่า

    "ขอถวายพระพรมหาบพิตร โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานหามีไม่ แต่นิพพานนั้นมีอยู่พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบย่อมทำให้แจ้งนิพพานด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย มหาบพิตรเหมือนดั่งว่าชื่อว่าไฟย่อมมีอยู่แต่โอกาสอันเป็นที่ตั้งของไฟนั้นหามีไม่ เมื่อบุคคลเอาไม้สองอันมาขัดสีกันก็ย่อมได้ไฟขึ้นมา ฉันใด มหาบพิตร นิพพานก็มีอยู่ฉันนั้นนั่นแล โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานนั้นไม่มีแต่พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำนิพพานให้แจ้งด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย..." 

มิลินฺท.336 )



~~~~~~~~~

แสดงความคิดเห็น

0ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)
ฉันคือพลังงานจลน์ พลวัตเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น..