หมายเหตุ : มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้ อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง
ความตายหรือการเสียชีวิต
เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิตปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตายได้แก่โรคชราการถูกล่าทุพโภชนาการโรคภัยอัตวินิบาตกรรม(การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรมความอดอยากการขาดน้ำและอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บภายในร่างกายร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิตความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่งสาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้นหรือการกลัวความตายโรคกลัวศพความกังวลใจความเศร้าโศกความเจ็บปวดทางจิตภาวะซึมเศร้าความเห็นอกเห็นใจความสงสารหรือความโดดเดี่ยว
สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุด คือ
- โรคหัวใจ
- โรคหลอดเลือดสมองและโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และ
- ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง
การแข่งขัน/การคัดเลือกโดยธรรมชาติและการสูญพันธุ์
การตายเป็นกระบวนการสำคัญของทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ(Natural Selection) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากได้มีความเสี่ยงที่จะตายสูงหรือขยายพันธุ์ได้น้อยทำให้ยีนส์ของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์นั้นๆลดจำนวนลงซึ่งยีนส์ที่อ่อนแอจะนำไปสู่การลดจำนวนลงอย่างมากของประชากรสิ่งมีชีวิตนั้นๆอันนำไปสู่การสูญพันธุ์ในที่สุดซึ่งความสามารถในการแพร่พันธุ์มีบทบาทอย่างมากในการคงอยู่ของสิ่งมีชีวิตโดยสิ่งมีชีวิตที่อายุสั้นแต่สามารถแพร่พันธุ์ได้มากมีความเสี่ยงในการสูญพันธุ์น้อยกว่าสิ่งมีชีวิตที่อายุยืนแต่ขยายพันธุ์ได้น้อย
การสูญพันธุ์คือการหยุดชะงักของการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์นั้นๆและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตจะลดลงช่วงเวลาของการสูญพันธุ์มักหมายถึงสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายของสปีชีส์นั้นตายซึ่งความสามารถในการแพร่พันธุ์อาจสูญไปก่อนที่สูญพันธุ์ก็ได้แต่เนื่องจากว่าสิ่งมีชีวิตนั้นมีจำนวนที่มากและขนาดค่อนข้างกว้างการจะระบุว่าสิ่งมีชีวิตใดสูญพันธุ์แล้วอาจมีความผิดพลาดได้ในบางกรณีมีการพบสิ่งมีชีวิตที่ประกาศว่าสูญพันธุ์ไปแล้วหลังจากที่มันไม่พบเห็นมาเป็นเวลานาน
วิวัฒนาการทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆซึ่งสามารถเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าส่วนสายพันธุ์ที่อ่อนแอจะไม่สามมารถดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้ต้องสูญพันธุ์ไปอย่างเช่นยีราฟกับต้นไม้ที่เป็นอาหารของมันต้นไม้วิวัฒนาการตัวเองให้สูงขึ้นและมีหนามแหลมคมเพื่อป้องกันการถูกกินจากยีราฟในขณะเดียวกันยีราฟส่วนหนึ่งวิวัฒนาการตัวเองให้มีคอที่ยาวขึ้นและมีลิ้นที่ยาวหลบหลีกหนามได้กระบวนการวิวัฒนาการนี้เกิดขึ้นอย่างยาวนานสิ่งมีชีวิตที่พัฒนาแปลกแยกออกไปจากรูปแบบเดิมเรียกว่าการกลายพันธุ์(mutation) ซึ่งเป็นการเพิ่มความหลากหลายให้กับสิ่งมีชีวิตยีราฟสายพันธุ์คอยาวจะได้เปรียบในการกินต้นไม้พันธุ์นี้ส่วนยีราฟสายพันธุ์คอสั้นที่เสียเปรียบจะเริ่มลดจำนวนลงเมื่อกระบวนการนี้ผ่านไปเป็นเวลานานๆต้นไม้ยิ่งสูงขึ้นยีราฟสายพันธุ์คอยาวยิ่งยืดคอตามส่วนยีราฟคอสั้นก็ลดจำนวนลงจนสูญพันธุ์ในที่สุด
การตายทางการแพทย์(ภาวะสมองตาย)
ทางการแพทย์ถือว่าบุคคลเสียชีวิตแล้วโดยวัดจากคลื่นสมองแม้ว่ายังมีการหายใจหรือหัวใจยังเต้นอยู่แต่มีนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามอธิบายในประเด็นที่ซับซ้อนกว่านั้นดอกเตอร์เชอร์วินนูแลนด์(Dr. Sherwin Nuland) ได้ตั้งประเด็นว่าสาเหตุของความตายเกิดขึ้นจากการตายของเซลล์เดิมทีนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าผู้ป่วยจะไม่สามารถฟื้นขึ้นมาได้อีกครั้งหากว่าเนื้อเยื่อสมองและเนื้อเยื่อหัวใจเสียหายอย่างหนักอันเนื่องมาจากการขาดออกซิเจนประมาณ4-5 นาทีและยังไม่ได้รับการกู้ชีวิตคืนในช่วงเวลานั้นหรือทำให้หัวใจเต้นอีกครั้งในช่วงเวลาถัดมาเล็กน้อย
แต่จากการศึกษาเนื่อเยื่อหัวใจที่ขาดออกซิเจนด้วยกล้องจุลทรรศน์(microscope) พบว่าหลังจากขาดออกซิเจนไปถึง1 ชั่วโมงยังไม่พบว่าเซลล์เนื้อเยื่อหัวใจตายเซลล์เนื้อเยื่อหัวใจที่ขาดเลือดหล่อเลี้ยงจะตายในเวลาประมาณ1 ชั่วโมงซึ่งค้านกับความเชื่อเดิมที่ว่าหากขาดออกซิเจน4-5 นาทีก็จะหมดโอกาสรอดแต่อันที่จริงแพทย์ก็ไม่สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยที่ขาดออกซิเจนเกิน5 นาทีได้ถึงแม้ว่าเซลล์เนื่อเยื่อหัวใจจะยังไม่ตายก็ตาม
เพื่อหานิยามของการตายที่สมบูรณ์นักวิจัยได้พยายามมองลึกเข้าไปถึงระดับเซลล์โดยดูที่ไมโทคอนเดรียซึ่งเป็นอวัยวะของเซลล์มีหน้าที่ในการสร้างพลังงานให้เซลล์และควบคุมกระบวนการอะพอพโทซิส(apoptosis) ซึ่งเป็นระบบควบคุมการตายของเซลล์ที่ผิดปกติโดยไมโทคอนเดรียเป็นระบบที่ร่างกายพัฒนาขึ้นมาเพื่อป้องกันมะเร็ง(cancer)
การตายระดับเซลล์
อะพอพโทซิส(Apoptosis) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เสียหายเกินกว่าที่จะซ่อมแซมได้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่นติดเชื้อไวรัสอยู่ในสภาวะขาดสารอาหารอย่างหนักDNA เสียหายจากกัมมันตภาพรังสีหรือสารมีพิษซึ่งสาเหตุเหล่านี้จะไปกระตุ้นกระบวนการอะพอพโทซิสให้เริ่มทำงานกระบวนการอะพอพโทซิสอาจเกิดขึ้นได้เองจากภายในเซลล์หรือจากเนื้อเยื่อโดยรอบหรือจากส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันกระบวนการอะพอพโทซิสจะไปทำลายเซลล์ที่เสียหายเพื่อป้องกันการดูดสารอาหารของเซลล์นั้นๆหรือป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์ที่ติดเชื้อทั้งยังมีส่วนสำคัญในการป้องกันมะเร็ง
ถ้าเซลล์ไม่มีกระบวนการอะพอพโทซิสเซลล์ทีผิดปกติจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่องๆจนกลายเป็นเนื้องอก(tumour) กระบวนการอะพอพโทซิสจึงมีส่วนสำคัญในการควบคุมสมดุลของร่างกายการตายของเซลล์ต้องสัมพันธุ์กับการเพิ่มจำนวนของเซลล์เซลล์ที่ติดเชื้อหรือผิดปกติจะต้องถูกแทนที่ด้วยเซลล์ใหม่
การชันสูตรพลิกศพ(Autopsy)
เป็นกระบวนการทางการแพทย์ที่จะสำรวจศพของมนุษย์เพื่อหาสาเหตุการตายที่แท้จริงโดยจะระบุเหตุผลของสาเหตุการตายซึ่งจะต้องกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญการชันสูตรมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสืบสวนเกี่ยวกับคดีฆาตกรรมหรือการพิสูจน์ศพที่มีการตายที่ผิดปกติหรือสงสัยว่าตายอย่างผิดปกติเพราะการตายหลายสาเหตุถูกจัดฉากให้ดูเหมือนการตายตามธรรมชาติหรือภาวะโรคประประจำตัวแต่แท้ที่จริงแล้วเป็นการฆาตกรรม
การชันสูตรยังเป็นการยืนยันการตายอันมีสาเหตุมาจากการรักษาที่ผิดพลาดของแพทย์ได้อีกด้วยในกรณีที่แพทย์ประมาทเลินเล่อเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหากไม่มีการชันสูตรศพก็จะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นความผิดของแพทย์ผู้รักษาการชันสูตรสามารถเปิดเผยถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดทั้งยังมีส่วนสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์อีกด้วย
การพลีชีพ: มาทีร์(martyr)
หมายถึงพวกที่ยอมพลีชีพหรือทนการทรมานเพื่อความเชื่อของตนซึ่งในความหมายนี้จะแตกต่างกันไปตามความเชื่อสำหรับพวกคริสเตียนมาทีร์จะหมายถึงผู้บริสุทธิ์ที่ถูกล่าสังหารในช่วงสมัยจักรวรรดิโรมันพวกนี้ไม่ได้ยอมพลีชีพแต่ถูกประหารชีวิตส่วนในความเชื่อของมุสลิมมาทีร์จะหมายรวมไปถึงผู้ที่ยอมตายเพื่อดินแดนศักดิสิทธิ์
มาทีร์ในปัจจุบันอาจจะมาจากความเชื่อที่ถูกฝังลึกแม้ว่าจะเป็นความเชื่อที่ผิดในมุมมองของคนทั่วไปเช่นลัทธิการก่อการร้ายสากลนักรบอัลไกด้าจัดได้ว่าเป็นมาทีร์เช่นกันและสามารถแสดงให้เห็นถึงความเชื่อของตนเป็นที่ประจักษ์ชัดและเป็นภัยคุกคามของโลกในรูปแบบใหม่มาแล้วอันได้แก่ระเบิดพลีชีพนักรบพลีชีพฯลฯเหตุการณ์การก่อการร้ายที่ร้ายแรงที่สุดที่ทำให้มีการตายอย่างมากเหตุการณ์หนึ่งคือเหตุการณ์วินาศกรรม11 กันยายนพ.ศ. 2544 หรือ9/11
การประหารชีวิต(Death Penalty)
เป็นโทษที่มีมาช้านานในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมีจุดประสงค์เพื่อควบคุมอาชญากรรมหรือคู่แข่งทางการเมืองหรือควบคุมการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สั่นคลอนอำนาจของผู้นำโดยใช้ความรุนแรงเป็นมาตรการสำคัญในการรักษาอำนาจในประเทศที่กำลังพัฒนาจะยังพบเห็นมาตรการนี้ใช้อยู่แต่บางประเทศก็ใช้เฉพาะช่วงเวลาคับขันเช่นในภาวะสงครามแต่ละประเทศกำหนดโทษที่มีความรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิตต่างกันไปเช่นจีนถือว่าการค้ามนุษย์เป็นคอรัปชั่นที่ไม่สามารถให้อภัยได้มีโทษถึงประหารชีวิตในบางประเทศสำหรับทหารแล้วการหนีทหารหรือความหวาดกลัวหรือขัดขืนคำสั่งผู้บังคับบัญชาอาจมีโทษถึงประหารชีวิตได้เช่นกัน
ปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้วเริ่มที่จะทำการลดการใช้โทษประหารชีวิตลงเพราะเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนและการประหารชีวิตมักเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจและบ่อยครั้งที่มีการประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์
การฆ่าตัวตายหมายถึงพฤติกรรมการพยายามปลิดชีวิตตนเองสำหรับมนุษย์อาจเกิดมาจากภาวะความเสียใจอย่างมากเช่นสูญเสียคนรักหรือภาวะความเครียดที่ไม่สามารถหาทางออกได้จึงคิดสั้นโดยการฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหาการฆ่าตัวตายของมนุษย์ถือเป็นปัญหาสังคม
จากประวัติศาสตร์ในอดีตการฆ่าตัวตายเป็นค่านิยมที่ได้รับการยอมรับมาก่อนเช่นในสมัยซามูไรของญี่ปุ่นการรักษาศักดิ์ศรีด้วยการฆ่าตัวตายถือว่าดีกว่าอยู่อย่างไร้ค่า
นอกจากมนุษย์แล้วนักชีววิทยาพยายามศึกษาพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในสัตว์ในบางกรณีสุนัขหรือแมวที่เลี้ยงไว้มักมีความรู้สึกที่ผูกพันอย่างมากเมื่อเจ้าของเสียชีวิตไปมันก็ปฏิเสธที่จะกินอาหารแล้วหิวตายตามเจ้านายมันไปยังมีกรณีของสุนัขที่เติบโตมาด้วยกันเจ้าของเลี้ยงเลี้ยงสุนัข2 สายพันธุ์ไว้ด้วยกันมันเติบโตและวิ่งเล่นมาด้วยกันตลอดวันหนึ่งสุนัขตัวหนึ่งตายลงอย่างกะทันหันเนื่องจากถูกรถชนเจ้าของจึงฝังไว้ที่สวนสุนัขอีกตัวที่เหลือก็เปลี่ยนพฤติกรรมทันทีจากที่เคยร่าเริงมันกลับปฏิเสธอาหารและคอยเฝ้าอยู่บริเวณที่เจ้านายฝังสุนัขอีกตัวไว้พอตกกลางคืนก็จะหอนตลอดเวลาไม่กี่วันต่อมาสุนัขอีกตัวก็ตายลง
แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ปักใจเชื่อนักเพราะสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติเป็นสิ่งที่ทำให้สัตว์อยู่รอดมาได้ในโลกและสัตว์ป่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอดอยู่ทุกวันอยู่แล้วแต่ในกรณีของสัตว์เลี้ยงที่ไม่มีภัยคุกคามชีวิตด้านอื่นและกินดีอยู่ดีทุกวันอาจพัฒนาความรู้สึกให้มีระดับที่สูงขึ้นจนใกล้เคียงกับมนุษย์ความเสียใจจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายในสัตว์ได้.
~~~~~~~~~
ความตาย
~~~~~~
“..ความเอ๋ยความตาย
สิ้นชื่อหาย เพราะไม่มี ความดีเหลือ
คือตายเน่า ตายหนอน เป็นบ่อนเบือ
น่าเหม็นเบื่อ ตายเช่นนี้ ดีอะไร
ถ้าตัวตาย ไว้ลาย ให้โลกเห็น
ก็เหมือนเป็น อยู่คู่หล้ าอย่าสงสัย
ตายแต่เปลือก เยื่อในอยู่ คู่โลกไป
เป็นประโยชน์ แก่ใครใคร ไม่สิ้นเอย
เห็นกันอยู่เมื่อเช้า สายตาย
สายอยู่สุขสบาย บ่ายม้วย
บ่ายรื่นชื่นรวยราย เย็นดับ ชีพแฮ
เย็นเล่นกับลูกด้วย ค่ำม้วย อาสัญ”
(พระราชนิพนธ์โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
~~~~~~~~~~