ไมโคพลาสม่า(mycoplasma pneumoniae) คือ อะไรก่อให้เกิดการเจ็บป่วยอะไรได้บ้าง..
เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในธรรมชาติและสามารถติดจากคนสู่คนการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ก่อให้เกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจเช่นอาการไข้ไอเจ็บคอปอดบวมหลอดลมอักเสบและยังเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆทั้งทางสมองและหัวใจที่รุนแรงถึงขึ้นเสียชีวิตได้
คนไทยอาจจะเคยได้ยินชื่อเชื้อชนิดนี้เมื่อไม่กี่ปีก่อนจากข่าวการป่วยด้วยอาการปอดอักเสบไข้หวัดในกลุ่มเด็กและการระบาดในค่ายทหารที่จ.อุตรดิตถ์เมื่อกว่า10 ปีก่อน
รู้จักเชื้อไมโคพลาสมาที่ก่อโรคคล้ายหวัดปอดอักเสบ
คำอธิบายจากนพ. ธเนศแก่นสารภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีที่ให้ความรู้ไว้ในรายการพบหมอรามาระบุว่าไมโคพลาสมาเป็นเชื้อแบคทีเรียตัวหนึ่งที่อยู่ในตามธรรมชาติแต่สามารถติดจากคนสู่คนได้
เชื้อชนิดนี้ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจไม่ว่าจะเป็นทางเดินหายใจส่วนบนเช่นเป็นหวัดไอน้ำมูกเจ็บคอปวดศีรษะไข้ต่ำๆและส่วนล่างคืออาการเกี่ยวกับปอด "ในบางคนโดยเฉพาะเด็กหากติดเชื้อดังกล่าวอาจเกิดภาวะลงไปที่ปอดทำให้เป็นปอดอักเสบปอดบวมปอดติดเชื้อ"
การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเหมือนการติดหวัดหายใจสูดเอาละอองของเชื้อผ่านการไอจามสามารถติดได้ทุกที่เพราะเป็นการติดจากคนสู่คนโดยเฉพาะในบริเวณที่แคบสถานที่ปิดสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
นพ. ธเนศกล่าวว่าอาการของการติดเชื้อจะเป็นลักษณะอาการของการโรคไข้หวัดไม่ว่าจะเป็นไอจามมีน้ำมูกมีไข้ปวดศีรษะเด็กบางคนเป็นแล้วไม่หายเนื่องจากเป็นเพราะว่ามีอาการปอดอักเสบติดเชื้อด้วยทำให้ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานหลายวัน
การตรวจเชื้อใช้วิธีเก็บตัวอย่างที่ลำคอเพื่อนำไปตรวจว่ามีดีเอ็นเอของเชื้อหรือไม่นั่นคือต้องหาตัวเชื้อให้ได้การเจาะเลือดทำได้เช่นกันแต่ไม่แม่นยำเท่าและวิธีการเจาะภูมิคุ้มกันหลังจากหายแล้วเพื่อยืนยันการตรวจวินิจฉัย
"วิธีการตรวจยืนยันค่อนข้างยากส่วนใหญ่จะรักษาไปก่อนแล้วจึงตรวจวินิจฉัยยืนยันว่าใช่การติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดนี้หรือไม่”
ความรุนแรงมีรายงานถึงขึ้นเสียชีวิตแต่เกิดน้อยเพราะส่วนใหญ่แล้วในผู้ป่วยเด็กหากรุนแรงจะมีไข้สูงเป็นปอดอักเสบหายใจเร็วเนื่องจากมีการติดเชื้อที่ปอดและมีเสมหะมาก
เคยระบาดในทหารเกณฑ์ที่ จ.อุตรดิตถ์เมื่อปี 2555
เดือนมิ.ย. 2555 โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหักจ.อุตรดิตถ์ติดป้าย"ปิดเขตกักกันโรคเปิดวันที่5 มิถุนายน" บริเวณประตูหน้าโรงพยาบาลเนื่องจากทหารเกณฑ์ผลัด1 สังกัดกองพันทหารม้าที่7 (จ. อุตรดิตถ์) กรมทหารม้าที่2 (จ. เพชรบูรณ์) กองทัพภาคที่3 (จ. พิษณุโลก) เกิดอาการป่วยหัวใจเต้นเร็วปอดอักเสบคล้ายโรคไข้หวัดแต่อาการรุนแรงกว่าและเกิดการแพร่ระบาดในกลุ่มทหารเกณฑ์
นพ. พรเทพศิริวนารังสรรค์อธิบดีกรมควบคุมโรคในขณะนั้นเปิดเผยผลการตรวจสอบร่วมกับกรมแพทย์ทหารบกพบว่าเชื้อดังกล่าวเป็นเชื้อกึ่งไวรัสกึ่งแบคทีเรียเรียกว่าไมโคพลาสมาซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคไข้หวัดร่วมกับอาการปอดอักเสบปอดบวมซึ่งอาการจะรุนแรงมากกว่าไข้หวัดทั่วไป
นพ. พรเทพกล่าวว่าจากการสอบสวนโรคในกลุ่มทหารและครูฝึก140 รายพบว่ามีผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด96 รายซึ่งเป็นทหารเกณฑ์ทั้งหมดภายหลังมีทหารเกณฑ์1 รายที่คาดว่าติดเชื้อมาจากชุมชนหรือบ้านโดยเชื้อชนิดนี้จัดเป็นกลุ่มที่ก่อเชื้อปอดบวมทั่วไปไม่ใช่เชื้อใหม่
ในจำนวนนี้มี15 รายที่อาการรุนแรงต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหักแบ่งเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะปอดบวม10 รายและปอดอักเสบอีก5 รายนอกนั้นเป็นไข้หวัดมีน้ำมูกไหลไอไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
พบอาการแทรกซ้อนที่อวัยวะอื่นได้ในไทยเคยมีผู้ป่วยเด็กเกิดอาการหัวใจช็อค
วารสารการแพทย์"จุฬาลงกรณ์เวชสาร" เคยตีพิมพ์รายงานผู้ป่วยจากภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่ามีรายงานผู้ป่วยเด็ก1 รายที่เกิดภาวะหัวใจช็อคจากการติดเชื้อไมโคพลาสมานิวโมเนีย
รายงานจากนพ. ไพโรจน์โชติวิทยธารากรพร้อมคณะที่ตีพิมพ์เมื่อปี2531 ระบุว่านอกจากอาการทางระบบทางเดินหายใจแล้วเชื้อไมโคพลาสมายังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆเช่นโรคที่เกิดจากการอักเสบแบบเฉียบพลันทางผิวหนัง(erythema multiforme) เยื่อหุ้มสมองอักเสบประสาทส่วนปลายอักเสบภาวะซีดจากเม็ดโลหิตแดงแตกตับอักเสบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบส่วนภาวะหัวใจช็อคพบได้น้อยมาก
ผู้ป่วยเป็นเด็กชายไทยอายุ14 ปีเข้ารับการรักษาในภาควิชากุมารเวชศาสตร์รพ. จุฬาฯด้วยอาการไข้ไอและหายใจหอบในวันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยมีประวัติของการไอแห้งๆอาเจียนและปวดบริเวณน่องทั้งสองข้างเป็นมา4 วันก่อนมาโรงพยาบาลอดีตผู้ป่วยเป็นเด็กที่แข็งแรงดีมาตลอดและไม่มีประวัติของโรคหัวใจมาก่อน
รายงานระบุด้วยว่าผู้ป่วยรายนี้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยอาการภาวะช็อคจากเหตุหัวใจ(cardiogenic shock) ร่วมกับการตรวจพบว่ามีโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว(mitral insufficiency) เป็นอาการนำจากการตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสชนิดต่างๆภายหลังการรักษาพบไตเตอร์ของเชื้อไมโครพลาสมาระดับสูงและมีการเพิ่มขึ้นมากกว่า4 เท่าเมื่อเจาะเลือดภายหลัง2 สัปดาห์จึงทำให้สามารถวินิจฉัยว่าเป็นการติดเชื้อไมโคพลาสมาได้ซึ่งเข้ากับรายงานของผู้อื่น
แพทย์วินิจฉัยด้วยว่าภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วน่าจะมีสาเหตุเกิดจากการผิดปกติของกล้ามเนื้อยึดลิ้นหัวใจ(papillary muscle dysfunction) จากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเป็นสาเหตุของการเกิดอาการหัวใจช็อคแต่ไม่ทราบแน่ชัดถึงพยาธิสภาพกำเนิดของหัวใจอักเสบเชื่อว่าเกิดจากการที่เชื้อไมโคพลาสมาทำลายกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงหรืออาจเกิดจากกลวิธีทางอิมมูน
รายงานผู้ป่วยฉบับดังกล่าวจากแพทย์โรคหัวใจเด็กบอกด้วยว่าในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจวายเฉียบพลันร่วมกับโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วจำเป็นต้องคิดหาสาเหตุจากการติดเชื้อไมโคพลาสมานิวโมเนียนอกเหนือจากไข้รูห์มาติกกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากเชื้อไวรัสและการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
ภาวะหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อไมโคพลาสมารุนแรงถึงชีวิตหรือไม่
เอกสารวิชาการชิ้นนี้เมื่อปี2531 ระบุภาวะหัวใจอักเสบเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไมโคพลาสมาสามารถพบได้2.4-8.5% ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า20 ปีแต่ก็มีรายงานพบในเด็กอายุต่ำกว่า1 ปี
ขณะที่ประมาณ70% ของผู้ป่วยเหล่านี้จะมีอาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจนำมาก่อน11 วันและผู้ป่วย30% จะมีอาการหัวใจอักเสบภายในหนึ่งสัปดาห์บางรายมีอาการปวดกล้ามเนื้อมาก่อน
นอกจากนี้การพยากรณ์โรคของผู้ป่วยพบว่าค่อนข้างดีและมักหายเป็นปกติแต่บางรายยังคงมีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายและในบางรายมีอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตแต่พบเป็นส่วนน้อย.
~~~~~~~~
ที่มา: BBC.COM