พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทั้งอดีตปัจจุบันอนาคต ล้วนทรงสอนให้สัตว์โลก
- ละชั่วด้วยกายวาจาใจ
- ทำความดีด้วยกายวาจาใจ
- ทำใจให้ผ่องใส
การที่จะทำใจของตนให้ดีตามนี้ได้มีหลักคือสมถวิปัสสนาอันเป็นวิชชาสำคัญในพระพุทธศาสนาตามพระบาลีว่า..
“เทฺวเมภิกุขเววิชฺชาภาคิยาฯ" ดูก่อนภิกษุทั้งหลายวิชชามี๒อย่างคือสมถะความสงบระงับ๑กับวิปัสสนาความเห็นแจ้ง๑
“สมถะเป็นวิชชาต้นแปลว่าสงบระงับใจ
วิปัสสนาเป็นขั้นสูงแปลว่าเห็นแจ้ง”
สมถะและวิปัสสนา๒อย่างนี้เป็นธรรมอันสุขุมลุ่มลึกในทางพระพุทธศาสนาผู้พูดได้ศึกษามาตั้งแต่บวชพอบวชออกจากโบสถ์แล้วได้วันหนึ่งรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งก็เรียนทีเดียวไม่ได้หยุดเลยบัดนี้ทั้งเรียนด้วยทั้งสอนด้วยทั้ง๒อย่างนี้
สมถะและวิปัสสนา มีภูมิแค่ไหน?
- สมถะมี๔๐ภูมิคือกสิณ๑๐อสุภะ๑๐อนุสติ๑๐พรหมวิหาร๔อาหาเรปฏิกูลสัญญา๑จตุธาตุววัตถาน๑อรูปฌาน๔
- วิปัสสนามี๖ภูมิคือขันธ์๕อายตนะ๑๒ธาตุ๑๘อินทรีย็๒๒อริยสัจ๔ปฏิจจสมุปบาทธรรม(เป็นธรรมที่อาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น)
เริ่มต้นการเรียนภูมิของสมถะ..
"..ต้องทำใจหยุดก่อนตรงตามความหมายว่าสงบนิ่งใจประกอบด้วยความเห็นความจำความคิดความรู้รวมกันเป็นจุดเดียวอยู่ที่เบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ
..ใจเป็นของลึกซึ้งเวลาเรานั่งอยู่ที่นี่ใจสอดไปถึงบ้านนรกสวรรค์นิพพานก็ได้ถ้าว่ารู้แคบก็สอดไปได้แคบรู้กว้างสอดไปได้กว้างถ้ารู้ละเอียดหรือหยาบก็สอดไปได้แล้วแต่ความรู้ความเห็นของใจเราต้องรวมใจให้เห็นจำคิดรู้หยุดเป็นจุดเดียวที่กลางกายมนุษย์ตรงตำแหน่งสะดือทะลุหลังขวาทะลุซ้ายกลางกั๊กข้างในที่ขึงด้ายตัดกันเหนือขึ้นมา๒นิ้วมือตรงนั้นเป็นที่ตั้งดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่
..พอใจหยุดเท่านั้นถูกตัวสมถะแล้วหยุดนั่นแหละเป็นตัวสมถะหยุดนั้นเองเป็นตัวสำเร็จทั้งทางโลกและทางธรรมสำเร็จหมดโลกจะได้รับความสุขใจต้องหยุดตามส่วนของโลกธรรมจะได้รับความสุขต้องหยุดตามส่วนของธรรม
ท่านได้แนะนำไว้ตามวาระพระบาลีว่า..
"นตุถิ สนฺติปรํ สุขํ- สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี"
หยุดนั้นเป็นตัวสำคัญเมื่อใจหยุดเราก็ต้องหยุดในหยุดหยุดในหยุดอยู่นั่นเองไม่มีถอยหลังกลับและใจที่หยุดต้องถูกกลางจึงจะถูกสิบพอถูกสิบก็จะเข้าถึงศูนย์ดังโบราณว่า..
"เห็นสิบแล้วเห็นศูนย์เป็นเค้ามูลสืบกันมา
เที่ยงแท้แน่นักหนาตั้งอนิจจาเป็นอาจิณ
จุติแล้วปฏิสนธิย่อมเวียนวนอยู่ทั้งสิ้น
สังขาราไม่ยืนยินราคีสิ้นเป็นตัวมา"
~~~~~~~~~~
จากหนังสือ‘สาระพระธรรมเทศนา’หน้าที่1-2
พระมงคลเทพมุนี(สด จนุทสโร)