เพื่อยกระดับความรู้ สู่สังคมอุดมป้ญญา

เรอเน เดการ์ต

0



นักปรัชญานักคณิตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส(.. 1596–1650)


เรอเนเดการ์ต(ฝรั่งเศสRené Descartesเป็นนักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงในต้นยุคสมัยใหม่ของอารยธรรมตะวันตกโดยนอกจากจะเป็นผู้ที่บุกเบิกปรัชญาสมัยใหม่แล้วเดการ์ตยังเป็นผู้บุกเบิกวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์โดยเป็นผู้คิดค้นระบบพิกัดแบบคาร์ทีเซียนซึ่งต่อมาเป็นรากฐานของการพัฒนาด้านแคลคูลัส

เขาได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่แนวคิดของเขามีผลต่อนักคิดร่วมสมัยไปถึงนักปรัชญารุ่นต่อมาโดยรวมเรียกว่าปรัชญากลุ่มเหตุผลนิยม(rationalism) ซึ่งเป็นแนวคิดปรัชญาหลักในยุโรปสมัยศตวรรษที่17 และ18



ประวัติโดยย่อ

เรอเนเดการ์ตเกิดที่ประเทศฝรั่งเศสในปีค.. 1619 (.. 2162) เขาได้เดินทางไปยังประเทศเยอรมนีและในวันที่10 พฤศจิกายนในปีนี้เองที่เขาได้มองเห็นแนวคิดใหม่ของคณิตศาสตร์และระบบทางวิทยาศาสตร์จากนั้นในปี.. 1622 เขาได้เดินทางกลับไปยังฝรั่งเศสในปี.. 1627 เดการ์ตได้อยู่ในเหตุการณ์ยึดเมืองลาโรแชล(La Rochelle) ที่นำโดยบาทหลวงรีชลีเยอ(Richelieu)


เดการ์ตเสียชีวิตเนื่องจากปอดบวมในวันที่11 กุมภาพันธ์.. 1650 (.. 2193) ที่กรุงสต็อกโฮล์มประเทศสวีเดนแต่เนื่องจากเขาเป็นชาวแคทอลิกในประเทศโปรเตสแตนต์ศพของเขาจึงถูกฝังที่สุสานสำหรับทารกที่ไม่ได้ผ่านพิธีรับศีล 


หลังจากนั้นศพของเขาบางส่วนถูกนำไปประกอบพิธีที่ฝรั่งเศสและในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสศพของเขาก็ถูกย้ายไปฝังที่พาเทนอลในปารีสร่วมกับนักคิดชาวฝรั่งเศสผู้ยิ่งใหญ่ท่านอื่นเมืองเกิดของเขาได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นLa Haye - Descartes



ผลงานที่สำคัญ

  • หนังสือPrincipia philosophiae, 1685


เดการ์ตได้รับการยกย่องว่าเป็นนักคิด"แห่งยุคสมัยใหม่คนแรกเนื่องจากเป็นผู้วางรากฐานทางปรัชญาให้กับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติในหนังสือการครุ่นคิดเกี่ยวกับปรัชญาที่หนึ่ง(Meditations on First Philosophy) 


เดการ์ตพยายามหากลุ่มของหลักการที่สามารถเชื่อถือได้ว่าจริงโดยปราศจากข้อสงสัย 


เขาได้ใช้วิธีการที่เรียกว่ากังขาคติเชิงวิธีวิทยา(Methodological Skepticism) กล่าวคือเขาจะสงสัยกับทุกความคิดที่สามารถจะสงสัยได้


เขายกตัวอย่างของการฝัน:

   “..ในความฝันประสาทสัมผัสต่างของเราอาจรับรู้อะไรได้เหมือนจริงแต่สิ่งที่เรารับรู้นั้นล้วนไม่มีอยู่จริงดังนั้นเราจึงไม่สามารถรับประกันได้ว่าข้อมูลที่ได้จากประสาทสัมผัสนั้นเป็นสิ่งที่ต้องเป็นความจริงไม่แน่ว่าอาจมี "ผู้จ้องทำลายที่ร้ายกาจ"ที่สามารถปิดบังเราจากการรับรู้ธรรมชาติที่แท้จริงของสรรพสิ่งได้เมื่ออาจมีความเป็นไปได้เหล่านี้แล้วจะเหลืออะไรบ้างที่เราสามารถเชื่อได้อย่างแท้จริง?”


เดการ์ตพบความเป็นไปได้เพียงข้อเดียว:

   “..ถ้าฉันถูกหลอกได้นั่นแปลว่า "ฉันจะต้องมีอยู่จริง


วาทะที่โด่งดังของความคิดนี้ คือ 

"je pense donc je suis" (เพราะฉันคิดฉันจึงมีอยู่คำพูดนี้ไม่ได้ถูกเขียนไว้ในการครุ่นคิดแต่เขาได้เขียนไว้ในงานชิ้นก่อนDiscourse on Method)


ดังนั้นเขาจึงสรุปว่าเขาสามารถแน่ใจได้ว่าเขามีอยู่จริงแต่คำถามก็คือเขานั้นมีอยู่ในรูปแบบใดการที่ประสาทสัมผัสบอกว่าเรามีร่างกายอยู่นั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่จริงแท้ดังที่เขาได้พิสูจน์มาแล้ว 


เดการ์ตส์สรุปที่จุดนี้ว่าเขาสามารถกล่าวได้แค่ว่าเขาเป็น'อะไรบางสิ่งที่กำลังคิดเท่านั้นการกำลังคิดนั้นเป็นแก่นสารที่แท้ของเขาเนื่องจากว่าเป็นสิ่งเดียวเท่านั้นที่อยู่เหนือการสงสัยใดทั้งสิ้นเขาอธิบายเพิ่มเติมเพื่อแสดงขีดจำกัดของประสาทสัมผัสโดยยกตัวอย่างของขี้ผึ้งเขาพิจารณาชิ้นขี้ผึ้งชิ้นหนึ่งประสาทสัมผัสของเขาบอกให้ทราบถึงลักษณะต่างของขี้ผึ้งก้อนนั้นเช่นรูปร่างผิวขนาดสีกลิ่นและอื่นอย่างไรก็ตามเมื่อเขานำขี้ผึ้งนั้นเข้าใกล้ไฟลักษณะต่างเหล่านี้ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงแต่ก้อนขี้ผึ้งก้อนนี้อย่างไรก็เป็นก้อนเดิมแต่ว่าประสาทสัมผัสของเขานั้นบอกว่าลักษณะของมันไม่เหมือนเดิมแล้วดังนั้นการจะเข้าใจธรรมชาติของขี้ผึ้งได้นั้นเขาไม่สามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ 


เขาจะต้องใช้จิตเขาสรุปว่า:

  “..ดังนั้นสิ่งที่ฉันคิดว่าฉันเห็นด้วยตานั้นจริงแล้วฉันรู้มันโดยผ่านทางเครื่องมือสำหรับตัดสินใจนั่นก็คือจิตของฉัน


เขาใช้วิธีในลักษณะนี้ในการสร้างระบบความรู้โดยละทิ้งสัญชาน(ข้อมูลที่ได้จากการรับรู้ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งห้า)เนื่องจากเชื่อถือไม่ได้และยอมรับความรู้ที่สร้างผ่านทางการนิรนัยเท่านั้นในช่วงกลางของการครุ่นคิดเขายังได้อ้างว่าได้พิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าที่มีเจตนาดีผู้มอบจิตที่สามารถทำงานได้ให้กับเขารวมถึงระบบรับรู้และจะไม่หลอกลวงเขาดังนั้นเขาจึงสามารถแสดงความเป็นไปได้ในการสร้างความรู้เกี่ยวกับโลกโดยใช้การนิรนัยร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการรับรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส


นักคณิตศาสตร์ยกย่องเดการ์ตจากการค้นพบเรขาคณิตวิเคราะห์ในยุคสมัยของเดการ์ตนั้นเรขาคณิตซึ่งศึกษาเกี่ยวกับเส้นและรูปร่างกับพีชคณิตที่ศึกษาเกี่ยวกับตัวเลขถูกจัดว่าเป็นสาขาย่อยของคณิตศาสตร์ที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยเดการ์ตส์แสดงวิธีการแปลงปัญหาในเรขาคณิตมากมายให้เป็นปัญหาทางพีชคณิตโดยใช้ระบบพิกัดคาร์ทีเซียนในการอธิบายปัญหา


ทฤษฎีของเดการ์ตเป็นพื้นฐานของแคลคูลัสของนิวตันและไลบ์นิซซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคณิตศาสตร์สมัยใหม่ทั้งที่งานในส่วนนี้เขาตั้งใจจะใช้เพื่อเป็นเพียงแค่ตัวอย่างในหนังสือDiscourse on Method เท่านั้น


~~~~~~~~~~~~

แสดงความคิดเห็น

0ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)
ฉันคือพลังงานจลน์ พลวัตเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น..