เพื่อยกระดับความรู้ สู่สังคมอุดมป้ญญา

วันอัฏฐมีบูชา

0

วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ วัน ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม ค่ำ เดือนวิสาขะ(เดือน ของไทย)


นอกจากนั้น วันนี้เป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายาองค์พระพุทธมารดาสิ้นพระชนม์(หลังประสูติและเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขตลอดวัน(หลังตรัสรู้อีกด้วย


..สาระความรู้..

สถานที่ถวายพระเพลิงศพ(เมือกุสินารา)

เมืองกุสินาราเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญในสังเวชนียสถานของชาวพุทธเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์อำเภอกุสินครหรือกาเซีย/กาสยา(โรมัน:Kushinagar-Kasia-Kasaya) ในเขตจังหวัดเดวเยหรือเทวริยา(โรมัน:Devria-Devriya-Kasia-Kasaya) รัฐอุตรประเทศประเทศอินเดีย 


สาลวโนทายสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานมีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่ามาถากุนวะระกาโกฎ” (โรมัน:Matha-Kunwar-Ka-Kot) ซึ่งแปลว่าตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ


กุสินาราในสมัยพุทธกาล

เมืองกุสินาราอันเป็นที่ตั้งของสาลวโนทยานอยู่ในแคว้นมัลละใน16 แคว้นซึ่งเป็นเขตการปกครองสมัยพุทธกาลโดยในสมัยนั้นแคว้นมัลละแยกเป็นสองส่วนคือฝ่ายเหนือมีเมืองกุสินาราเป็นเมืองหลวงเจ้าปกครองเรียกว่า"โกสินารกาและฝ่ายใต้มีเมืองปาวาเป็นเมืองหลวงเจ้าปกครองเรียกว่า"ปาเวยยมัลลกะทั้งสองเมืองนั้นตั้งอยู่ห่างกันเพียง12 กิโลเมตรมีอำนาจในการบริหารแยกจากกันโดยมีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ(สามัคคีธรรมโดยมีแม่น้ำหิรัญญวดีคั่นตรงกลางกุสินารานั้นเมื่อเปรียบเทียบกับแคว้นอื่นในสมัยพุทธกาลจัดว่าเป็นแคว้นเล็กไม่ค่อยมีความสำคัญมากนักในด้านเศรษฐกิจดังที่พระอานนท์ได้ทูลทักท้วงพระพุทธองค์ที่ทรงเลือกเมืองกุสินาราเป็นสถานที่ปรินิพพานไว้ว่า

“..ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระองค์อย่าเสด็จปรินิพพานในเมืองดอนในฐานะเมืองกิ่งนี้เลยเมืองอื่นอันมีขนาดใหญ่กว่านี้ยังมีอยู่คือจัมปาราชคฤห์สาวัตถีสาเกตโกสัมพีพาราณสีขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จดับขันธปรินิพพานในเมืองเหล่านี้เถิดกษัตริย์ผู้มีอำนาจพราหมณ์ผู้มีบารมีเศรษฐีคหบดีผู้มั่งคั่งที่เลื่อมใสในพระองค์มีมากในเมืองเหล่านี้ท่านผู้มีอำนาจเหล่านั้นจักได้กระทำการบูชาพระสรีระของตถาคต

— พระอานนท์


สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินาราชื่อว่า"อุปวตฺตนสาลวนํหรืออุปวัตตนะสาลวันซึ่งในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าสาลวโนทยาน” แปลว่าสวนป่าไม้สาละป่าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดีเป็นป่าไม้สาละร่มรื่นซึ่งหลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์แล้วกษัตริย์แห่งมัลละก็ได้ประดิษฐานพระพุทธสรีระไว้เมืองกุสินาราเป็นเวลากว่าวันก่อนที่จะประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพมกุฏพันธนเจดีย์ในวันที่แห่งพุทธปรินิพพาน


การที่พระพุทธองค์ทรงเลือกเมืองกุสินาราอันเป็นเมืองเล็กแห่งนี้เป็นสถานที่ปรินิพพานมีหลายสาเหตุแต่สาเหตุสำคัญคือทรงทราบดีว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้วพระสรีระและพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จักถูกแว่นแคว้นต่างแย่งชิงไปทำการบูชาหากพระองค์ปรินิพพานในเมืองใหญ่เมืองใหญ่เหล่านั้นอาจไม่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้เมืองเล็กเช่นเมืองกุสินาราเป็นต้นซึ่งก็เป็นความจริงเพราะหลังพระพุทธองค์ปรินิพพานเจ้าผู้ครองแคว้นต่างก็ได้ยกกองทัพหลวงของตนมาล้อมเมืองกุสินาราเพื่อจะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุแต่ด้วยความที่กุสินาราเป็นเมืองเล็กจึงต้องยอมระงับศึกโดยแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทุกเมืองโดยไม่ต้องเกิดสงคราม


กุสินาราหลังพุทธปรินิพพาน

เมืองกุสินารากลายเป็นเมืองสำคัญศูนย์กลางแห่งการสักการบูชาของพุทธศาสนิกชนเหล่ามัลลกษัตริย์ได้สร้างเจดีย์และวิหารเป็นจำนวนมากไว้รอบๆสถูปใหญ่คือมหาปรินิพานสถูปอันเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้ามหาสถูปนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางของปูชนียสถานอื่นๆที่สร้างขึ้นมาภายหลังในบริเวณนั้น


ต่อมาเมื่อแคว้นมัลละได้ตกอยู่ในความอารักขาของแคว้นมคธซึ่งในขณะนั้นมีเมืองปาตลีบุตรเป็นเมืองหลวงสาลวโนทยานยังคงเป็นสถานที่สำคัญอยู่แต่อยู่ในสภาพที่ไม่รุ่งเรืองนักดังในทิพยาวทานได้พรรณาไว้ว่า 

"พระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จมาจาริกแสวงบุญยังกุสินาราประมาณ.. 310 ทรงบริจาคพระราชทรัพย์100,000 กหาปณะเพื่อเป็นค่าสร้างสถูปเจดีย์และเสาศิลาพระเจ้าอโศกเมื่อทรงทราบชัดว่าจุดนี้เป็นสถานที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานพระองค์ถึงกับทรงสลดพระทัยโศกเศร้าถึงเป็นลมสิ้นสติสมปฤดี"


หลวงจีนฟาเหียน(Fa-hsien) ที่ได้เข้ามาสืบศาสนาในพุทธภูมิในช่วงปี.. 942 - 947 ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่2 (พระเจ้าศรีวิกรมาฑิตย์แห่งราชวงศ์คุปตะซึ่งท่านได้พรรณนาไว้ว่า 

"..เมื่อมาถึงกุสินารามีแต่เมืองที่ทรุดโทรมหมู่บ้านเป็นหย่อมห่างกันไปโบสถ์วิหารและปูชนียวัตถุปรักหักพังโดยมากสังฆารามที่ควรเป็นที่อยู่อาศัยก็ไม่มีพระสงฆ์อาศัยอยู่ได้เห็นศิลาจารึกพระเจ้าอโศกหลักปักปรากฏอยู่แห่งในอุทยานสาลวันจารึกนั้นบอกว่าที่นี้เป็นสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์"


ในบันทึกของพระถังซำจั๋ง(Hiuen-Tsang) ซึ่งได้จาริกมาเมืองกุสินาราราวปี.. 1300 ได้พรรณนาไว้ในจดหมายเหตุของท่านว่าเมืองกุสินาราในสมัยนั้นยังคงมีซากเมืองป้อมปราการหอสูงและสังฆารามอยู่บ้างแต่อยู่ในสภาพปรักหักพังภายในเขตกำแพงเมืองยังพอมีคนอาศัยอยู่บ้างแต่น้อยมากท่านยังได้ทันพบบ่อน้ำและซากสถูปบ้านของนายจุนทะและได้เห็นความร่มรื่นของสาลวโนทยานสถานที่ปรินิพพานและมกุฏพันธนเจดีย์สถานที่ถวายพระเพลิงฯ


จนในพุทธศตวรรษที่14-15 ราชวงศ์สกลจุรีได้เข้ามาสร้างวัดขึ้นในบริเวณสาลวโนทยานจำนวนมากจนพระพุทธศาสนาได้หมดจากอินเดียไปใน.. 1743 ทำให้สถานะของพระพุทธศาสนาในกุสินาราถูกปล่อยทิ้งร้างและกลายเป็นป่ารกทึบจนใน.. 2433 ภิกษุมหาวีระสวามีและท่านเทวจันทรมณีชาวศรีลังกาเดินทางมายังกุสินาราและเริ่มอุทิศตัวในการฟื้นฟูพุทธสถานแห่งนี้ร่วมกับเนซารีชาวพุทธพม่าจนได้สร้างวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า"มหาปรินิวานะธรรมะศาลา"



ในปีพ.. 2397 นายวิลสันนักโบราณคดีอังกฤษได้ทำการพิสูจน์ขั้นต้นว่าหมู่บ้านกาเซียคือกุสินาราจนในปี.. 2404-2420 เซอร์อเล็กซานเดอร์คันนิ่งแฮมได้เริ่มทำการขุดค้นเนินดินในสาลวโนทยานจนในปี.. 2418-2420 นายคาร์ลลีเล่หนึ่งในผู้ช่วยในทีมขุดค้นของท่านเซอร์อเล็กซานเดอร์ได้ทำการขุดค้นต่อจนได้พบพระพุทธรูปปางปรินิพพานวิหารปรินิพพานและสถูปจำนวนมากที่ผู้ศรัทธาได้สร้างไว้ในอดีตเมื่อครั้งพระพุทธศาสนายังรุ่งเรืองโดยนายคาร์ลลีเล่เป็นท่านแรกที่เอาใจใส่ในงานบูรณะและรักษาคุ้มครองพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ขุดพบ


จากนั้นนับแต่.. 2443 เป็นต้นมากุสินาราได้เริ่มมีผู้อุปถัมภ์ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์เข้ามาสร้างวัดและสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้จาริกแสวงบุญที่เริ่มเข้ามาสักการะมหาสังเวชนียสถานแห่งนี้


จนในปี.. 2498 รัฐบาลอินเดียได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาปูชนียสถานแห่งนี้เพื่อเตรียมเฉลิมฉลอง25 พุทธชยันตีโดยได้รื้อโครงสร้างวิหารปรินิพพานเก่าที่พึ่งได้รับการบูรณะสร้างใหม่ไม่นานออกเพื่อสร้างมหาปรินิพพานวิหารใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างและสามารถรองรับพุทธศาสนิกชนได้ในปี.. 2499 จนในปี.. 2507 วิหารได้พังลงมาทางการอินเดียจึงบูรณะสร้างขึ้นใหม่ในปี.. 2518 ทางการอินเดียและพุทธศาสนิกชนก็ได้มีส่วนร่วมในการบูรณะกุสินาราจนมีสภาพสวยงามอย่างที่เห็นในปัจจุบัน


สภาพของเมืองกุสินาราในปัจจุบัน

ปัจจุบันกุสินาราได้รับการบูรณะและมีปูชนียวัตถุสำคัญที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะคือ"สถูปปรินิพพานเป็นสถูปแบบทรงโอคว่ำที่เป็นทรงพระราชนิยมในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราชบนสถูปมียอมมนมีฉัตรสามชั้น"มหาปรินิพพานวิหารตั้งอยู่ด้านหน้าในฐานเดียวกันกับสถูปปรินิพพานภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน(คือพระพุทธรูปนอนบรรทมตะแคงเบื้องขวาศิลปะมถุรามีอายุกว่า1,500 ปีในจารึกระบุผู้สร้างคือหริพละสวามีโดยนายช่างชื่อทินะชาวเมืองมถุรา 


ในปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ถือได้ว่าเป็นจุดหมายสำคัญที่ชาวพุทธจะมาสักการะเพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะอันพิเศษคือเหมือนคนนอนหลับธรรมดาแสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานจากไปอย่างผู้หมดกังวลในโลกทั้งปวง"มกุฏพันธนเจดีย์อยู่ห่างจากปรินิพพานสถูปไปทางทิศตะวันออกกิโลเมตรชาวท้องถิ่นเรียกรัมภาร์สถูปเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระมีสภาพเป็นเนินดินก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้เข้ามาบูรณะซ่อมแซมไว้อย่างดี


ปัจจุบันชาวพุทธทั่วโลกได้มาก่อสร้างวัดไว้มากมายโดยมีวัดของไทยด้วยชื่อวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ปัจจุบันชาวไทยที่มาสักการะกุสินารานิยมมาพักที่นี่ 


ในส่วนพุทธสถานโบราณลุมพินีนั้นปัจจุบันได้รับการบูรณะซ่อมแซมเป็นอย่างดีจากรัฐบาลอินเดียโดยรอบมีสภาพเป็นสวนป่าสาละร่มรื่นเหมือนครั้งพุทธกาลชวนให้เจริญศรัทธาแก่ผู้มาสักการะตลอดมาจนปัจจุบัน

แสดงความคิดเห็น

0ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)
ฉันคือพลังงานจลน์ พลวัตเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น..