เพื่อยกระดับความรู้ สู่สังคมอุดมป้ญญา

ปฏิญญาฯครั้งที่18 การประชุมวิสาขบูชา

0

ปฏิญญากรุงเทพฯครั้งที่ 18 

การประชุมวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก "พุทธปัญญาในการจัดการวิกฤติการณ์โลก" 


ระหว่างวันที่1 – 2 มิถุนายน.. 2566 /..2023 


ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯประเทศไทย


เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม..2542 ผู้แทน 34 ประเทศริเริ่มโดยประเทศศรีลังกาได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติให้วันวิสาขบูชาซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคมเป็นวันสำคัญสากลของโลกและขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและสำนักงานประจำภูมิภาคต่างๆ


ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น(ในสมัยที่ 54 วาระที่ 174 ) ดังนั้น วันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลกจึงได้ก่อกำเนิดขึ้นในปี2543 ด้วยความร่วมมือของชาวพุทธทุกนิกายเพื่ออนุวัตรตามมติที่ประชุมสหประชาชาติพวกเราจาก 65 ประเทศและภูมิภาคจึงได้มาร่วมกันฉลองวันประสูติตรัสรู้และปรินิพพานระหว่างวันที่1 – 2 มิถุนายน.. 2566/.. 2023 ตามประเพณีหลายปีที่ผ่านมาถึงจะมีอุปสรรคขัดขวางในช่วงโควิดระบาดก็ตามการประชุมครั้งนี้จัดโดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและรัฐบาลไทยภายใต้คำแนะนำของสภาสากลวันวิสาขาบูชาสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานาชาติและได้รับการสนับสนุนจากมหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทยและขอบันทึกความชื่นชมยินดีอย่างสูงต่อฯพณฯดิเนศคุณวัฒนะนายกรัฐมนตรีประเทศศรีลังกาที่แสดงปาฐกถาพิเศษเสนอข้อวิเคราะห์วิกฤติการณ์โลกที่มีลักษณะซับซ้อนย้ำถึงสิ่งท้าทายภายหลังโรคโควิดในการป้องกันโรคระบาดจนถึงภาวะโลกร้อนและความขาดแคลนที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องใช้พุทธปัญญาเรื่องปฏิจจสมุปบาทดังที่ปรากฏอยู่ในเรื่องมัชฌิมาปฏิปทากุสโลบายและกรุณาที่ประกอบด้วยสติอันจะนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องทั่วทุกภาคส่วนสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน


ในการประชุมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวังน้อยพระนครศรีอยุธยาและศูนย์ประชุมสหประชาชาติกรุงเทพฯพวกเราได้พิจารณาเรื่องพุทธปัญญาในการจัดการวิกฤติการณ์โลก” โดยใช้ข้อคิดเห็นและแนวทางจากประเพณีปฏิบัติที่แตกต่างกันในที่สุดแห่งการฉลองและการประชุมที่ประสบผลสำเร็จพวกเราได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า:


1.โดยตระหนักถึงลักษณะความขัดแย้งในโลกว่ามีหลายมิติเช่นบทบาทในสังคมความเกี่ยวพันกันของความรับผิดชอบในสังคมมและการพัฒนาทางเศรษฐกิจจึงกระตุ้นรัฐบาลในโลกให้พิจารณาหาแนวทางที่ใช้ปฏิบัติได้และส่งเสริมให้ตระหนักถึงหลักปฏิจจสมุปบาทในการช่วยยุติความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองในโลกโดยเฉพาะชาวพุทธโลกควรหาทางส่งเสริมสันติภาพและความสมานฉันท์ทั่วทั้งโลกโดยใช้พุทธธรรมเรื่องอภัยอหิงสาเมตตาและขันติรวมทั้งการทำงานอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยในการปรับท่าที่ของคนผู้ถูกความโลภความโกรธและความหลงครอบงำเพื่อสร้างสังคมแห่งกุศลธรรมสำหรับมนุษยชาติ


2. เพื่อส่งเสริมสันติภาพภายในจิตใจของแต่ละคนโดยนำหลักสติปัฏฐานไปปฏิบัติกันทั่วทั้งโลกและใช้เป็นธรรมโอสถสำหรับทุกคน


3. เพื่อคงแนวคิดแบบมองโลกแง่ดีว่าปัญหาในโลกถึงยากที่จะแก้ไขแต่ก็ไม่เป็นปัญหาที่แก้ไขยากโดยธรรชาติแต่ที่เป็นเช่นนั้นเพราะคนเรามองหาวิธีแก้ไขปัญหาผิดที่ผิดทางต่างหากพระพุทธศาสนาสอนให้มองข้ามเป้าหมายของการแก้ปัญหาแบบเพ้อฝันและแนะให้คนเราอยู่กับแนวปฏิบัติที่เป็นไปได้และดำรงอยู่บนฐานของความเข้าใจเกี่ยวกับอนิจจตาคือความไม่แน่นอน


4. เพื่อตัดสินใจเพิ่มความพยายามยิ่งขึ้นในการสร้างสันติภาพโลกโดยอาศัยการยกระดับการรับรู้ถึงข้อจำกัดที่ว่าสิ่งทั้งหลายต่างอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้นเข้าใจสมุฏฐานของความรุนแรงและรับทราบปัญหาอันเนื่องมาจากความเห็นแก่ตัว


5. เพื่อปลูกฝังคุณค่าแห่งการยอมรับและเคารพลัทธิศาสนาอื่นในฐานะเป็นขั้นตอนที่จำเป็นต่อความสามัคคีของคนในสังคมและการพัฒนาเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันโดยไม่ติดใจเรื่องความแตกต่างและถึงจะแม้แตกต่างแต่ก็ยังมีความเข้าใจและเคารพกัน


6. เพื่อกำหนดรู้ความทุกข์อันลึกซึ้งที่เกิดจากการใช้อาวุธสร้างความขัดแย้งและที่เกิดจากวิกฤติการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกมีผลกระทบทั้งทางกายและทางจิตใจและเพื่อกระตุ้นชาวพุทธจากทุกภาคส่วนให้ลงมือเผยแผ่พุทธธรรมสำหรับเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นตามวิถีของการฟื้นฟูโดยกำจัดความขาดแคลนด้วยกรุณาและกำจัดความวุ่นวายในสังคมด้วยปัญญา


7. เพื่อส่งเสริมความเคารพต่อสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบรวมทั้งสัตว์พืชที่มีชีวิตสัมพันธ์กับมนุษย์อย่างแน่นแฟ้นซึ่งมีความสัมพันธ์กันโดยตรงมากกว่าที่เราเคยทราบกันมาก่อน


8. เพื่อส่งเสริมการสนองตอบอย่างตื่นรู้ร่วมกันต่อวิกฤติการณ์ทางนิเวศวิทยาและความเสื่อมโทรมของสภาพอากาศโดยใช้หลักคำสอนเรื่องอหิงสาและกรุณาใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่กับเทคโนโลยีในการลดแก๊สคาร์บอน


9. ตระหนักถึงความไม่แน่นอนของชีวิตในช่วงที่มีโรคระบาดจึงเน้นย้ำหลักการอิงอาศัยกันและกันของการดูแลรักษาทางด้านจิตใจและการช่วยเหลือทางด้านวัตถุด้วยมนุษยธรรมรวมทั้งการใช้วิธีการด้านเศรษฐกิจในโลกหลังโควิด


10. เพื่อแสดงความเห็นชอบอย่างยิ่งต่อโครงการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษที่ริเริ่มโดยมหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทยและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยเพื่อเฉลิมฉลองพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่10


ในที่สุดนี้ขออนุโมทนาขอบใจผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและหวังว่าพวกเราจะทำงานกันหนักก่อนการประชุมวันวิสาขบูชาครั้งต่อไป


ปฏิญญากรุงเทพฯเนื่องในวันวิสาขบูชานานาชาติครั้งที่18 ประกาศวันที่มิถุนายน.. 2566



Bangkok Declaration of the 18th International Buddhist Conference on the United Nations Day of Vesak

 

Buddhist Wisdom Coping with Global Crises

 

1st–2nd June, 2023 (B.E. 2566)

 

At Mahachulalongkornrajavidyalaya University (MCU), Ayutthaya

United Nations Conference Centre, Bangkok, Thailand.

 

On 15th December 1999, representatives from 34 countries initiated by Sri Lanka proposed to the General Assembly of the United Nations that the full moon day in the month of May be recognized and observed, at the United Nations Headquarters and its Regional Offices, as the United Nations Day of Vesak. The General Assembly so resolved (Agenda Item 174 of Session No. 54) and, accordingly, the UN Day of Vesak was instituted in the year 2000 with the support of all Buddhist traditions. In the continued pursuance of that Resolution, we, participants from 65 countries and regions, have come together from June 1–2, 2023 (B.E. 2566) for the celebrations of the Buddha’s Birth, Enlightenment and Parinibbana. Following the tradition that has been interrupted during the Covid pandemic, this gathering was generously hosted by Mahachulalongkornrajavidyalaya University under the guidance of the International Council for the Day of Vesak (ICDV) and the International Association of Buddhist Universities (IABU), graciously supported by the Royal Government of Thailand, and with the blessings of Supreme Sangha Council of Thailand, and wishes to record their grateful admiration to His Excellency Dinesh Gunawardena, Prime Minister of Sri Lanka, for his keynote speech that offered an insightful analysis of the multifactored global crisis of our time highlighting the challenges of the post-Covid era ranging from disease prevention to global warming, and in this period of scarcity the urgent need to put into practice of the Buddha’s wisdom on inter-connectedness as amply demonstrated in the Middle Way, skillful means and mindful compassion, leading to wise decisions across the board for a more sustainable development.

 

In meetings at the Mahachulalongkornrajavidyalaya University Main Campus, Wang Noi, Ayutthaya; and at the United Nations Conference Centre, Bangkok, we have explored the topic of “Buddhist Wisdom Coping with Global Crises", sharing points of view and approaches from different traditions. At the conclusion of our successful celebrations and meetings we have unanimously resolved:

 

1. Being mindful of the multifaceted nature of conflicts in the world: the role of society; the interplay of social responsibility; and economic development, to urge the governments in the world to consider pragmatic approach and promote awareness of interdependence to help bring an end to the social and political conflicts in the world. Especially, the Buddhists of the world seek to promote peace and reconciliation throughout the world by the skillful application of Buddhist teachings of forgiveness, non-violence, compassion and tolerance; and, to work tirelessly against the human tendency towards unbridled desire, hatred and ignorance, in order to establish a society which embraces the positive values of humankind;

 

2. To promote mental, individual-based peace, by disseminating Buddhist mindfulness meditation practice globally, and be a direct and actionable medicine, open to all;

 

3. To remain optimistic in the idea that the problems of the world seem so intractable, not because they fundamentally are, but because we look for the wrong kind of solution. Buddhism looks past a fixed Utopian end-goal and, instead, steers us in the direction of practical, dynamic solutions, that are grounded in an understanding of the nature of impermanence and change;

 

4. To resolve to double the efforts to promote World Peace through raising the awareness of the limitations of our interdependent existence; understanding the origins of violence, and the sensibilities around identities;

 

5. To foster the values of appreciation and respect toward other religious and spiritual traditions, as a necessary step toward social harmony and developing the necessary conditions for a communal living where unity does not exclude difference, and where difference does not exclude understanding and respect;

 

6. To recognize the profound pain that armed conflicts and the Covid-19 crisis have caused in the entire world, both physically and psychologically, and to encourage Buddhists from all quarters to take actions in spreading the life-transforming teachings of the Buddha in our path to recovery, countering scarcity with compassion, and social unrest with understanding;

 

7. To promote respect for all forms of sentient life including animals and plants, whose life is interconnected with humanity in deeper, and more directly entwined, ways than we have conceived in the past;

 

8. To promote a collective awakened response to the ecological crisis and climate degradation through the teaching of non-violence (ahimsa) and compassion, combining traditional wisdom and technology in carbon reduction;

 

9. Being mindful of the uncertainty of life during the pandemic, to practically emphasize the interdependent nature between spiritual care and humanitarian material needs, as well as the economic mechanisms in our post-Covid world; and

 

10. To express our highest esteem for the Royal Thai Tipiṭaka Translation Project, a translation of the Pali Tipiṭaka into English, initiated by the Supreme Sangha Council of Thailand and generously sponsored by the Royal Government of Thailand commemorating the Coronation of His Majesty King Vajiralongkorn, Rama X.

 

In conclusion, we thank all those involved and look forward to the diligent work ahead of our next convocation.

 

Done as the Bangkok Declaration of the Eighteen Anniversary Celebrations of the United Nations Day of Vesak, this 2nd Day of June 2023 (BE 2566)


แสดงความคิดเห็น

0ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)
ฉันคือพลังงานจลน์ พลวัตเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น..