เพื่อยกระดับความรู้ สู่สังคมอุดมป้ญญา

หลักธรรมในวันวิสาขบูชา

0


วันวิสาขบูชา เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธเจ้าถึงเหตุการณ์คือการประสูติการตรัสรู้และการปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 


ในเหตุการณ์เหล่านั้นคติธรรมหลักคือไตรลักษณ์ หรืออนิจจลักษณะอันได้แก่ความเป็นธรรมดาของโลกประการคือ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความเป็นทุกข์คือตั้งอยู่ในสภาพเดิมมิได้และอนัตตา ความที่สังขารทั้งหลายไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้(เช่นบังคับไม่ให้แก่ไม่ได้บังคับไม่ให้ตายไม่ได้ซึ่งทุกสรรพสิ่งในโลกล้วนตกอยู่ในสภาพประการนี้แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาของโลกก็ยังต้องทรงตกอยู่ในกฎเหล่านี้ไม่มีใครสามารถพ้นไปได้


สำหรับหลักธรรมคติเทียบเคียงกับเหตุการณ์ทั้งที่สามารถนำมาประพฤติปฏิบัติได้ อย่าง คือ


ความกตัญญู

ในเหตุการณ์วันประสูติสามารถยกหลักธรรมมาเทียบเคียงได้คือ"หลักความกตัญญูเพราะในพระพุทธประวัติแม้พระนางสิริมหามายา ผู้เป็นพระราชมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะจะสิ้นพระชนม์ไปหลังที่เจ้าชายประสูติได้เพียงวันแต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้แล้วก็ได้เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนดาวดึงสเทวโลกถึงแม้พระเจ้าสุทโธทนะ ผู้เป็นพระราชบิดาพระพุทธองค์ก็เสด็จไปโปรดถึงพระราชวังที่ประทับจนพระเจ้าสุทโธทนะประชวรหนักใกล้สวรรคตพระพุทธองค์ก็ได้เสด็จเข้าไปโปรดจนพระราชบิดาได้บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์และนิพพานในพระราชวังในวันนั้นเอง


ในเรื่องความกตัญญูต่อบิดามารดาและผู้มีอุปการะก่อนนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้หลายพระสูตรด้วยกันเช่นในหลักทิศ6 เป็นต้นซึ่งความกตัญญูนั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะกับบุคคลเท่านั้นแต่รวมไปแม้กระทั่งต้นไม้ที่ให้ร่มเงาด้วยดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า

    "บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาต้นไม้ใดไม่ควรหักกิ่งต้นไม้นั้นผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม"

— พระพุทธพจน์จาก— พระไตรปิฏกขุททกนิกายชาดก. 28/26


ความกตัญญูจึงนับได้ว่าเป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่งมีตัวอย่างหลายเรื่องในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าพระพุทธองค์ทรงยกย่องผู้มีความกตัญญูต่อบิดามารดาเช่นเรื่องพระภิกษุเลี้ยงบิดามารดาในมหานิบาต เป็นต้นซึ่งทำให้พระพุทธองค์ตรัสว่า

    "นิมิตฺตํสาธุรูปานํกตญฺญูกตเวทิตา"แปลว่า: "ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี"

— พระพุทธพจน์จาก— พระไตรปิฏกอังคุตตรนิกายปัญจกนิบาต"ปุตตสูตร"


กล่าวโดยสรุปเหตุการณ์ประสูตินี้เป็นเครื่องเตือนให้พุทธศาสนิกชนระลึกถึงความกตัญญูกตเวทีที่ทุกคนควรมีในตนไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม



อริยสัจ4

ในเหตุการณ์วันตรัสรู้สามารถยกหลักธรรมมาเทียบเคียงได้คือ"อริยสัจ4อันเป็นหลักธรรมในการแก้ปัญหาชีวิตที่พระพุทธองค์ตรัสรู้คือ

  1. "ทุกข์ความไม่สบายกายไม่สบายใจสภาวะที่ทนได้ยากทั้งหลาย(ปัญหา)
  2. "สมุทัยต้นเหตุของความทุกข์คือกิเลสตัณหา(ต้นเหตุของปัญหา)
  3. "นิโรธจุดหมายที่จะดับทุกข์คือนิพพาน (วางเป้าหมาย)
  4. "มรรคแนวทางในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์(ลงมือแก้ไข)

— พระพุทธพจน์จาก— พระไตรปิฏกสังยุตตนิกายมหาวารวรรค19/528/1664



ความไม่ประมาท

ในเหตุการณ์วันปรินิพพานพระพุทธองค์ตรัสปัจฉิมโอวาทไว้บทหนึ่งอันเป็นยอดของคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ทุกคนควรนำมาปฏิบัติคือ การมีสติอยู่ทุกเมื่อ ไม่ให้ความทุกข์ร้อนใจอันเกิดจากอำนาจกิเลสเข้าครอบงำกล่าวคือ ความไม่ประมาทในกาลทุกเมื่อ โดยพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า

    "...อปฺปมาเทนสมฺปาเทถ..."

แปลว่า: "พวกเธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและท่านให้ถึงพร้อมด้วย ความไม่ประมาท เถิด"

— สยามรฏฺฐเตปิฏกํปาลีมหาปรินิพฺพานสุตฺต มหาที10/149/11

แสดงความคิดเห็น

0ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)
ฉันคือพลังงานจลน์ พลวัตเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น..