เพื่อยกระดับความรู้ สู่สังคมอุดมป้ญญา

เราศึกษาพระพุทธศาสนาไปเพื่ออะไร

0

เนื้อหาโดยรวม

  • จัดการกับปัญหาแทนที่จะหนีมัน
  • มองตนเองอย่างสัตย์จริง
  • ค้นหาศัตรูที่แท้จริง
  • การเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้หรือ
  • ทัศนคติของเราส่งผลกระทบต่อทุกอย่าง
  • เชื่อในศักยภาพของตนเอง
  • แก้ไขข้อมูลและการไตร่ตรอง
  • การเจริญสมาธิแบบทางการ
  • กระบวนการเจริญสมาธิ
  • การนำการปฏิบัติไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  • บทสรุป


เมื่อเราพูดถึงการเจริญสมาธิในบริบททางพระพุทธศาสนาเรากำลังพูดถึงสิ่งที่ค่อนข้างมีความเฉพาะตัว  ทุกวันนี้เรามักได้ยินคำว่าการเจริญสมาธิ(การฝึกกรรมฐาน)” ในสถานที่ที่หลากหลายมากเนื่องจากการเจริญสมาธิมีชื่อเสียงดีอยู่พอตัวและหลายคนก็ใช้ทางนี้เป็นวิธีผ่อนคลายหรืออื่น  อย่างไรก็ตามเมื่อเราพูดถึงการเจริญสมาธิจริงแล้วผู้คนส่วนใหญ่มักไม่รู้เลยว่าต้องทำอย่างไร  บางคนคุ้นชินกับความคิดที่ว่าเราต้องนั่งลงและทำตัวให้เงียบสงบแล้วอย่างไรต่อ  การเจริญสมาธิเป็นมากกว่าการเพ่งไปยังลมหายใจและระลึกถึงความคิดกรุณาหรือเปล่า


คำว่าสมาธิในภาษาสันสกฤตมีความหมายเชิงนัยยะถึงการทำสิ่งหนึ่งให้กลายเป็นเรื่องจริง  ชาวทิเบตแปลคำนี้โดยใช้คำที่หมายถึงการสร้างนิสัยบางประเภท  เมื่อเราสร้างนิสัยประเภทหนึ่งขึ้นเรากำลังทำให้สิ่งนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของตนเองซึ่งเป็นสิ่งที่เราพยายามปฏิบัติในการเจริญสมาธิ  เราต้องการนำพาความเปลี่ยนแปลงอันเป็นประโยชน์มาสู่ตนเอง  คำถามแรกที่เราต้องถามคือทำไมเราจึงต้องการความเปลี่ยนแปลง  ตามปกติแล้วนี่เป็นเพราะว่าเราไม่มีความสุขกับลักษณะการใช้ชีวิตของเราหรือลักษณะที่เรารู้สึกหรือลักษณะที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรืองานของเราตัวอย่างเหล่านี้มีอีกมากมายแต่เป้าหมายของคนส่วนใหญ่นั้นคือการปรับปรุงชีวิตตนเองให้ดีขึ้น


อ่านเพิ่มเติมที่นี่..

https://studybuddhism.com/th/phuthth-sasna-thibet/keiyw-kab-phuthth-sasna/ca-suksa-phuthth-sasna-xyang-ri/withi-kar-suksa-phra-phuthth-sasna-kar-fang-kar-khid-laea-kar-ceriy-smathi/rea-suksa-phra-phuthth-sasna-pi-pheux-xari

แสดงความคิดเห็น

0ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)
ฉันคือพลังงานจลน์ พลวัตเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น..