ที่มาของคำว่า“การ์กอย”
“การ์กอย” เดิมที่เป็นคำศัพท์ของฝรั่งเศสมีความหมายว่า“ลำคอ” นักวิชาการบางคนเชื่อว่ารากศัพท์ของคำว่าการ์กอยยังมีความหมายเดียวกับคำว่า“น้ำยาบ้วนปาก” ส่วนสาเหตุที่ทำให้พวกมันได้รับชื่อนี้อาจมาจากการทำหน้าที่ในฐานะของช่องทางระบายน้ำจากหลังคาด้วยคายน้ำลงไปยังพื้นด้านล่างให้ห่างจากตัวอาคารเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวอาคารเสียหายจากการถูกน้ำฝนกัดเซาะนั่นเอง
จุดกำเนิดและวิวัตนาการของการ์กอย
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่าเริ่มแรกเดิมทีรูปปั้นการ์กอยถูกนำมาใช้เป็นสิ่งประดับตกแต่งส่วนยอดของอาคารโดยทำหน้าที่เป็นรางระบายน้ำที่ขังอยู่บนหลังคาของวิหารส่วนหัวของการ์กอยจะทำหน้าที่รวบรวมน้ำเอาไว้เป็นจุดเดียวแล้วปล่อยให้น้ำพุ่งออกมาเป็นสายผ่านปากอันน่าเกลียดน่ากลัวที่ยื่นออกมาแต่การสร้างรูปปั้นการ์กอยกลับมีความปราณีเป็นอย่างมากพวกมันจะถูกทำการแกะสลักบนพื้นดินโดยห้ามมีตำหนิและล้มแตกหักอย่างเด็ดขาดก่อนที่จะถูกยกขึ้นไปประดับไว้ตามจุดต่างๆอย่างเหมาะสม
ในช่วงแรกแห่งการถือกำเนิดหน้าตาของการ์กอยไม่ได้ดูคล้ายกับค้างคาวเหมือนกับในปัจจุบันแต่ดูเหมือนจระเข้หรือสิงโตมากกว่าจากการบันทึกพบว่าการ์กอยที่เก่าแก่ที่สุดของโลกที่ถูกค้นพบมีอายุราว13,000 ปีในประเทศตุรกีพวกมันมีหน้าตาเหมือนกับจระเข้ที่ถูกสลักเอาไว้บนแผ่นหินในขณะส่วนการ์กอยของชาวอียิปต์โบราณจะมีลักษณะเป็นสิงโตพ่นน้ำแต่สิ่งเดียวที่เหมือนกันคือการ์กอยทุกตนทั่วโลกต่างทำหน้าที่พ่นระบายน้ำเหมือนกันมาอย่างนานหลายพันปี
วิหารแห่งซุสในประเทศกรีกเดิมทีมีรูปปั้นการ์กอยประดับอยู่มากถึง102 ตนแต่หลังวันเวลาล่วงผ่านและการต่อสู้กับลมแดดฝนเป็นเวลานานการเสื่อมสถาพของหินและน้ำหนักที่มากก็ทำให้รูปปั้นการ์กอยส่วนใหญ่พังทลายลงจนในปัจจุบันเหลือรูปปั่นการ์กอยที่น่าเกรงขามหลงเหลือมาให้เห็นเพียงแค่39 ตนเท่านั้น
ตำนานแห่งการ์กอย
ตามตำนานความเชื่อของชาวคริสต์มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการ์กอยเกิดขึ้นมาบ้างยกตัวอย่างเช่น“ตำนานนักบุญผู้สังหารปีศาจ” เรื่องราวมีอยู่ว่ากษัตริย์ฝรั่งเศสClotaire ที่2 ได้ทำการจับกุมสัตว์ประหลาดที่มีรูปร่างคล้ายกับค้างคาวด้วยพลังแห่งไม้กางเขนได้สำเร็จพระองค์ได้ทรงนำปีศาจตนนั้นกลับไปที่เมืองแล้วพยายามเผาให้กลายเป็นเถ้าถ่านแต่ผลกลับปรากฏว่าส่วนของลำคอและศีรษะของมันกลับไม่ยอมไหม้พระองค์จึงได้นำส่วนที่ไม่ไหม้เหล่านั้นไปทำการตอกติดเอาไว้กับผนังของโบสถ์ของท้องถิ่นโดยหวังให้พลังศักสิทธิ์เพื่อช่วยขจัดความชั่วร้ายและความแค้นของปีศาจตนนั้น
การเข้ามาของศาสนาคริสต์ กับฐานะของการ์กอยที่เปลี่ยนแปลง
เมื่อความเชื่อของศาสนาคริสต์แผ่ขยายไปทั่วดินแดนยุโรปการ์กอยได้ถูกประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกมันเป็นรูปสลักหินที่ถูก“ออกแบบ” มาเพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่ขลาดกลัวและใช้“ดวงตาชั่วร้าย” คอยจับตามองความชั่วร้ายที่จะเข้าล่อลวงบั่นทอนศรัทธาของผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์
ล่วงเข้าสู่ยุคกลางแนวคิดในการสร้างการ์กอยเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างเห็นได้ชัดการ์กอยหลายตนถูกแกะสลักให้มีใบหน้าของมนุษย์โดยอ้างอิงจากบุคคลคนที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นเช่นนักบวชในท้องถิ่นเป็นต้นในขณะเดียวกันการ์กอยก็ได้ถูกยกระดับฐานะกลายเป็นตัวแทนของคริสตจักรในการช่วยปกป้องผู้ศรัทธาจากความชั่วร้ายทั้งปวงซึ่งเป็นกุศโลบายอันแยบยลเพราะในยุคนั้นคนส่วนใหญ่อ่านออกเขียนไม่ได้ทำให้ไม่สามารถอ่านพระคัมภีร์หรือมีความรู้พอที่จะทำความเข้าใจกับคำสอนทำให้ศาสนาคริสต์ต้องเปลี่ยนมาใช้สิ่งที่มองเห็นได้เป็นรูปธรรมอย่างการ์กอยที่มีความน่าเกรงขามเข้ามาช่วยเป็นสัญลักษณ์ในการปกป้องรักษาผู้ที่ศรัทธาในขณะที่บางตำนานเชื่อว่าการ์กอยถูกแกะสลักอย่างจงใจให้ดูเหมือนกับ“เทพของคนเหล่าคนเถื่อน” หรือ“คนนอกรีต” เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการหลอกล่อให้คนนอกศาสนาเหล่านี้หันมานับถือศาสนาคริสต์มากขึ้น
การ์กอยเริ่มเป็นที่รู้จักทั่วโลกในฐานะของสัตว์ประหลาดราว100 ปีก่อนโดยมีลักษณะเป็นปีศาจศิลาที่ถูกสร้างขึ้นให้มีชีวิตที่จะคอยทำตามคำสั่งของผู้สร้างอย่างเคร่งครัดแม้แต่การสังหารศัตรูของผู้เป็นนายหากจำเป็น ซึ่งการ์กอยได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์ครั้งแรกในปีค.ศ. 1932 เรื่อง“Mask of Gargoyles” เนื้อหาเกี่ยวกับการ์กอยศิลาสองตนที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ทำการปล้นเมืองแต่แล้วเรื่องราวทั้งหมดก็จบลงด้วยโศกนาฎกรรมเมื่อพวกมันได้ย้อนกลับมาสังหารผู้สร้างตนเองในภายหลัง
ในปีค.ศ.1972 การ์กอยเริ่มถูกพรรณนาว่าเป็นหนึ่งในเผ่าปีศาจที่ถูกซาตานจงใจสร้างขึ้นให้ทำหน้าที่คอยทรมานมนุษย์โดยเฉพาะอย่างไรก็ตามต่อมาในปีค.ศ.1990 การ์กอยได้เริ่มถูกเปลี่ยนรูปลักษณ์ให้กลายเป็นฝ่ายฮีโร่ในภาพยนต์และกาตูนหลายทำให้การ์กอยเป็นหนึ่งในปีศาจที่ถูกจับโยนเปลี่ยนข้างไปมาระหว่าง“ธรรมะ” และ“อธรรม” โดยขึ้นอยู่กับความเชื่อของคนในโลกณช่วงเวลานั้น
รูปปั้นการ์กอยที่มีชื่อเสียงของโลก
วิหารที่มีการประดับตกแต่งด้วยรูปปั้นการ์กอยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกหนึ่งในนั้นคือ“มหาวิหารNotre Dame” ในช่วงก่อสร้างค.ศ.1153 มหาวิหารแห่งนี้ไม่ได้มีแผนที่จะสร้างรูปปั้นของการ์กอยแต่อย่างใดแต่พวกมันได้ถูกนำเข้ามาตกแต่งวิหารในปีค.ศ.1800 ทำให้มหาวิหารแห่งนี้กลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่เหมือนหลุดออกมาจากยุคกกลางอีกครั้งและในช่วงค.ศ.1200 – 1500 การ์กอยได้กลายมาเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแห่งยุคทองโกธิคในทวีปยุโรปส่วนในทวีปอเมกริกาเหนือสำหรับคนที่อยากชมการ์กอยเป็นจำนวนมากในประเทศสหรัฐอเมริกาที่เมืองPittsburgh รัฐเพนซิวาเนียซึ่งเมืองนี้ได้ให้ความใส่ใจรับการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมแบบโกธิคทำให้สามารถพบเห็นรูปปั้นการ์กอยอยู่ทั่วทั้งเมืองนั่นเอง
การ์กอยเป็นหนึ่งในรูปสลักศิลาที่ลอยคว้างอยู่ท่ามกลางกระแสในบางยุคพวกมันก็เป็นตัวตนแห่งความชั่วร้ายเลวทรามเป็นศัตรูของมนุษย์ชาติอันน่าสะพรึงกลัวแต่ในบางเวลาพวกมันกลับเป็นพันธมิตรแห่งธรรมมะที่ทำหน้าที่เสมือนเทพพิทักษ์ที่ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองผู้ที่ศรัทธาในพระเจ้าทำให้การ์กอยเป็นตัวตนที่อยู่ระหว่าง“ความดี” กับ“ความชั่ว” ขึ้นอยู่กับว่าในสมัยนั้นพวกมันจะถูกยัดเยียดให้สวมบทบาทใดบนเวทีแห่งประวัติศาสตร์นั่นเอง...