[บทโอวาทปาติโมกข์]
สัพพะปาปัสสะอะกะระณัง
(การไม่ทำบาปทั้งปวง)
กุสะลัสสูปะสัมปะทา
(การทำกุศลให้ถึงพร้อม)
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง
(การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ)
เอตังพุทธานะสาสะนัง
(นี่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย)
ขันตีปะระมังตะโปตีติกขา
(ขันติคือความอดกลั้นเป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง)
นิพพานังปะระมังวะทันติพุทธา
(ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง)
นะหิปัพพะชิโตปะรูปะฆาตี
(ผู้กำจัดสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต)
สะมะโณโหติปะรังวิเหฐะยันโต
(ผู้ทำลายสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ)
อะนูปะวาโทอะนูปะฆาโต
(การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย)
ปาติโมกเขจะสังวะโร
(การสำรวมในปาติโมกข์)
มัตตัญญุตาจะภัตตัสมิง
(ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค)
ปันตัญจะสะยะนาสะนัง
(การนอน-การนั่งในที่อันสงัด)
อะธิจิตเตจะอาโยโค
(หมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง)
เอตังพุทธานะสาสะนัง
(นี่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย)
- พระพุทธพจน์-
[ขยายความ]
เมื่อว่าด้วยคำสอนในโอวาทปาติโมกข์มักถูกกล่าวถึงหลักธรรม3 อย่างเพียงเรื่องเดียวว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาอย่างไรก็ตามพระพุทธพจน์3 คาถากึ่งอาจสรุปใจความได้เป็น3 ส่วนคือหลักการ3 อุดมการณ์4 และวิธีการ6
[คาถาแรก]
กล่าวถึง"หลักการอันเป็นหัวใจสำคัญ” เพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อหรือหลักการ3เป็นการสรุปรวบยอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอันเป็นแนวทางที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติได้แก่
- การไม่ทำบาปทั้งปวง(ศีลคือการรักษากายวาจาใจให้เรียบร้อย, หิริ-โอตัปปะคือการละบาปละอายต่อบาปทั้งปวงด้วยการเอาสติกำกับทุกอิริยาบถคิดพูดทำอย่าให้ผิดต่อศีลและธรรม) ธรรมบทนี้จะทำให้ใจสบายไม่เศร้าหมองใจเป็นปกติ
- การทำกุศลให้ถึงพร้อม(การทำความฉลาดให้ถึงพร้อม) ธรรมบทนี้จะทำให้จิตสงบสบายผ่องใส
- การทำจิตใจให้บริสุทธิ์(เจริญสติด้วยการภาวนา, พอจิตเป็นสมาธิแล้วก็ถอยออกมาเดินมรรคด้วยปัญญา) ธรรมบทนี้จะทำให้จิตรู้จิตจิตฉลาดในการแก้ปัญหาและจิตจะผ่องใสจากการเห็นทุกข์และปล่อยวางจากสิ่งที่พิจารณาในธรรมต่างๆเห็นตามความเป็นจริงและไม่ยึดมั่นถือมั่น
ทั้งหมดต้องปฏิบัติไปพร้อมกัน(รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน) ศีลที่แท้จริงจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีอภัยทาน, อภัยทานที่แท้จริงจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีปัญญาที่แท้จริง และปัญญาที่แท้จริงจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีศีลที่แท้จริงขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งสิ่งที่เกี่ยวข้องก็เกิดขึ้นไม่ได้การที่บุคคลจะพ้นทุกข์ไปได้ต้องอาศัยศีลเป็นเครื่องกั้นความเศร้าหมองอย่างหยาบสมาธิเป็นเครื่องสกัดกั้นกิเลสอย่างกลางปัญญาคือเครื่องประหารกิเลสอย่างละเอียดซึ่งศีลสมาธิปัญญาขึ้นอยู่กับสติเป็นสำคัญถ้าขาดสติกำกับแล้วทุกอย่างก็ล้มเหลว
ดังนั้นบุคคลควรมีสติทุกเมื่อพึงละเว้นจากความเศร้าหมองที่เกิดจากกิเลสที่จะเข้ามาแทรกใจและพึงฝึกเจริญสมาธิให้ตั้งมั่นแล้วค่อยพิจารณาธรรมในแต่ละขั้นของภูมิจิตตัวเองแล้วจะรู้เองเห็นเองโดยไม่ต้องสงสัยตาม‘สวากขาตะธรรม’ คือตรัสไว้ชอบแล้ว
[คาถาที่สอง]
กล่าวถึงอุดมการณ์อันสูงสุดของพระภิกษุและบรรพชิตในพระพุทธศาสนานี้มีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่นอันอาจเรียกได้ว่าอุดมการณ์4ของพระพุทธศาสนาได้แก่
- ความอดทน-อดกลั้นเป็นสิ่งที่นักบวชในศาสนานี้พึงยึดถือและเป็นสิ่งที่ต้องใช้เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจทุกอย่างที่ต้องเจอในชีวิตนักบวชเช่นประสงค์ร้อนได้เย็นประสงค์เย็นได้ร้อน
- การมุ่งให้ถึงพระนิพพานเป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวชมิใช่สิ่งอื่นนอกจากพระนิพพาน
- พระภิกษุและบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้(ภิกษุภิกษุณีสามเณรสามเณรีสิกขมานา) ไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบากด้วยการเบียดเบียนทำความทุกข์กายหรือทุกข์ทางใจไม่ว่าจะในกรณีใดๆ
- พึงเป็นผู้มีจิตใจสงบจากอกุศลวิตกทั้งหลาย(ความโลภความโกรธความหลงเป็นต้น)
[คาถาที่สาม]
กล่าวถึงวิธีการที่(พระธรรมทูต)ผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นกลยุทธที่ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งมีเป็นจำนวนมากให้ใช้วิธีการ6ข้อเหมือนกันเพื่อจะได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันถูกต้องและเป็นธรรมได้แก่
- การไม่กล่าวร้าย(ด้วยการไม่กล่าวร้ายโจมตีดูถูกความเชื่อผู้อื่น)
- การไม่ทำร้าย(ด้วยการไม่ใช้กำลังบังคับข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ)
- ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์(รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส)
- ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค(เสพปัจจัย4 อย่างรู้ประมาณพอเพียง)
- นั่ง-นอนในที่อันสงัด(สันโดษ-ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ)
- ความเพียรในอธิจิต(พัฒนาจิตใจให้ยิ่งๆขึ้นด้วยสมถะและวิปัสสนามิใช่ว่าเอาแต่สอนผู้อื่นแต่ตนเองไม่กระทำตามที่สอน)
~~~~~~~~~~~~~~~