บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2023

ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์

รูปภาพ
Maslow's hierarchy of needs ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~   รูปภาพ : แสดงพลวัตของลำดับขั้นความต้องการ ซึ่งมีการซ้อนทับกันของความต้องการที่ต่างกัน ในเวลาเดียวกัน เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยา ที่เสนอโดย อับราฮัม มาสโลว์ ในรายงานเรื่อง "A Theory of Human Motivation"  ปี พ . ศ . 2486  หลังจากนั้น มาสโลว์ยังไปขยายแนวคิดออกไป รวมถึงข้อสังเกตของเขาเกี่ยวกับความอยากรู้อยากเห็นแต่กำเนิดของมนุษย์ ทฤษฎีของเขาคล้ายกับจิตวิทยาพัฒนาการหลาย ๆ ทฤษฎี ซึ่งทั้งหมดเน้นที่การเติบโตของมนุษย์ในระยะต่าง ๆ ลำดับขั้น ความต้องการของมาสโลว์ มักถูกนำเสนอโดยรูปพิระมิด ความต้องการที่มากที่สุด พื้นฐานที่สุดจะอยู่ข้างล่าง และความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต (self-actualization) จะอยู่บนสุด พิระมิดแบ่งออกเป็น 5  ชั้นคร่าว ๆ ของความต้องการต่าง ๆ คือ   ความสมบูรณ์ของชีวิต (self-actualization) ความเคารพนับถือ (esteem) มิตรภาพและความรัก (friendship and love) ความมั่นคงปลอดภัย (security)  และ ความต้องการทางกายภาพ (physiological) ถ้าความเคารพนับถือ , มิตรภาพและรัก หรือ ความมั่นคงปลอดภัย ขาดพร่องไป แม้ร่างกายจะไ...

เรอเน เดการ์ต

รูปภาพ
นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ( ค . ศ . 1596–1650) เรอเน เดการ์ต ( ฝรั่งเศส :  René Descartes )  เป็น นักปรัชญา และ นักคณิตศาสตร์ ผู้มีชื่อเสียงในต้นยุคสมัยใหม่ของอารยธรรมตะวันตก โดยนอกจากจะเป็นผู้ที่บุกเบิกปรัชญาสมัยใหม่แล้ว เดการ์ตยังเป็นผู้บุกเบิกวิชา เรขาคณิตวิเคราะห์ โดยเป็นผู้คิดค้น ระบบพิกัดแบบคาร์ทีเซียน ซึ่งต่อมาเป็นรากฐานของการพัฒนาด้าน แคลคูลัส เขาได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ แนวคิดของเขามีผลต่อนักคิดร่วมสมัยไปถึงนักปรัชญารุ่นต่อ ๆ มา โดยรวมเรียกว่าปรัชญากลุ่มเหตุผลนิยม (rationalism)  ซึ่งเป็นแนวคิดปรัชญาหลักในยุโรปสมัยศตวรรษที่ 17  และ 18 ประวัติโดยย่อ เรอเน เดการ์ต เกิดที่ประเทศฝรั่งเศสในปีค . ศ . 1619 ( พ . ศ . 2162)  เขาได้เดินทางไปยังประเทศเยอรมนี และในวันที่ 10  พฤศจิกายนในปีนี้เองที่เขาได้มองเห็นแนวคิดใหม่ของคณิตศาสตร์และระบบทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นในปี ค . ศ . 1622  เขาได้เดินทางกลับไปยังฝรั่งเศส ในปี ค . ศ . 1627  เดการ์ตได้อยู่ในเหตุการณ์ยึดเมืองลาโรแชล (La...

พระพุทธรูปปางยับยุม

รูปภาพ
พระพุทธรูปที่สื่อสัญญะในพุทธศาสนาแบบตันตระ ..พอมีข่าวพระบางรูปในพุทธศาสนานิกายเถรวาทเสพกาม มั่วกับสีกา ปรากฏเป็นข่าวผ่านสื่อโซเชียลทุกครั้ง มักสร้างความเสื่อมศรัทธาให้บังเกิดกับชาวพุทธสมัยใหม่ไม่น้อย .. เรื่องนี้ทำให้ผม ( เจ้าของเนื้อหา ) นึกถึงพระพุทธรูปปางหนึ่งในพุทธศาสนานิกายวัชรยาน (Vajrayana)  หรือตันตระยาน (Tantrayana)  ที่เป็นปางเสพสังวาสระหว่างชายและหญิง โดยมีหญิงสาวนั่งคร่อมอยู่บนตักของพระพุทธรูปผู้ชายในท่าทางที่กำลังเสพสังวาสกันอยู่ พระพุทธรูปบางนี้เรียกกันว่า “ ยับยุม ” (Yab-Yum)  ชาวพุทธไทยเห็นพระพุทธรูปบางนี้แล้ว อาจให้รู้สึกโกรธขึ้นในใจตนว่า " นี่ช่างเป็นการหมิ่นพุทธศาสนาอย่างแรงเสียนี่กระไร จึงคิดสาปแช่งว่าใครหนอที่ใจบาปหยาบช้า ดูหมิ่นพุทธศาสนาได้ถึงขนาดนี้ "  แต่ก็หารู้ไม่ว่า พระพุทธรูปปางที่มีหญิงสาวนั่งคร่อมบนตักโดยอาการของการกำลังเสพสังวาสนั้น เป็นของพุทธศาสนาแบบตันตระ ซึ่งถือเป็นนิกายหนึ่งของพุทธศาสนามหายานที่แพร่หลายอยู่ในอินเดีย ทิเบต ภูฏาน และเนปาล โดยมีมานานตั้งแต่ พ . ศ . 600-900  หรือกว่า 1,200  ปีแล้ว   " ตันตระ " (Tantra)...

มรรคมีองค์ ๘

รูปภาพ
หนทางสู่ ความดับทุกข์   เรียกอีกอย่างว่า " ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์" ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8  ประการ ( เป็นหนึ่งใน อริยสัจ 4) ใน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8  หรือ อัษฎางคิกมรรคนี้เป็น ทางสายกลาง คือ เป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ ความหลุดพ้น ตามวิภังคสูตร  ทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้ สัมมาทิฏฐิ ( ความเห็นที่ถูกต้อง )  หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ 4 สัมมาสังกัปปะ ( ความคิดที่ถูกต้อง )  หมายถึง ความคิดใน การออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน สัมมาวาจา ( วาจาที่ถูกต้อง )  หมายถึง การเว้นจาก การพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ สัมมากัมมันตะ ( การปฏิบัติที่ถูกต้อง )  หมายถึง เจตนาละเว้นจาก การฆ่า การเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ และการประพฤติผิดในกาม สัมมาอาชีวะ ( การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง )  หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ สัมมาวายามะ ( ความเพียรที่ถูกต้อง )  หมายถึง สัมมัปปธาน 4 คือ ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ...