สมัยหนึ่งขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ณภูเขาคิชฌกูฎกรุงราชคฤห์ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายถึงเรื่องการแสวงหาพรหมจรรย์อุปมาด้วยเรื่องผู้มีความต้องการแสวงหาแก่นไม้ไว้ว่า
..บุรุษคนหนึ่งปรารถนาจะแสวงหาแก่นของต้นไม้ที่ยืนต้นอยู่แต่เขาละเลยแก่นละเลยกระพี้ละเลยเปลือกละเลยสะเก็ดไปเสียตัดเอาไปเพียงกิ่งและใบเข้าใจว่าเป็นแก่นไม้เพราะความที่ไม่รู้จักว่าส่วนใดเป็นแก่นแท้ของต้นไม้นั้นเปรียบเสมือนกุลบุตรผู้ออกจากเรือนแสวงหาพรหมจรรย์เพื่อกระทําที่สุดแห่งทุกข์ครั้นบวชแล้วยังยินดีอยู่ด้วยลาภยศสรรเสริญสุขชื่อว่ายังเป็นผู้ประมาทภิกษุนั้นเพียงได้ถือเอาเพียงกิ่งและใบของพรหมจรรย์เท่านั้น
แล้วตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลายรู้จักการแสวงหาพรหมจรรย์ที่แท้จริงดังต่อไปนี้
[สะเก็ดพรหมจรรย์]
..กุลบุตรบางคนออกจากเรือนบวชด้วยความศรัทธาเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลแต่เขายกตนข่มผู้อื่นว่าเราเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมภิกษุอื่นเป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรมเขาย่อมมัวเมาถึงความประมาทเพราะความถึงพร้อมแห่งศีลเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้แสวงหาแก่นไม้เห็นต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่เขาถากเอาเพียงสะเก็ดของต้นไม้นั้นถือไปสําคัญว่าเป็นแก่นไม้
ภิกษุนี้ตถาคตเรียกว่าบุรุษนั้นได้ถือเอาเพียงสะเก็ดของพรหมจรรย์
[เปลือกของพรหมจรรย์]
..กุลบุตรบางคนออกจากเรือนบวชด้วยความศรัทธาเป็นสมบูรณ์ด้วยศีลเจริญสมาธิถึงพร้อมด้วยสมาธิแต่ยกตนข่มผู้อื่นว่าเราเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่งส่วนภิกษุอื่นไม่มีจิตตั้งมั่นเขาย่อมมัวเมาถึงความประมาทด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธิเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้แสวงหาแก่นไม้เห็นต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่เขาถากเอาเปลือกของต้นไม้นั้นถือไปสําคัญว่าเป็นแก่นไม้
ภิกษุนี้ตถาคตเรียกว่าบุรุษนั้นได้ถือเอาเพียงเปลือกของพรหมจรรย์
[กระพี้แห่งพรหมจรรย์]
..กุลบุตรบางคนออกจากเรือนบวชด้วยความศรัทธาเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลถึงพร้อมด้วยสมาธิเขาย่อมยังญาณทัสสนะคือมีความรู้ความเห็นให้สําเร็จเพราะความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะเขายกตนข่มผู้อื่นว่าเรารู้เราเห็นอยู่ภิกษุอื่นไม่รู้ไม่เห็นเขาย่อมมัวเมาถึงความประมาทเพราะความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้แสวงหาแก่นไม้เห็นต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่เขาถากเอากระพี้(ส่วนของเนื้อไม้ที่อยู่ระหว่างเปลือกกับแก่น) ของต้นไม้นั้นสําคัญว่าเป็นแก่นไม้
ภิกษุนี้ตถาคตเรียกว่าบุรุษนั้นได้ถือเอาเพียงกระพี้ของพรหมจรรย์
[แก่นของพรหมจรรย์]
..กุลบุตรบางคนออกจากเรือนบวชด้วยความศรัทธาเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลถึงพร้อมด้วยสมาธิและญาณทัสสนะแล้วเป็นผู้ไม่ประมาทย่อมถึงซึ่งวิโมกข์(ความหลุดพ้น) บรรลุโลกุตตรธรรม๙คือมรรค๔ผล๔นิพพาน๑เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้แสวงหาแก่นไม้เห็นต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่เขาเลือกถากเอาแก่นของต้นไม้นั้นถือไปกุลบุตรผู้นี้รู้จักสะเก็ดเปลือกและกระพี้ของต้นไม้นั้นเลือกถากเอาแต่แก่นไม้ถือไปเขาได้แก่นไม้ตามประสงค์กิจที่จะทําด้วยแก่นไม้นี้จักสําเร็จประโยชน์แก่เขาฉันใดภิกษุพึงพากเพียรให้ถึงพร้อมด้วยศีลสมาธิและปัญญาก็ย่อมสําเร็จประโยชน์อันเป็นผลสูงสุดในพระพุทธศาสนาบรรลุถึงพระนิพพานพ้นจากสังสารวัฏได้ฉันนั้น
พุทธศาสนิกชนทั้งหลายพิจารณาแล้วเลือกถากเอาแต่แก่นไม้มุ่งตรงสู่โลกุตตรธรรมด้วยการขวนขวายศึกษาประพฤติปฏิบัติตามพระสัทธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเดินตามรอยพระยุคลบาทของพระบรมศาสดาและพระอริยสาวกทั้งหลายที่ท่านพบแก่นแท้แห่งพรหมจรรย์ดําเนินไปแล้วพ้นแล้วจากทุกข์ทั้งปวงในวัฏฏะ
อ้างอิง: มัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์๑/๒มหาสาโรปมสูตรหน้า๕๕๖-๕๕๕.