เพื่อยกระดับความรู้ สู่สังคมอุดมป้ญญา

อนุปุพพิกถา ๕

0

(การศึกษาตามลำดับลุ่มลึกลงสู่การพ้นทุกข์)

เป็นพระธรรมเทศนาที่แสดงเนื้อความลุ่มลึกลงไปโดยลําดับเพื่อขัดเกลาอัธยาศัยของผู้ฟังให้ประณีตยิ่งขึ้นจนจิตของบุคคลนั้นพร้อมที่จะเข้าใจในสัจธรรมจึงทรงแสดงอริยสัจธรรม อันเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาอนุปุพพิกถามีประการคือ


อนุปุพพิกถา

ทานกถา 

กล่าวถึงการให้การเสียสละอันเป็นเหตุแห่งความสุขทั้งหลายเป็นบ่อเกิดแห่งสมบัติทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งโภคะทั้งหลายทานย่อมให้สวรรค์สมบัติพรหมสมบัติจักรพรรดิสมบัติสาวกบารมีญาณปัจเจกโพธิญาณอภิสัมโพธิญาณทานจึงเปรียบดุจแผ่นดินใหญ่

อ่านต่อทาน


สีลกถา 

กล่าวถึงความประพฤติที่ดีงามศีลย่อมให้สมบัติในโลกนี้และโลกหน้าเครื่องประดับใดจะงดงามเช่นกับผู้ที่มีศีลย่อมไม่มีกลิ่นใดจะหอมฟังทั้งตามลมและทวนลมเช่นกลิ่นของผู้มีศีลย่อมไม่มีพระพุทธองค์จึงตรัสศีลไว้ในลําดับต่อจากทาน

อ่านต่อศีล 


สัคคกถา 

เรื่องสวรรค์กล่าวถึงทิพยสุขทิพยสมบัติที่น่าปรารถนาอันจะพึงได้รับจากผลแห่งทานและศีลที่กระทําแล้วย่อมได้ในสวรรค์พระพุทธองค์จึงทรงแสดงสัคคกถาไว้ในลําดับต่อจากศีล

อ่านต่อสวรรค์ 


กามาทีนวกถา 

พระพุทธองค์ตรัสว่าแม้ความสุขในสวรรค์ก็ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนไม่ควรยินดีพอใจเพียงแค่สวรรค์เปรียบเหมือนบุคคลประดับช้างให้งดงามแล้วกลับตัดเอางวงของช้างไปจึงแสดงโทษและความต่ำทรามความเศร้าหมองของกามว่ากามทั้งหลายมีสุขน้อยมีทุกข์มากมีความคับแค้นมากพระพุทธองค์จึงตรัสกามาที่นวกถาไว้ในลําดับต่อจากสวรรค์

อ่านต่อโทษของกาม


เนกขัมมานิสังสกถา 

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเรื่องของทานศีลสวรรค์และโทษของกามทั้งหลายแล้วทรงแสดงอานิสงส์ของการออกจากกามชี้แจงให้เห็นคุณของเนกขัมมะคือการออกบวชเพื่อปฏิบัติให้ถึงธรรมอันเป็นที่สิ้นทุกข์ซึ่งจักเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งโลกนี้และโลกหน้า

อ่านต่อการออกจากกาม


อริยสัจธรรม

เมื่อทรงทราบว่าบุคคลนั้นมีจิตที่ปราศจากกิเลสมีจิตที่ปราศจากนิวรณ์คือกามฉันทนิวรณ์เป็นต้นมีจิตที่เบิกบานผ่องใสประกอบด้วยปีติและปราโมทย์สมบูรณ์ด้วยศรัทธาในสัมมาปฏิบัติแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงประกาศอริยสัจธรรมประการที่พระองค์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองคือทุกขอริยสัจทุกขสมุทยอริยสัจทุกขนิโรธอริยสัจและทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เพื่อให้บุคคลนั้นพิจารณาเห็นสัจธรรมตรัสว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา


เมื่อบุคคลนั้นพิจารณาตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนาประจักษ์แจ้งธรรมนั้นแล้วด้วยตนเองบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันบุคคลถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าไม่ต้องเชื่อฟังคําสอนของผู้อื่นอีกนอกจากคําสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าขอแสดงตนเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะหรือขอบรรพชาอุปสมบทในที่สุดนี้เป็นพระมหากรุณาคุณที่พระพุทธองค์ทรงมีต่อคฤหัสถ์ผู้มีอุปนิสัยที่จะได้บรรลุธรรม(ทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม/หน้า๖๕-๗๐)

อ่านต่ออริยสัจธรรม



อารัมภกถา

สมัยหนึ่งขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ภูเขาคิชฌกูฎกรุงราชคฤห์ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายถึงเรื่องการแสวงหาพรหมจรรย์อุปมาด้วยเรื่องผู้มีความต้องการแสวงหาแก่นไม้ไว้ว่า

บุรุษคนหนึ่งปรารถนาจะแสวงหาแก่นของต้นไม้ที่ยืนต้นอยู่แต่เขาละเลยแก่นละเลยกระพี้ละเลยเปลือกละเลยสะเก็ดไปเสียตัดเอาไปเพียงกิ่งและใบเข้าใจว่าเป็นแก่นไม้เพราะความที่ไม่รู้จักว่าส่วนใดเป็นแก่นแท้ของต้นไม้นั้นเปรียบเสมือนกุลบุตรผู้ออกจากเรือนแสวงหาพรหมจรรย์เพื่อกระทําที่สุดแห่งทุกข์ครั้นบวชแล้วยังยินดีอยู่ด้วยลาภยศสรรเสริญสุขชื่อว่ายังเป็นผู้ประมาทภิกษุนั้นเพียงได้ถือเอาเพียงกิ่งและใบของพรหมจรรย์เท่านั้นแล้วตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลายรู้จักการแสวงหาพรหมจรรย์ที่แท้จริงดังต่อไปนี้


สะเก็ดพรหมจรรย์

กุลบุตรบางคนออกจากเรือนบวชด้วยความศรัทธาเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลแต่เขายกตนข่มผู้อื่นว่าเราเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมภิกษุอื่นเป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรมเขาย่อมมัวเมาถึงความประมาทเพราะความถึงพร้อมแห่งศีลเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้แสวงหาแก่นไม้เห็นต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่เขาถากเอาเพียงสะเก็ดของต้นไม้นั้นถือไปสําคัญว่าเป็นแก่นไม้ภิกษุนี้ตถาคตเรียกว่าบุรุษนั้นได้ถือเอาเพียงสะเก็ดของพรหมจรรย์


เปลือกของพรหมจรรย์

กุลบุตรบางคนออกจากเรือนบวชด้วยความศรัทธาเป็นสมบูรณ์ด้วยศีลเจริญสมาธิถึงพร้อมด้วยสมาธิแต่ยกตนข่มผู้อื่นว่าเราเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่งส่วนภิกษุอื่นไม่มีจิตตั้งมั่นเขาย่อมมัวเมาถึงความประมาทด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธิเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้แสวงหาแก่นไม้เห็นต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่เขาถากเอาเปลือกของต้นไม้นั้นถือไปสําคัญว่าเป็นแก่นไม้ภิกษุนี้ตถาคตเรียกว่าบุรุษนั้นได้ถือเอาเพียงเปลือกของพรหมจรรย์


กระพี้แห่งพรหมจรรย์

กุลบุตรบางคนออกจากเรือนบวชด้วยความศรัทธาเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลถึงพร้อมด้วยสมาธิเขาย่อมยังญาณทัสสนะคือมีความรู้ความเห็นให้สําเร็จเพราะความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะเขายกตนข่มผู้อื่นว่าเรารู้เราเห็นอยู่ภิกษุอื่นไม่รู้ไม่เห็นเขาย่อมมัวเมาถึงความประมาทเพราะความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้แสวงหาแก่นไม้เห็นต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่เขาถากเอากระพี้(ส่วนของเนื้อไม้ที่อยู่ระหว่างเปลือกกับแก่นของต้นไม้นั้นสําคัญว่าเป็นแก่นไม้ภิกษุนี้ตถาคตเรียกว่าบุรุษนั้นได้ถือเอาเพียงกระพี้ของพรหมจรรย์


แก่นของพรหมจรรย์

กุลบุตรบางคนออกจากเรือนบวชด้วยความศรัทธาเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลถึงพร้อมด้วยสมาธิและญาณทัสสนะแล้วเป็นผู้ไม่ประมาทย่อมถึงซึ่งวิโมกข์(ความหลุดพ้นบรรลุโลกุตตรธรรมคือมรรคผลนิพพานเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้แสวงหาแก่นไม้เห็นต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่เขาเลือกถากเอาแก่นของต้นไม้นั้นถือไป


กุลบุตรผู้นี้รู้จักสะเก็ดเปลือกและกระพี้ของต้นไม้นั้นเลือกถากเอาแต่แก่นไม้ถือไปเขาได้แก่นไม้ตามประสงค์กิจที่จะทําด้วยแก่นไม้นี้จักสําเร็จประโยชน์แก่เขาฉันใดภิกษุพึงพากเพียรให้ถึงพร้อมด้วยศีลสมาธิและปัญญาก็ย่อมสําเร็จประโยชน์อันเป็นผลสูงสุดในพระพุทธศาสนาบรรลุถึงพระนิพพานพ้นจากสังสารวัฏได้ฉันนั้น


พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพิจารณาแล้วเลือกถากเอาแต่แก่นไม้มุ่งตรงสู่โลกุตตรธรรมด้วยการขวนขวายศึกษาประพฤติปฏิบัติตามพระสัทธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเดินตามรอยพระยุคลบาทของพระบรมศาสดาและพระอริยสาวกทั้งหลายที่ท่านพบแก่นแท้แห่งพรหมจรรย์ดําเนินไปแล้วพ้นแล้วจากทุกข์ทั้งปวงในวัฏฏะ(มัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์/หน้า๕๕๖-๕๕๕มหาสาโรปมสูตร)


อ้างอิงหนังสือตามรอยพระธรรมของพระบรมศาสดา”  ผู้เขียนสุรีย์มีผลกิจ

แสดงความคิดเห็น

0ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)
ฉันคือพลังงานจลน์ พลวัตเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น..