ตามภาพ: สตรีมุสลิมชาวจอร์แดนสอนสมาธิโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนศาสนาผ่านทางสื่อออไนลน์
พระมหาหรรษาธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ(IBSC) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กHansa Dhammahaso ความว่า
ชาวพุทธมักจะพากันกล่าวว่า“สมาธิเป็นหลักวิชาของชาวพุทธ”
ในขณะที่กลุ่มคนที่นับถือศาสนาอื่นๆมักจะพากันรังเกียจเดียดฉันท์ว่า“สมาธิเป็นชุดฝึกของพระพุทธเจ้า” การฝึกสมาธิจึงนับเป็นการฝักไฝ่และเปลี่ยนตัวเองไปนับถือพระพุทธศาสนา
ความจริงคืออะไร?!
ผู้ที่สามารถยืนยันความจริงข้อนี้ได้ดีที่สุดจะเป็นใครมิได้ถ้ามิใช่พระพุทธเจ้า
พระองค์ย้ำเอาไว้ในธรรมนิยามสูตรอย่างหนักแน่นว่า“ไม่ว่าตถาคตจะเกิดหรือไม่ก็ตามธรรมะเป็นสิ่งที่ปรากฏมีอยู่และเป็นอยู่แล้วในธรรมชาติ”
ตามนัยนี้ธรรมะไม่ว่าจะเป็นสติสมาธิและปัญญาเป็นสมบัติกลางของธรรมชาติผู้ใดก็ตามปฏิบัติให้สอดรับกับกฏธรรมชาติผู้นั้นก็จะค้นพบความลับที่ซ่อนตัวอยู่ในธรรมแบบอย่างที่พิสูจน์และสามารถอ้างอิงได้คือ“พระพุทธเจ้า” ที่ใช้สมาธิเป็นเครื่องมือเปลี่ยนแปลงคุณค่าภายในจากมนุษย์ธรรมดาให้เป็นเข้าถึงความสุขที่แท้จริง
เมื่อพระองค์ได้รับประโยชน์จากสมาธิพระองค์ไม่เคยผูดขาดธรรมะโดยการจดลิขสิทธิ์สิ่งที่ค้นพบว่า“สมาธิเป็นทรัพย์สินทางปัญญา” ยิ่งกว่าพระองค์กลับกวักมือเรียกให้มนุษย์มาร่วมกันพิสูจน์ทราบธรรมะที่พระองค์ค้นพบ(เอหิปัสสิโก) ผ่านการปฏิบัติและรู้จักด้วยตัวเอง(ปีจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิ)
จากแนวทางที่พุทธองค์ย้ำเตือนจึงเป็นที่ประจักษ์แจ้งว่า“สติสมาธิและปัญญา” เป็นสมบัติกลางของมนุษย์ทุกคนทุกคนมีสิทธิ์โดยสมบูรณ์ที่จะเข้าถึงพลังแห่งสมาธิมนุษย์ทุกคนที่กำลังเผชิญหน้ากับความทุกข์และถวิลหาความสุขแท้ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในการสมาธิเป็นเครื่องมือหยิบยื่นสันติสุขภายในให้แก่ตัวเองและส่งต่อพลังดังกล่าวเพื่อเสริมสร้างสังคมสู่สันติสุข.
“สมาธิจึงไร้เชื้อชาติไร้ศาสนาและไร้พรมแดนสำหรับมนุษย์ทุกผู้ทุกนามสมาธิจึงเป็นสมบัติของโลกและจักรวาลปรากฏมีตั้งแต่อดีตปัจจุบันและจะยังคงมีปรากฏต่อไปในธรรมชาติเพือให้มนุษย์ได้ร่วมกันศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติเพื่อใช้สอยประโยชน์ร่วมกันเพื่อเข้าถึงความสุขแบบไร้ขีดจำกัดไร้เงื่อนไขและไร้ตัวแปรใดๆทั้งสิ้น”พระมหาหรรษากล่าว.
ที่มา: TheBuddh.com