โดย นิชฌานีฉันทศาสตร์นักวางแผนการเงินCFP®
รู้หรือไม่ว่า?
มนุษย์เงินเดือนหรือพนักงานประจำหลังจากเกษียณอายุทำงานแล้วมีสิทธิประโยชน์อะไรบ้างที่สามารถนำมาเป็นเงินทุนเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณ
บทความนี้มีคำตอบค่ะ.!
สิทธิประโยชน์หลังเกษียณที่ผู้ทำงานประจำหรือเป็นมนุษย์เงินเดือนจะได้รับหลักๆมี3 แหล่งด้วยกัน
- เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
- เงินชราภาพจากประกันสังคม
- เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
จะคิดตามระยะเวลาที่ทำงานกับนายจ้างและเงินเดือนสุดท้ายโดยจะได้รับเมื่อเกษียณอายุหมดสัญญาจ้างถูกเลิกจ้าง(โดยลูกจ้างไม่ได้เป็นฝ่ายผิด)
อายุงาน(ต่อเนื่อง) / เงินชดเชย(วัน)
- 120 วันแต่ไม่เกิน1 ปี/ 30 วัน
- 1 ปีแต่ไม่เกิน3 ปี/ 90 วัน
- 3 ปีแต่ไม่เกิน6 ปี/ 180 วัน
- 6 ปีแต่ไม่เกิน10 ปี/ 240 วัน
- 10 ปีแต่ไม่เกิน20 ปี/ 300 วัน
- 20 ปีขึ้นไป/ 400 วัน
ยกตัวอย่าง: เงินเดือนสุดท้าย90,000 บาททำงานกับนายจ้างรายล่าสุดก่อนเกษียณเป็นระยะเวลา20 ปีเมื่อเกษียณอายุจะได้รับเงินชดเชย400 วันคิดเป็นเงินประมาณ90,000 x 400/30 = 1,200,000 บาททั้งนี้จำนวนเงินชดเชยในตัวอย่างเป็นการคำนวณเบื้องต้นเท่านั้นซึ่งการคำนวณเงินชดเชยจะนับตามจำนวนวันย้อนหลังจากวันที่เกษียณหรือออกจากงาน
เงินชราภาพจากประกันสังคม
มีข้อกำหนดว่าต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมสูงสุดอยู่ที่เดือนละ750 บาทซึ่งเงินที่จ่ายไปทุกเดือน(ไม่ได้สูญเปล่า) โดยได้รับกลับมาในรูปของสิทธิประโยชน์ต่างๆจากประกันสังคมเช่นค่ารักษาพยาบาลค่าคลอดบุตรค่าสงเคราะห์บุตรรายเดือน
อีกหนึ่งสิทธิประโยชน์ที่ได้รับคือเงินชราภาพโดยจะได้รับเมื่อเกษียณอายุตั้งแต่55 ปีขึ้นไปและไม่ได้เป็นผู้ประกันตนของประกันสังคมแล้ว
เงินชราภาพที่ได้รับจะอยู่ในรูปของบำเหน็จเงินก้อนหรือบำนาญรายเดือนขึ้นอยู่กับจำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพถ้าจ่ายเงินสมทบไม่ถึง180 เดือนหรือไม่ถึง15 ปีจะได้รับเป็นบำเหน็จเงินก้อนแต่ถ้าจ่ายเงินสมทบตั้งแต่180 เดือนหรือตั้งแต่15 ปีขึ้นไปจะได้รับเป็นเงินบำนาญรายเดือนไปตลอดชีวิต
ยกตัวอย่าง: เงินบำนาญรายเดือนที่ได้รับจากประกันสังคมตามจำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ
จำนวนเดือนจ่ายเงินสมทบ(ต่อเนื่องหรือไม่ก็ได้)
เงินบำนาญจากประกันสังคม*
- 180 เดือน(15 ปี) = 3,000 บาทต่อเดือน
- 240 เดือน(20 ปี) = 4,125 บาทต่อเดือน
- 300 เดือน(25 ปี) = 5,250 บาทต่อเดือน
- 360 เดือน(30 ปี) = 6,750 บาทต่อเดือน
*คำนวณจากฐานเงินสมทบของประกันสังคมไม่เกิน15,000 บาท
สูตรคำนวณเงินบำนาญ
กรณีจ่ายเงินสมทบครบ180 เดือนได้รับเงินบำนาญ20% ของค่าจ้างเฉลี่ย60 เดือนสุดท้าย
กรณีจ่ายเงินสมทบเกิน180 เดือนได้รับเพิ่ม1.5% ต่อระยะเวลาจ่ายเงินสมทบครบทุก12 เดือน
จากตัวอย่างการคำนวณเงินบำนาญจากประกันสังคมกรณีที่จ่ายเงินสมทบเป็นเวลา15 ปีอัตราบำนาญอยู่ที่20% ของค่าจ้างเฉลี่ย60 เดือนสุดท้าย
ดังนั้นได้รับเงินบำนาญเดือนละ20% x 15,000 = 3,000 บาทกรณีที่จ่ายเงินสมทบเป็นเวลา20 ปีอัตราบำนาญจะแบ่งเป็น2 ส่วนคือ
- อัตราบำนาญ15 ปีแรกเท่ากับ20% และ
- 5 ปีหลังเท่ากับ1.5% x 5 = 7.5%
รวมอัตราบำนาญ20 ปีเท่ากับ20% + 7.5% = 27.5% ดังนั้นเงินบำนาญรายเดือนจะอยู่ที่15,000 x 27.5% = 4,125 บาทต่อเดือนหรือถ้าคิดเป็นต่อปีก็เกือบๆ5 หมื่นบาท
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
เมื่ออายุ60 ปีมีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นรายเดือนไปเรื่อยๆตลอดชีวิตทั้งนี้ผู้ที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพคือผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจโดยเบี้ยยังชีพที่ได้รับจะเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดตามช่วงอายุ
อายุ/ เบี้ยยังชีพ
- 60 – 69 ปี/ 600 บาทต่อเดือน
- 70 – 79 ปี/ 700 บาทต่อเดือน
- 80 – 89 ปี/ 800 บาทต่อเดือน
- 90 ปีขึ้นไป/ 1,000 บาทต่อเดือน
.. เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานเงินชราภาพภาพจากประกันสังคมเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นสิทธิที่ผู้เกษียณอายุมีสิทธิได้รับ
อย่างไรก็ตามอาจไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายหลังเกษียณเพราะหลังเกษียณก็คงอยากใช้ชีวิตสบายๆเช่นมีเงินไปท่องเที่ยวพักผ่อนตามต้องการดังนั้นสิ่งสำคัญต้องวางแผนเก็บเงินเพิ่มเติมให้พร้อมก่อนเกษียณเช่นสะสมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(PVD) หรือกองทุนบำเนหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข) ตั้งแต่เริ่มทำงานรวมทั้งการลงทุนเพิ่มในกองทุนที่สามารถนำเงินลงทุนลดหย่อนภาษีด้วยกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) และกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว(SSF) และสามารถป้องกันความเสี่ยงจากการขาดรายได้ประจำด้วยประกันแบบบำนาญเพิ่มเติมจะได้มีเพิ่มเติมเงินเก็บเพื่อใช้ชีวิตในบั้นปลายได้อย่างมีความสุขนะคะ.