คนในโลกผู้ถือเอาคุณสมบัติต่างๆกันเป็นเครื่องวัดในการที่จะเกิดความเชื่อความเลื่อมใส- those who measure, judge or take standard
1) รูปประมาณ: ผู้ถือประมาณในรูป, บุคคลที่มองเห็นรูปร่างสวยงามทรวดทรงดีอวัยวะสมส่วนท่าทางสง่าสมบูรณ์พร้อมจึงชอบใจเลื่อมใสน้อมใจที่จะเชื่อถือ- one who measures by from or outward appearance; one whose faith depends on good appearance
2) โฆษประมาณ: ผู้ถือประมาณในเสียง, บุคคลที่ได้ยินได้ฟังเสียงสรรเสริญเกียรติคุณหรือเสียงพูดจาที่ไพเราะจึงชอบใจเลื่อมใสน้อมใจที่จะเชื่อถือ- one who measures by voice or reputation; one whose faith depends on sweet voice or good reputation
3) ลูขประมาณ: ผู้ถือประมาณในความคร่ำหรือเศร้าหมอง, บุคคลที่มองเห็นสิ่งของเครื่องใช้ความเป็นอยู่ที่เศร้าหมองเช่นจีวรคร่ำๆเป็นต้นหรือมองเห็นการกระทำคร่ำเครียดเป็นทุกรกิริยาประพฤติเคร่งครัดเข้มงวดขูดเกลาตนจึงชอบใจเลื่อมใสน้อมใจที่จะเชื่อถือ- one who measures or judges by shabbiness, mediocrity or hard life; one whose faith depends on shabbiness or ascetic or self-denying practices
4) ธรรมประมาณ: ผู้ถือประมาณในธรรม, บุคคลที่พิจารณาด้วยปัญญาเห็นสารธรรมหรือการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบคือศีลสมาธิปัญญาจึงชอบใจเลื่อมใสน้อมใจที่จะเชื่อถือ- one who measures or judges by the teaching or righteous behavior; one whose faith depends on right teachings and practices
บุคคล3 จำพวกต้นยังมีทางพลาดได้มากโดยอาจเกิดความคิดใคร่ถูกครอบงำชักพาไปด้วยความหลงถูกพัดวนเวียนหรือติดอยู่แค่ภายนอกไม่รู้จักคนที่ตนมองได้อย่างแท้จริงและไม่เข้าถึงสาระส่วนผู้ถือธรรมเป็นประมาณจึงจะรู้ชัดคนที่ตนมองอย่างแท้จริงไม่ถูกพัดพาไปเข้าถึงธรรมที่ปราศจากสิ่งครอบคลุม
พระพุทธเจ้าทรงมีพระคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง4 ข้อ(เฉพาะข้อ3 ทรงถือแต่พอดี) จึงทรงครองใจคนทุกจำพวกได้ทั้งหมดคนที่เห็นพระพุทธเจ้าแล้วที่จะไม่เลื่อมใสนั้นหาได้ยากยิ่งนัก
ในชั้นอรรถกถานิยมเรียกบุคคล4 ประเภทตามลำดับนี้ว่า
• รูปัปปมาณิกา
•โฆสัปปมาณิกา
• ลูขัปปมาณิกา
• ธัมมัปปมาณิกา
อ้างอิง:
A.II.71; Pug.7,53; DhA.114; SnA.242.
องฺ.จตุกฺก. 21/65/93; อภิ.ปุ. 36/10/135; 133/204; ธ.อ. 5/100; สุตฺต.อ. 1/329.